ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
คาถาธรรมบท โกธวรรคที่ ๑๗
[๒๗] บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงละมานะเสีย พึงก้าวล่วง สังโยชน์เสียทั้งหมด ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ตกตามบุคคลนั้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๘.

ผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล บุคคลใดแล พึง ห้ามความโกรธที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ ดุจบุคคลห้ามรถซึ่งกำลัง แล่นไปได้ ฉะนั้น เรากล่าวบุคคลนั้นว่าเป็นสารถี คนนอกนี้ เป็นคนถือเชือก พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงชนะ ความไม่ดีด้วยความดี พึงชนะความตระหนี่ด้วยการให้ พึง ชนะคนมักกล่าวคำเหลาะแหละด้วยคำสัตย์ พึงกล่าวคำสัตย์ ไม่พึงโกรธ แม้เมื่อมีของน้อย ถูกขอแล้วก็พึงให้ บุคคล พึงไปในสำนักแห่งเทวดาทั้งหลาย เพราะเหตุ ๓ ประการนี้ มุนีเหล่าใดผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมแล้วด้วยกายเป็นนิตย์ มุนีเหล่านั้นย่อมไปสู่สถานที่ไม่จุติ ที่คนทั้งหลายไปแล้วไม่ เศร้าโศก อาสวะทั้งหลายของผู้ตื่นอยู่ทุกเมื่อ ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ผู้น้อมไปแล้วสู่นิพพาน ย่อมถึง ความไม่มี ดูกรอตุละ การนินทาหรือการสรรเสริญนี้มีมาแต่ โบราณ มิใช่มีเพียงวันนี้ คนย่อมนินทาแม้ผู้นั่งนิ่ง แม้ผู้พูด มาก แม้พูดพอประมาณ ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก บุรุษ ผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือถูกสรรเสริญโดยส่วนเดียว ไม่มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีในบัดนี้ ถ้าว่าผู้รู้ใคร่ครวญแล้ว ทุกวัน ย่อมสรรเสริญบุคคลใด ผู้มีความประพฤติไม่ขาด เป็นนักปราชญ์ ตั้งมั่นแล้วในปัญญาและศีล ใครย่อมควร เพื่อจะนินทาบุคคลนั้นผู้เหมือนดังแท่งแห่งทองชมพูนุท แม้ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็ย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น แม้ พรหมก็สรรเสริญบุคคลนั้น ภิกษุพึงรักษาความกำเริบทางกาย พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย ละกายทุจริตแล้ว พึงประพฤติสุจริต ด้วยกาย พึงรักษาความกำเริบทางวาจา พึงเป็นผู้สำรวมด้วย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๙.

วาจา ละวจีทุจริตแล้ว พึงประพฤติสุจริตด้วยวาจา พึงรักษา ความกำเริบทางใจ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยใจ ละมโนทุจริตแล้ว พึงประพฤติสุจริตด้วยใจ นักปราชญ์ทั้งหลาย สำรวมแล้วด้วย กาย สำรวมแล้วด้วยวาจา สำรวมแล้วด้วยใจ ท่านเหล่านั้น แล สำรวมเรียบร้อยแล้ว ฯ
จบโกธวรรคที่ ๑๗
คาถาธรรมบท มลวรรคที่ ๑๘
[๒๘] บัดนี้ท่านเป็นดุจใบไม้เหลือง อนึ่ง แม้บุรุษของพระยายมก็ ปรากฏแก่ท่านแล้ว ท่านตั้งอยู่ในปากแห่งความเสื่อม อนึ่ง เสบียงเดินทางของท่านก็ยังไม่มี ท่านจงทำที่พึ่งแก่ตน จงรีบ พยายาม จงเป็นบัณฑิต ท่านเป็นผู้มีมลทินอันขจัดแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวนจักถึงอริยภูมิอันเป็นทิพย์ บัดนี้ท่าน เป็นผู้มีวัยอันชรานำเข้าไปแล้ว เตรียมจะไปยังสำนักของ พระยายม อนึ่ง ที่พักในระหว่างของท่านก็ยังไม่มี และ เสบียงเดินทางของท่านก็ยังไม่มี ท่านจงทำที่พึ่งแก่ตน จงรีบ พยายาม จงเป็นบัณฑิต ท่านเป็นผู้มีมลทินอันขจัดแล้ว ไม่มี กิเลสเครื่องยียวน จักไม่เข้าถึงชาติและชราอีก นักปราชญ์ ทำกุศลทีละน้อยๆ ในขณะๆ พึงขจัดมลทินของตนออกได้ โดยลำดับ เหมือนช่างทองขจัดมลทินของทอง ฉะนั้น สนิม เกิดขึ้นแต่เหล็กเอง ครั้นเกิดขึ้นแต่เหล็กนั้นแล้ว ย่อมกัด เหล็กนั้นแหละ ฉันใด กรรมของตนย่อมนำบุคคลผู้มัก ประพฤติล่วงปัญญาชื่อโธนา ไปสู่ทุคติ ฉันนั้น มนต์มีอัน ไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน เรือนมีการไม่หมั่นเป็นมลทิน ความ เกียจคร้านเป็นมลทินของผิวพรรณ ความประมาทเป็นมลทิน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๐.

ของผู้รักษา ความประพฤติชั่วเป็นมลทินหญิง ความตระหนี่ เป็นมลทินของผู้ให้ ธรรมทั้งหลายที่ลามกเป็นมลทินแท้ ทั้งใน โลกนี้ทั้งในโลกหน้า เราจะบอกมลทินกว่ามลทินนั้น คือ อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย ละมลทินนี้เสียแล้ว จงเป็นผู้ไม่มีมลทินเถิด บุคคลผู้ไม่มีหิริ กล้าเพียงดังกา มักขจัด มักแล่นไป ผู้คะนอง เป็นผู้ เศร้าหมองเป็นอยู่ง่าย ส่วนบุคคลผู้มีหิริ มีปกติแสวงหา ความสะอาดเป็นนิตย์ ไม่หดหู่ ไม่คะนอง มีอาชีวะหมดจด เห็นอยู่เป็นอยู่ยาก นรชนใดย่อมล้างผลาญสัตว์มีชีวิต ถือ เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ในโลก คบหาภริยาคนอื่น กล่าว คำเท็จ และประกอบการดื่มสุราเมรัยเนืองๆ นรชนนี้ย่อม ขุดทรัพย์อันเป็นต้นทุนของตนในโลกนี้แล ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า บาปธรรมทั้งหลายอันบุคคลไม่สำรวมแล้ว ความโลภและสภาวะมิใช่ธรรม อย่าพึงย่ำยีท่านเพื่อทุกข์สิ้น กาลนาน ชนย่อมให้ตามศรัทธาตามความเลื่อมใสโดยแท้ บุคคลใดย่อมเป็นผู้เก้อเขินในเพราะน้ำและข้าว ของชนเหล่า อื่นนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่บรรลุสมาธิ ในกลางวันหรือ กลางคืน ส่วนผู้ใดตัดความเป็นผู้เก้อเขินนี้ได้ขาด ถอนขึ้น ให้รากขาดแล้ว ผู้นั้นแลย่อมบรรลุสมาธิ ในกลางวันหรือ กลางคืน ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี ผู้จับเสมอด้วยโทสะไม่มี ข่ายเสมอด้วยโมหะไม่มี แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี โทษ ของผู้อื่นเห็นได้ง่าย ส่วนโทษของตนเห็นได้ยาก เพราะว่า บุคคลนั้นย่อมโปรยโทษของคนอื่น ดุจบุคคลโปรยแกลบ แต่ปกปิดโทษของตนไว้ เหมือนพรานนกปกปิดอัตภาพด้วย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๑.

กิ่งไม้ ฉะนั้น อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลผู้ตามเพ่ง โทษผู้อื่น มีความสำคัญในการยกโทษเป็นนิตย์ บุคคลนั้นเป็น ผู้ไกลจากความสิ้นอาสวะ สมณะภายนอกไม่มี ดังรอยเท้า ไม่มีในอากาศ ฉะนั้น หมู่สัตว์ยินดีแล้วในธรรมเครื่องยัง สัตว์ให้เนิ่นช้า พระตถาคตทั้งหลาย ไม่มีธรรมเครื่องยัง สัตว์ให้เนิ่นช้า สมณะภายนอกไม่มี ดังรอยเท้าไม่มีในอากาศ ฉะนั้น สังขารทั้งหลายเที่ยงไม่มี กิเลสชาติเครื่องยังสัตว์ให้ หวั่นไหวไม่มีแก่พระพุทธเจ้า ฯ
จบมลวรรคที่ ๑๘

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๘๖๒-๙๔๕ หน้าที่ ๓๗ - ๔๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=862&Z=945&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=27&book=25&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=27              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=27              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=25&A=888              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=25&A=888              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]