ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๖ จุลวรรค ภาค ๑
ระงับอธิกรณ์ด้วยเยภุยยสิกา
[๖๑๑] สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ถึงความวิวาทกัน ในท่ามกลางสงฆ์ กล่าวทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๕๕.

ไม่อาจเพื่อระงับอธิกรณ์นั้นได้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยเยภุยยสิกา พึงสมมติ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก คือ:- ๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ ๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง ๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย ๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ ๕. รู้จักฉลากที่จับแล้วและยังไม่จับ ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้ เป็นผู้ให้จับฉลาก การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด ภิกษุมีชื่อนี้อันสงฆ์สมมติแล้วให้เป็นผู้ให้จับฉลาก ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
การจับฉลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง
[๖๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การจับฉลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง เป็น ธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้ การจับฉลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไฉน คือ:- ๑. อธิกรณ์เป็นเรื่องเล็กน้อย ๒. ไม่ลุกลามไปไกล

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๕๖.

๓. ภิกษุพวกนั้นระลึกไม่ได้เอง และพวกอื่นก็ให้ระลึกไม่ได้ ๔. รู้ว่า อธรรมวาทีมากกว่า ๕. รู้ว่า ไฉน อธรรมวาทีพึงมีมากกว่า ๖. รู้ว่า สงฆ์จักแตกกัน ๗. รู้ว่า ไฉน สงฆ์พึงแตกกัน ๘. อธรรมวาทีภิกษุจับโดยไม่เป็นธรรม ๙. อธรรมวาทีภิกษุจับเป็นพวกๆ ๑๐. ไม่จับตามความเห็น การจับฉลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้ ฯ
การจับฉลากเป็นธรรม ๑๐ อย่าง
[๖๑๓] การจับฉลากเป็นธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไฉน คือ:- ๑. อธิกรณ์ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๒. ลุกลามไปไกล ๓. ภิกษุพวกนั้นระลึกได้ และพวกอื่นก็ให้ระลึกได้ ๔. รู้ว่า ธรรมวาทีมากกว่า ๕. รู้ว่า ไฉนธรรมวาทีพึงมีมากกว่า ๖. รู้ว่า สงฆ์จักไม่แตกกัน ๗. รู้ว่า ไฉนสงฆ์ไม่พึงแตกกัน ๘. ธรรมวาทีภิกษุจับโดยธรรม ๙. ธรรมวาทีภิกษุพร้อมเพรียงกันจับ ๑๐. จับตามความเห็น การจับฉลากเป็นธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๘๓๘๑-๘๔๓๐ หน้าที่ ๓๕๔ - ๓๕๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=6&A=8381&Z=8430&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=612&book=6&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=6&siri=51              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=6&A=6607              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=6&A=6607              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_6

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]