ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

หน้าที่ ๑๔๐.

๖. เจโตขีลสูตร
ว่าด้วยตะปูตรึงใจ
[๒๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๒๒๗] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ไม่ถอนเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ ภิกษุนั้นหนอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๒๘] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ อันเธอยังละไม่ได้เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม ไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังละ ไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อม ใสในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อม ใสในพระธรรมนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผา กิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปู ตรึงใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๔๑.

ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสใน สิกขานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบ- *กระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบกระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อม ไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังละ ไม่ได้แล้ว ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว.
เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ
[๒๒๙] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอ ทะยานอยากในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความ พอใจ ไม่ปราศจากความรักไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความ ทะเยอทะยานอยากในกาม ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบ เนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๔๒.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจาก ความทะเยอทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้ง มั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศ- *จากความทะเยอทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในรูปนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความ สุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุ ผู้บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุข ในความหลับอยู่นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกาย อันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๔๓.

อันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่ จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ไม่ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเสียได้ ถอน เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเสียได้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๓๑] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ชื่อว่า อันภิกษุนั้นละได้แล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นละได้ แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน พระธรรมนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน พระสงฆ์นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๔๔.

ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน สิกขานั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่โกรธเคือง ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิต อันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจตะปูไม่ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่โกรธเคือง ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจ ตะปูไม่ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้น ละได้แล้ว. [๒๓๒] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจาก ความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกามนั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้น ถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๔๕.

ทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพัน ใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยาน อยากในรูปนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อเพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบ ความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของ ภิกษุผู้ไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่อง ผูกพันใจประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพ นิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตร อันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักไม่ประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์- *หนึ่ง ด้วยศีลอันนี้ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมน้อมไป

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๔๖.

เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ ทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดี แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้แล้ว ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้ดีแล้ว ภิกษุนั้นจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม- *วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
อุปมาเหมือนแม่ไก่ฟักไข่
[๒๓๓] ภิกษุนั้นเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร ๑ วิริยสมาธิปธาน สังขาร ๑ จิตตสมาธิปธานสังขาร ๑ วิมังสาสมาธิปธานสังขาร ๑ และมีความขะมักเขม้นเป็นที่ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้นั้นแล เป็นผู้ควร แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะ อย่างสูงเยี่ยม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้ เป็นผู้ควร แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่าง สูงเยี่ยม เปรียบเหมือนไข่ของแม่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง แม่ไก่กกไว้โดยชอบ ให้อบอุ่นโดยชอบ ฟักโดยชอบ ถึงแม่ไก่นั้นจะไม่ปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอให้ลูกไก่เหล่านี้จงทำลาย เปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีก็ตาม ลูกไก่เหล่านั้นก็ต้อง ทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีได้ ฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ เจโตขีลสูตรที่ ๖
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๓๔๔๙ - ๓๖๓๐. หน้าที่ ๑๔๐ - ๑๔๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3449&Z=3630&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=12&siri=16              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=226              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=12&A=4175              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=12&A=4175              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_12

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]