ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
อานันทสูตร
[๒๔๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้การบรรลุโอกาส เพื่อความ บริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกความร่ำไร เพื่อดับเสียซึ่งทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน จักษุชื่อว่าจัก เป็นจักษุนั้นแล คือ รูปเหล่านั้นจักไม่เสวยอายตนะนั้น และอายตนะนั้นจักไม่ เสวยรูปเหล่านั้น หูชื่อว่าจักเป็นหูนั้นแล คือ เสียงเหล่านั้นจักไม่เสวยอายตนะ นั้น และอายตนะนั้นจักไม่เสวยเสียงเหล่านั้น จมูกชื่อว่าจักเป็นจมูกนั้นแล คือ กลิ่นเหล่านั้นจักไม่เสวยอายตนะนั้น และอายตนะนั้นจักไม่เสวยกลิ่นเหล่านั้น ลิ้นชื่อว่าจักเป็นลิ้นนั้นแล คือ รสเหล่านั้นจักไม่เสวยอายตนะนั้น และอายตนะ นั้นจักไม่เสวยรสเหล่านั้น กายชื่อว่าจักเป็นกายนั้นแล คือ โผฏฐัพพะเหล่านั้น จักไม่เสวยอายตนะนั้น และอายตนะนั้นจักไม่เสวยโผฏฐัพพะเหล่านั้น เมื่อท่าน พระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอาวุโส อานนท์ ผู้มีสัญญาหรือไม่มีสัญญาหนอ ย่อมไม่เสวยอายตนะนั้น ท่านพระอานนท์ ตอบว่า ดูกรอาวุโส ผู้มีสัญญาแล ย่อมไม่เสวยอายตนะนั้น ผู้ไม่มีสัญญาไม่ เสวยอายตนะนั้น ฯ อุ. ดูกรอาวุโส ก็ผู้มีสัญญาอย่างไร จึงไม่เสวยอายตนะนั้น ฯ อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการ ทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสา- *นัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด ดูกรอาวุโส แม้ผู้มี สัญญาอย่างนี้ ก็ไม่เสวยอายตนะนั้น ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการ ทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดูกรอาวุโส แม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้ก็ไม่เสวยอายตนะนั้น ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการ ทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรหน่อยหนึ่ง ไม่มี ดูกรอาวุโส แม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้ก็ไม่เสวยอายตนะนั้น ฯ ดูกรอาวุโส สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ อัญชนมิคทายวัน ใกล้เมืองสาเกต ครั้งนั้นแล ภิกษุณีชื่อชฎิลภาคิกา เข้าไปหาผมถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามผมว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ สมาธิใดอัน บุคคลยังไม่น้อมไปแล้ว ไม่นำไปปราศแล้ว มีการข่มการห้ามซึ่งธรรมอันเป็นไป กับสังขารไม่ได้ ตั้งมั่นแล้วเพราะหลุดพ้นจากกิเลส เป็นสันโดษเพราะตั้งมั่น ไม่ สะดุ้งเพราะเป็นสันโดษ สมาธินี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอะไรเป็นผล เมื่อ ชฎิลภาคิกาภิกษุณีกล่าวอย่างนี้แล้ว ผมได้กล่าวกะภิกษุณีนั้นว่า ดูกรน้องหญิง สมาธิใดอันบุคคลไม่น้อมไปแล้ว ไม่นำไปปราศแล้ว มีการข่มการห้ามซึ่งธรรม อันเป็นไปกับสังขารไม่ได้ ตั้งมั่นแล้วเพราะหลุดพ้นจากกิเลส เป็นสันโดษเพราะ ตั้งมั่น ไม่สะดุ้งเพราะเป็นสันโดษ สมาธินี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอรหัต เป็นผล ดูกรอาวุโส แม้ผู้ที่มีสัญญาอย่างนี้แล ก็ไม่เสวยอายตนะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๖

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๙๑๔๖ - ๙๑๘๗. หน้าที่ ๓๙๔ - ๓๙๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=9146&Z=9187&pagebreak=0              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=200              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=241              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=23&A=9374              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=23&A=9374              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_23

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]