ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องพระเทวทัต
[๓๔๙] ครั้งนั้น พระเทวทัตหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความปริวิตก แห่งจิตอย่างนี้ว่า เราจะพึงยังใครหนอให้เลื่อมใส เมื่อผู้ใดเลื่อมใสต่อเราแล้ว ลาภสักการะเป็นอันมากจะพึงเกิดขึ้น ลำดับนั้น พระเทวทัตได้คิดต่อไปว่า อชาตสัตตุกุมารนี้แล ยังหนุ่ม ยังเจริญต่อไป ไฉนเราพึงยังอชาตสัตตุกุมารให้ เลื่อมใส เมื่ออชาตสัตตุกุมารนั้นเลื่อมใสต่อเราแล้ว ลาภสักการะเป็นอันมากจัก เกิดขึ้น ลำดับนั้น พระเทวทัตเก็บเสนาสนะแล้ว ถือบาตร จีวร เดินทางไปยัง กรุงราชคฤห์ ถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ แล้วแปลงเพศของตนนิรมิตเพศเป็น กุมารน้อยเอางูพันสะเอว ได้ปรากฏบนพระเพลาของอชาตสัตตุกุมาร ทีนั้น อชาตสัตตุกุมารกลัว หวั่นหวาด สะดุ้ง ตกพระทัย พระเทวทัตจึงได้กล่าวกะอชาตสัตตุกุมารว่า พระกุมาร ท่านกลัวฉัน หรือ อ. จ้ะ ฉันกลัว ท่านเป็นใคร ท. ฉัน คือ พระเทวทัต อ. ท่านเจ้าข้า ถ้าท่านเป็นพระผู้เป็นเจ้าเทวทัต ขอจงปรากฏด้วยเพศ ของตนทีเดียวเถิด ทันใดนั้น พระเทวทัตกลับเพศกุมารน้อยแล้ว ทรงสังฆาฏิ บาตร และ จีวร ได้ยืนอยู่ข้างหน้าอชาตสัตตุกุมาร ครั้งนั้น อชาตสัตตุกุมารเลื่อมใสยิ่งนัก ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์นี้ของพระ- *เทวทัต ได้ไปสู่ที่บำรุงทั้งเวลาเย็นทั้งเวลาเช้า ด้วยรถ ๕๐๐ คัน และนำ ภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปด้วย ครั้งนั้น พระเทวทัต อันลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ รึงรัด จิต และเกิดความปรารถนาเห็นปานนี้ว่า เราจักปกครองภิกษุสงฆ์ พระเทวทัต ได้เสื่อมจากฤทธิ์นั้น พร้อมกับจิตตุปบาททีเดียว ฯ
เรื่องกักกุธโกฬิยบุตร
[๓๕๐] สมัยนั้น โกฬิยบุตรชื่อกักกุธะ เป็นอุปัฏฐากของท่านพระมหา- *โมคคัลลานะ ผู้ตายไม่นาน ได้เข้าถึงมโนมัยกายอย่างหนึ่ง อัตภาพเห็นปานดังนี้ ที่เขาได้มีขนาดเท่ากับคามเขตของชาวมคธ ๒ หรือ ๓ แห่ง เขาย่อมไม่ยังตนและ คนอื่นให้ลำบาก เพราะอัตภาพที่เขาได้นั้น ครั้งนั้น กักกุธะเทพบุตร เข้าไปหา ท่านพระมหาโมคคัลลานะ อภิวาทแล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ กล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ท่านเจ้าข้า พระเทวทัตอันลาภสักการะและ ความสรรเสริญ ครอบงำ รึงรัดจิต แล้วได้เกิดความปรารถนาเห็นปานนี้ว่า เรา จักปกครองภิกษุสงฆ์ ท่านเจ้าข้า พระเทวทัตได้เสื่อมจากฤทธิ์นั้นแล้ว พร้อมกับ จิตตุปบาททีเดียว กักกุธะเทพบุตรได้กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงอภิวาทท่านพระมหา โมคคัลลานะ กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง ฯ [๓๕๑] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า โกฬิยบุตร ชื่อกักกุธะ เป็นอุปัฏฐากของข้าพระพุทธเจ้า ผู้ตายไม่นาน ได้เข้าถึงมโนมัยกาย อย่างหนึ่ง อัตภาพเห็นปานดังนี้ ที่เขาได้มีขนาดเท่ากับคามเขตของชาวมคธ ๒ หรือ ๓ แห่ง เขาย่อมไม่ยังตนและคนอื่นให้ลำบาก เพราะอัตภาพที่เขาได้นั้น พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น กักกุธะเทพบุตรเข้าไปหาข้าพระพุทธเจ้า อภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะข้าพระพุทธเจ้าว่า ท่านเจ้าข้า พระเทวทัตอันลาภสักการะครอบงำ รึงรัดจิตแล้ว ได้เกิดความปรารถนาเห็นปานนี้ ว่า เราจักปกครองภิกษุสงฆ์ ท่านเจ้าข้า พระเทวทัตเสื่อมจากฤทธิ์นั้นแล้วพร้อม กับจิตตุปบาททีเดียว พระพุทธเจ้าข้า กักกุธะเทพบุตรได้กล่าวอย่างนี้แล้ว อภิวาท ข้าพระพุทธเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง พ. ดูกรโมคคัลลานะ ก็กักกุธะเทพบุตรอันเธอกำหนดรู้ซึ่งจิตด้วยจิต แล้วหรือว่า กักกุธะเทพบุตรกล่าวคำอย่างหนึ่งอย่างใด คำนั้นทั้งหมดย่อมเป็น อย่างนั้นทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น ม. พระพุทธเจ้าข้า กักกุธะเทพบุตรอันข้าพระพุทธเจ้ากำหนดรู้จิตด้วย จิตแล้วว่า กักกุธะเทพบุตรกล่าวคำอย่างหนึ่งอย่างใด คำนั้นทั้งหมดย่อมเป็นอย่าง นั้นทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น พ. ดูกรโมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น ดูกรโมคคัลลานะ เธอจง รักษาวาจานั้น บัดนี้ โมฆบุรุษนั้นจักกระทำตนให้ปรากฏด้วยตนเอง ฯ
เรื่องศาสดา ๕ จำพวก
[๓๕๒] ดูกรโมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๕ จำพวกเป็นไฉน ดูกรโมคคัลลานะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีลไม่ บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และว่า ศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่งศาสดานั้นนั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และว่า ศีลของเรา บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ศาสดา นั้นไม่พึงมีความพอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลจะพึงมี พวกเราจะพึงกล่าวกะศาสดา นั้นด้วยความไม่พอใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือบูชาเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านจักกระทำกรรมใดไว้ ท่านก็จัก ปรากฏด้วยกรรมนั้นเอง ดูกรโมคคัลลานะ สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็น ปานนั้นโดยศีล ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังการรักษาโดยศีลจากสาวก ทั้งหลาย ฯ [๓๕๓] ดูกรโมคคัลลานะ อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีอาชีวะ ไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ และว่า อาชีวะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่งศาสดานั้นนั่นอย่างนี้ว่า ศาสดา ผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ และว่า อาชีวะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอก แก่พวกคฤหัสถ์ ศาสดานั้นไม่พึงมีความพอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลพึงมี พวก เราจะพึงกล่าวกะศาสดานั้นด้วยความไม่พอใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือ บูชาเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านจักกระ ทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้นเอง ดูกรโมคคัลลานะสาวกทั้งหลาย ย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้นโดยอาชีวะ ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังเฉพาะ ซึ่งการรักษาโดยอาชีวะจากสาวกทั้งหลาย ฯ [๓๕๔] ดูกรโมคคัลลานะ อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีธรรม เทศนาไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ และว่า ธรรม เทศนาของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่งศาสดานั้น นั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ และว่า ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่ เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ศาสดานั้นไม่พึงมีความ พอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลพึงมี พวกเราจะพึงกล่าวกะศาสดานั้นด้วยความไม่ พอใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือบูชาเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านจักกระทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรม นั้นเอง ดูกรโมคคัลลานะ สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้นโดยธรรม- *เทศนา ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังเฉพาะซึ่งการรักษา โดยธรรมเทศนา จากสาวกทั้งหลาย ฯ [๓๕๕] ดูกรโมคคัลลานะ อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี- *ไวยากรณ์ไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ และว่า ไวยากรณ์ ของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่งศาสดานั้นนั่นอย่าง นี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีไวยากรณ์ไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มี- *ไวยากรณ์บริสุทธิ์ และว่า ไวยากรณ์ของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ศาสดานั้นไม่พึงมีความพอใจ ก็ความ ไม่พอใจใดแลพึงมี พวกเราพึงกล่าวกะศาสดานั้นด้วยความไม่พอใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือบูชาเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร ท่านจักกระทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้นเอง ดูกร โมคคัลลานะ สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้นโดยไวยากรณ์ ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังเฉพาะซึ่งการรักษาโดยไวยากรณ์จากสาวกทั้งหลาย ฯ [๓๕๖] ดูกรโมคคัลลานะ อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีญาณ ทัสสนะไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ และว่า ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่ง ศาสดานั้นนั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ และว่า ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ศาสดานั้นไม่ พึงมีความพอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลพึงมี พวกเราจะพึงกล่าวกะศาสดานั้นด้วย ความไม่พอใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือบูชาเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านจักกระทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏ ด้วยกรรมนั้นเอง ดูกรโมคคัลลานะ สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้น โดยญาณทัสสนะ ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังเฉพาะซึ่งการรักษาโดย ญาณทัสสนะจากสาวกทั้งหลาย ดูกรโมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวก เหล่านี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ [๓๕๗] ดูกรโมคคัลลานะ ก็เราแลเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ปฏิญาณว่า เรา เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และว่า ศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง แลสาวก ทั้งหลายย่อมไม่รักษาเราโดยศีลและเราก็ไม่หวังเฉพาะ ซึ่งการรักษาโดยศีล จาก สาวกทั้งหลาย อนึ่ง เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ ... อนึ่ง เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ... อนึ่ง เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ... อนึ่ง เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณ ทัสสนะบริสุทธิ์ และว่า ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง แลสาวกทั้งหลายย่อมไม่รักษาเราโดยญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังเฉพาะ ซึ่งการ รักษาโดยญาณทัสสนะ จากสาวกทั้งหลาย ฯ
เรื่องพระเทวทัต
[๓๕๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่เมืองโกสัมพี ตามพุทธา ภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับถึงกรุงราชคฤห์ แล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทาน เหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์นั้น ฯ [๓๕๙] ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า อชาต สัตตุกุมารได้ไปสู่ที่บำรุงของพระเทวทัต ทั้งเวลาเย็นทั้งเวลาเช้า ด้วยรถ ๕๐๐ คัน แลนำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปด้วย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าพอใจลาภสักการะ และความสรรเสริญของเทวทัตเลย อชาตสัตตุกุมาร จักไปสู่ที่บำรุงของเทวทัต ทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ด้วยรถ ๕๐๐ คัน แลจักนำ ภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปด้วย สักกี่วัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตพึงหวังความ เสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายถ่ายเดียว หวังความเจริญไม่ได้ เปรียบเหมือนคน ทั้งหลายพึงทาน้ำดีหมีที่จมูกลูกสุนัขที่ดุร้าย ลูกสุนัขนั้นจะเป็นสัตว์ดุร้ายขึ้นยิ่งกว่า ประมาณ ด้วยอาการอย่างนี้แล แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อชาตสัตตุกุมาร จักไปสู่ที่บำรุงของเทวทัต ทั้งเวลาเย็นทั้งเวลาเช้า ด้วยรถ ๕๐๐ คัน แลจักนำ ภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปด้วย สักกี่วัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตพึงหวังความ เสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ถ่ายเดียว หวังความเจริญไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความวอดวาย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ต้นกล้วยย่อมเผล็ดผลเพื่อฆ่าตน ย่อมเผล็ดผลเพื่อความวอดวาย ฉันใด ลาภสักการะและความสรรเสริญก็เกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน ลาภสักการะและ ความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ไม้ไผ่ย่อมตกขุยเพื่อฆ่าตน ย่อมตกขุยเพื่อความวอดวาย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญก็เกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือน กันแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้อ้อย่อมตกขุยเพื่อฆ่าตน ย่อมตกขุยเพื่อความวอดวาย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัต เพื่อฆ่าตน ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่ม้าอัสดรย่อมตั้งครรภ์เพื่อฆ่าตน ย่อม ตั้งครรภ์เพื่อความวอดวาย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความ สรรเสริญก็เกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้น แก่เทวทัต เพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ [๓๖๐] พระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์บาลีนี้แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ ดังต่อไปนี้:- ผลกล้วยย่อมฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่ ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ สักการะย่อมฆ่าคนชั่ว เหมือนม้าอัสดรซึ่งเกิดในครรภ์ ย่อมฆ่าแม่ม้า อัสดรฉะนั้น ฯ
ปฐมภาณวาร จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๓๒๑๘ - ๓๓๘๒. หน้าที่ ๑๓๔ - ๑๔๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=3218&Z=3382&pagebreak=0              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=48              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=349              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=7&A=3274              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=7&A=3274              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_7

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]