บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
| |
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
พระเทวทัตทูลขอปกครองสงฆ์ [๓๖๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคอันบริษัทหมู่ใหญ่ แวดล้อม แล้ว ประทับนั่งแสดงธรรมแก่บริษัทพร้อมทั้งพระราชาครั้งนั้น พระเทวทัตลุกจาก อาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้ว กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคทรงพระชราแล้ว เป็นผู้เฒ่า แก่หง่อมแล้ว ล่วงกาลผ่านวัยไปแล้ว บัดนี้ ขอพระองค์จงทรงขวนขวายน้อย ประกอบทิฏฐธรรมสุขวิหารอยู่เถิด ขอจงมอบภิกษุสงฆ์แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้า- *พระพุทธเจ้าจักปกครองภิกษุสงฆ์ พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย เทวทัต เธออย่าพอใจที่จะปกครอง ภิกษุสงฆ์เลย แม้ครั้งที่สอง ... แม้ครั้งที่สาม พระเทวทัตก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคทรงพระชราแล้ว เป็นผู้เฒ่า แก่หง่อมแล้ว ล่วงกาลผ่าน วัยไปแล้ว บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงขวนขวายน้อย ประกอบทิฏฐธรรม สุขวิหารอยู่เถิด ขอจงมอบภิกษุสงฆ์แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจักปกครอง ภิกษุสงฆ์ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรเทวทัต แม้แต่สารีบุตรและโมคคัลลานะ เรายังไม่มอบภิกษุสงฆ์ให้ ไฉนจะพึงมอบให้เธอผู้ เช่นซากศพ ผู้บริโภคปัจจัย เช่นก้อนเขฬะเล่า ทีนั้น พระเทวทัตคิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงรุกรานเรากลางบริษัทพร้อม ด้วยพระราชา ด้วยวาทะว่าบริโภคปัจจัยดุจก้อนเขฬะ ทรงยกย่องแต่พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ดังนี้ จึงโกรธ น้อยใจ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำ ประทักษิณแล้วกลับไป นี่แหละ พระเทวทัตได้ผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาค เป็นครั้งแรก ฯปกาสนียกรรม [๓๖๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงลงปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำ อย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็น อย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงทำอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม วาจา ว่าดังนี้:-กรรมวาจาทำปกาสนียกรรม ท่านเจ้าข้า ขอพระสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัต ว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระ- *ธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวเทวทัตเอง นี้ เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทำปกาสนียกรรมใน กรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่ พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็น เฉพาะตัวพระเทวทัตเอง การทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระ เทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่าง หนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัต เอง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์ อันสงฆ์กระทำแล้ว แก่พระ เทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีก อย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่า พระ- *พุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระ เทวทัตเอง ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ [๓๖๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกร สารีบุตร ถ้ากระนั้น เธอจงประกาศเทวทัตในกรุงราชคฤห์ ท่านพระสารีบุตรทูลถามว่า เมื่อก่อนข้าพระพุทธเจ้ากล่าวชมพระเทวทัต ในกรุงราชคฤห์ว่า โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอานุภาพมาก ข้าพระพุทธเจ้า จะประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า พ. ดูกรสารีบุตร เธอกล่าวชมเทวทัตในกรุงราชคฤห์แล้ว เท่าที่เป็น จริงว่า โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอานุภาพมาก ส. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พ. ดูกรสารีบุตร เธอจงประกาศเทวทัตในกรุงราชคฤห์เท่าที่เป็นจริง เหมือนอย่างนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว ฯ [๓๖๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงสมมติสารีบุตรเพื่อประกาศเทวทัตในกรุงราช- *คฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระ เทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวเทวทัตเอง ฯวิธีสมมติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องสารีบุตรก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-กรรมวาจาสมมติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติท่านพระสารีบุตรเพื่อประกาศพระเทวทัตใน กรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็น อีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่า พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัว พระเทวทัตเอง นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติท่านพระ สารีบุตรเพื่อประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง การสมมติท่านพระ สารีบุตรเพื่อประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็น อย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ท่านพระสารีบุตรอันสงฆ์สมมติแล้ว เพื่อประกาศพระเทวทัต ในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้ เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็น ว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะ ตัวพระเทวทัตเอง ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ [๓๖๕] ก็ท่านพระสารีบุตรได้รับสมมติแล้ว จึงเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ พร้อมกับภิกษุมากรูป แล้วได้ประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของ พระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง ประชาชนในกรุงราชคฤห์นั้นพวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสไร้ปัญญา ต่างกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นคนริษยา ย่อม เกียดกันลาภสักการะของพระเทวทัต ส่วนประชาชนพวกที่มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นบัณฑิต มีปัญญาดี กล่าว อย่างนี้ว่า เรื่องนี้คงจักไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะพระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประกาศ พระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ ฯเนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๓๓๘๓ - ๓๔๙๒. หน้าที่ ๑๔๑ - ๑๔๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=3383&Z=3492&pagebreak=0 อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=49 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=361 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=7&A=3448 อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=7&A=3448 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_7
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]