บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
| |
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
เรื่องอชาตสัตตุกุมาร [๓๖๖] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาอชาตสัตตุกุมาร แล้วได้กล่าวว่า ดูกรกุมาร เมื่อก่อนคนทั้งหลายมีอายุยืน เดี๋ยวนี้มีอายุสั้น ก็การที่ท่านจะพึงตาย เสียเมื่อยังเป็นเด็ก นั่นเป็นฐานะจะมีได้ ดูกรกุมาร ถ้ากระนั้น ท่านจงปลง พระชนม์พระชนกเสียแล้วเป็นพระเจ้าแผ่นดิน อาตมาจักปลงพระชนม์พระผู้มี พระภาคแล้วเป็นพระพุทธเจ้า ครั้งนั้น อชาตสัตตุกุมารคิดว่า พระผู้เป็นเจ้า เทวทัต มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พระผู้เป็นเจ้าเทวทัตพึงทราบแน่ แล้วเหน็บกฤชแนบ พระเพลา ทรงกลัว หวั่นหวาด สะดุ้งพระทัยรีบเสด็จเข้าไปภายในพระราชวังแต่ เวลากลางวัน พวกมหาอำมาตย์ผู้รักษาภายในพระราชวัง ได้แลเห็นอชาตสัตตุ กุมารทรงกลัว หวั่นหวาด สะดุ้งพระทัยรีบเสด็จเข้ามาภายในพระราชวัง แต่เวลา กลางวัน จึงรีบจับไว้ มหาอำมาตย์เหล่านั้นตรวจค้นพบกฤชเหน็บอยู่ที่พระเพลา แล้วได้ทูลถามอชาตสัตตุกุมารว่า พระองค์ประสงค์จะทำการอันใด พระเจ้าข้า อ. เราประสงค์จะปลงพระชนม์พระชนก ม. ใครใช้พระองค์ อ. พระผู้เป็นเจ้าเทวทัต มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติอย่างนี้ว่า ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ควร ฆ่าพระเทวทัต และภิกษุทั้งหมด มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ เพราะพวก ภิกษุไม่ผิดอะไร ควรปลงพระชนม์พระกุมาร และฆ่าพระเทวทัต มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ไม่ควรฆ่าพระเทวทัต ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ ควรกราบทูลพระราชา พระราชารับสั่ง อย่างใด พวกเราจักทำอย่างนั้น ฯ [๓๖๗] ครั้งนั้น มหาอำมาตย์เหล่านั้นคุมอชาตสัตตุกุมารเข้าไปเฝ้า พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระเจ้าพิมพิสารจอม เสนามาคธราช พิ. ดูกรพนาย มหาอำมาตย์ทั้งหลายลงมติอย่างไร ม. ขอเดชะ มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติอย่างนี้ว่า ควรปลงพระชนม์ พระกุมาร ควรฆ่าพระเทวทัต และภิกษุทั้งหมด มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติ อย่างนี้ว่า ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ เพราะพวกภิกษุไม่ผิดอะไร ควรปลงพระชนม์ พระกุมารและฆ่าพระเทวทัต มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรปลง พระชนม์พระกุมาร ไม่ควรฆ่าพระเทวทัต ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ ควรกราบทูล พระราชา พระราชารับสั่งอย่างใด พวกเราจักทำอย่างนั้น พิ. ดูกรพนาย พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ จักทำอะไรได้ ชั้นแรกทีเดียว พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประกาศพระเทวทัต ในกรุงราชคฤห์มิใช่ หรือว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระ เทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง บรรดามหาอำมาตย์ เหล่านั้น พวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า ควรปลงพระชนม์ พระกุมาร ควรฆ่าพระเทวทัต และภิกษุทั้งหมด พระราชาได้ทรงถอดยศ พวกเธอเสีย พวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ เพราะพวกภิกษุไม่ผิดอะไร ควรปลงพระชนม์พระกุมาร และฆ่าพระเทวทัต พระราชาได้ทรงลดตำแหน่ง พวกเธอ พวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ไม่ควรฆ่า พระเทวทัต ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ ควรกราบทูลพระราชา พระราชารับสั่งอย่างใด พวกเราจักทำอย่างนั้น พระราชาได้ทรงเลื่อนตำแหน่งพวกเธอ ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้รับสั่งถาม อชาตสัตตุกุมาร ว่า ลูก เจ้าต้องการฆ่าพ่อเพื่ออะไร อชาตสัตตุกุมารกราบทูลว่า หม่อมฉันต้องการราชสมบัติพระพุทธเจ้าข้า พระราชาตรัสว่า ลูก ถ้าเจ้าต้องการราชสมบัติ ราชสมบัตินั้นเป็นของเจ้า แล้วทรงมอบราชสมบัติแก่อชาตสัตตุกุมาร ฯพระเทวทัตส่งคนไปปลงพระชนม์พระศาสดา [๓๖๘] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาอชาตสัตตุกุมาร แล้วถวายพระพร ว่า ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรจงรับสั่งใช้ ราชบุรุษผู้จักปลงพระชนม์ พระสมณโคดม ลำดับนั้น อชาตสัตตุกุมาร รับสั่งใช้คนทั้งหลายว่า พนาย พระ- *ผู้เป็นเจ้าเทวทัตสั่งอย่างใด ท่านทั้งหลายจงทำอย่างนั้น ลำดับนั้น พระเทวทัตจึง สั่งราชบุรุษคนหนึ่งว่า เจ้าจงไป พระสมณโคดมประทับอยู่ในโอกาสโน้น จง ปลงพระชนม์พระองค์แล้วจงมาทางนี้ ดังนี้ ซุ่มราชบุรุษไว้ ๒ คนริมทางนั้นด้วย สั่งว่า ราชบุรุษใดมาทางนี้ลำพังผู้เดียว เจ้าทั้งสองจงฆ่าราชบุรุษนั้นแล้วมาทางนี้ ได้ซุ่มบุรุษไว้ ๔ คนริมทางนั้นด้วยสั่งว่า ราชบุรุษเหล่าใดมาทางนี้ ๒ คน เจ้า ทั้ง ๔ คน จงฆ่าราชบุรุษ ๒ คนนั้น แล้วมาทางนี้ ได้ซุ่มบุรุษไว้ ๘ คนริมทาง นั้นด้วยสั่งว่า ราชบุรุษเหล่าใดมาทางนี้ ๔ คน เจ้าทั้ง ๘ คน จงฆ่าราชบุรุษ ๔ คน นั้นแล้วมาทางนี้ ได้ซุ่มราชบุรุษไว้ ๑๖ คนริมทางนั้น ด้วยสั่งว่า ราชบุรุษเหล่าใด มาทางนี้ ๘ คน เจ้าทั้ง ๑๖ คน จงฆ่าราชบุรุษ ๘ คนนั้นแล้วมา ฯทรงแสดงอนุปุพพิกถา [๓๖๙] ครั้งนั้น บุรุษคนเดียวนั้นถือดาบและโล่ห์ผูกสอดแล่งธนู แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กลัว หวั่นหวาด สะทกสะท้าน มีกายแข็ง ได้ยืน อยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคๆ ได้ทอดพระเนตรเห็นบุรุษนั้น ผู้กลัว หวั่นหวาด สะทกสะท้าน มีกายแข็ง ยืนอยู่ ครั้นแล้วได้ตรัสกะบุรุษนั้นว่า มาเถิด เจ้า อย่ากลัวเลย จึงบุรุษนั้นวางดาบและโล่ห์ปลดแล่งธนูวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ซบศีรษะลงแทบพระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า โทษมาถึงซึ่งข้าพระพุทธเจ้าตามความโง่ ตามความหลง ตามอกุศล เพราะข้าพระพุทธเจ้ามีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดจะฆ่า เข้ามาถึงที่นี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดรับโทษของข้าพระพุทธเจ้านั้น โดยความ เป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไป พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เอาเถอะเจ้า โทษมาถึงเจ้าตามความโง่ ตาม ความหลง ตามอกุศล เพราะเจ้ามีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดจะฆ่า เข้ามาถึงที่นี้ เมื่อใดเจ้าเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เมื่อนั้น เรารับโทษ นั้นของเจ้า เพราะผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม ถึงความ สำรวมต่อไป ข้อนั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่บุรุษนั้น คือทรง แสดงทาน ศีล สวรรค์ และอาทีนพ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกาม ทั้งหลาย แล้วจึงทรงประกาศอานิสงส์ในการออกจากกาม เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงทราบว่า บุรุษนั้นมีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตสูงขึ้น มีจิตผ่องใส จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดง ด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความ ดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่บุรุษนั้น ณ ที่นั่นนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น ครั้งนั้น บุรุษนั้นมีธรรมอันเห็นแล้ว ได้ บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัย ได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าไม่ต้องเชื่อ ผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่ คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทางหรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่าคนมี จักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และภิกษุ สงฆ์ว่าเป็นสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งกะบุรุษนั้นว่า เจ้าอย่าไปทางนี้ จงไป ทางนี้ แล้วทรงส่งไปทางอื่น ฯ [๓๗๐] ครั้งนั้น บุรุษสองคนนั้นคิดว่า ทำไมหนอ บุรุษคนเดียวนั้น จึงมาช้านัก แล้วเดินสวนทางไป ได้พบพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ โคนไม้ แห่งหนึ่ง แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่บุรุษ ๒ คนนั้น ... พวกเขา ... ไม่ต้อง เชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธ- *เจ้าข้า ... ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองว่า เป็นอุบาสกผู้มอบ ชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งกะบุรุษทั้งสองนั้นว่า เจ้าทั้งสองอย่าไป ทางนี้ จงไปทางนี้ แล้วทรงส่งไปทางอื่น ฯ [๓๗๑] ครั้งนั้น บุรุษ ๔ คนนั้น ... ครั้งนั้น บุรุษ ๘ คนนั้น ... ครั้งนั้น บุรุษ ๑๖ คนนั้น คิดว่าทำไมหนอ บุรุษ ๘ คนนั้นจึงมาช้านัก แล้วเดินสวนทางไป ได้ไปพบพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระ- *ภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่บุรุษ ๑๖ คนนั้น คือ ทรงแสดงทาน ศีล ... พวกเขา ... ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้า- *แต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า ... ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๖ คนว่า เป็น อุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ครั้งนั้น บุรุษคนเดียวนั้นได้เข้าไปหาพระเทวทัต แล้วได้กล่าวว่า ท่าน เจ้าข้า กระผมไม่สามารถจะปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นได้ เพราะ พระองค์มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พระเทวทัตจึงกล่าวว่า อย่าเลยเจ้า อย่าปลง พระชนม์พระสมณโคดมเลย เรานี้แหละจักปลงพระชนม์พระสมณโคดม ฯพระเทวทัตทำโลหิตุปบาท [๓๗๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ ณ เขาคิชฌกูฏบรรพต ครั้งนั้น พระเทวทัตขึ้นสู่คิชฌกูฏบรรพต แล้วกลิ้งศิลาก้อนใหญ่ด้วยหมายใจว่า จักปลงพระชนม์พระสมณโคดมด้วยศิลานี้ ยอดบรรพตทั้งสองน้อมมารับศิลานั้น ไว้ สะเก็ดกระเด็นจากศิลานั้นต้องพระบาทของพระผู้มีพระภาค ทำพระโลหิตให้ ห้อขึ้นแล้ว ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแหงนขึ้นไปได้ตรัสกะพระเทวทัตว่า ดูกร โมฆบุรุษ เธอสั่งสมบาปมิใช่บุญไว้มากนัก เพราะมีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดฆ่า ยังโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้จัดเป็นอนันตริยกรรมข้อที่ ๑ ที่เทวทัตสั่งสมแล้ว เพราะเธอ มีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดฆ่า ทำโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น ภิกษุทั้งหลายได้ สดับข่าวว่า พระเทวทัตได้ประกอบการปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค ก็ภิกษุ เหล่านั้นจงกรมอยู่รอบๆ วิหารของพระผู้มีพระภาค ทำการสาธยายมีเสียงสูง เสียงดัง เพื่อรักษาคุ้มครองป้องกันพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงสดับเสียง สาธยาย มีเสียงเซงแซ่ แล้วรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ นั่นเสียง สาธยาย มีเสียงเซงแซ่ อะไรกัน ท่านอานนท์ทูลตอบว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายได้สดับข่าวว่า พระ เทวทัตได้ประกอบการปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค ก็ภิกษุเหล่านั้นจงกรมอยู่รอบ รอบวิหารของพระผู้มีพระภาคทำการสาธยายมีเสียงเซงแซ่ เพื่อรักษาคุ้มครอง ป้องกันพระผู้มีพระภาค เสียงนั้นนั่น เป็นเสียงสาธยาย มีเสียงเซงแซ่พระพุทธ เจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้ากระนั้น เธอจงเรียกภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้นมาตามคำของเราว่า พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธพจน์ แล้วเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น แจ้งให้ทราบว่า พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระอานนท์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระ ผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลจะปลงชีวิตตถาคตด้วยความ พยายามของผู้อื่นนั่น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส เพราะพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่นตรัสเรื่องศาสดา ๕ จำพวก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดา ๕ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๕ จำพวกเป็น ไฉน คือ ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่าเราเป็นผู้มี ศีลบริสุทธิ์ และว่า ศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลาย ย่อมรู้ซึ่งศาสดานั้นนั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ย่อม ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และว่า ศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่ เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ศาสดานั้นไม่พึงมีความพอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลจะพึงมี พวกเราจะพึงกล่าวกะศาสดานั้นด้วยความไม่พอ ใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือบูชาเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านจักทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรม นั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนี้โดยศีล ก็แลศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังการรักษาโดยศีลจากสาวกทั้งหลาย ฯ [๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีอาชีวะ ไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาวก ทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้นโดยอาชีวะ ก็แลศาสดาเห็นปานนั้น ย่อม หวังการรักษาโดยอาชีวะจากสาวกทั้งหลาย ฯ [๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีธรรม เทศนาไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ... ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้น โดยธรรมเทศนา ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังการรักษา โดยธรรมเทศนา จากสาวกทั้งหลาย ฯ [๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็นผู้มี ไวยากรณ์ไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ... ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้นโดยไวยากรณ์ ก็แล ศาสดา เห็นปานนั้น ย่อมหวังการรักษา โดยไวยากรณ์ จากสาวกทั้งหลาย ฯ [๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีญาณ ทัสสนะไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ และว่า ญาณ ทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่งศาสดานั้น นั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ และว่า ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี้แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ศาสดานั้นไม่พึงมีความ พอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลจะพึงมี พวกเราจะพึงกล่าวกะศาสดานั้นด้วยความ ไม่พอใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือบูชาเรา ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านจักทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรม นั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้นโดยญาณ ทัสสนะ ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังการรักษา โดยญาณทัสสนะ จาก สาวกทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดา ๕ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีศีล บริสุทธิ์ และว่า ศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง และสาวกทั้งหลาย ย่อมไม่รักษาเราโดยศีล และเราก็ย่อมไม่หวังการรักษาโดยศีล จากสาวกทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ ... ... เป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ... ... เป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ... ... เป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะ บริสุทธิ์ และว่า ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง และ สาวกทั้งหลายย่อมไม่รักษาเราโดยญาณทัสสนะ และเราก็ย่อมไม่หวังการรักษาโดย ญาณทัสสนะ จากสาวกทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลจะปลงชีวิตตถาคต ด้วยความพยายามของ ผู้อื่นนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส เพราะพระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่ปรินิพพาน ด้วยความพยายามของผู้อื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไปที่อยู่ตามเดิม พระตถาคตทั้งหลายอัน พวกเธอไม่ต้องรักษา ฯเนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๓๔๙๓ - ๓๖๙๖. หน้าที่ ๑๔๕ - ๑๕๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=3493&Z=3696&pagebreak=0 อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=50 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=366 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=7&A=3545 อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=7&A=3545 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_7
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]