ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
บทภาชนีย์
มาติกา
[๑๘๗] ทำเอง ยืนอยู่ใกล้ สั่งทูต สั่งทูตต่อ ทูตไม่สามารถ ทูตไปแล้วกลับมา ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ลับ ที่ลับ สำคัญว่าที่ไม่ลับ ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ไม่ลับ ที่ลับ สำคัญว่าที่ลับ พรรณนาด้วยกาย พรรณนาด้วยวาจา พรรณนาด้วยกายและวาจา พรรณนาด้วยทูต พรรณนาด้วยหนังสือ หลุมพราง วัตถุที่พิง การลอบวาง เภสัช การนำรูปเข้าไป การนำเสียงเข้าไป การนำกลิ่นเข้าไป การนำรสเข้าไป การนำโผฏฐัพพะเข้าไป การนำธรรมารมณ์เข้าไป กิริยาที่บอก การแนะนำ การนัดหมาย การทำนิมิต.
มาติกาวิภังค์
สาหัตถิกประโยค ทำเอง
[๑๘๘] คำว่า ทำเอง คือฆ่าเองด้วยกาย ด้วยเครื่องประหาร ที่เนื่องด้วยกาย หรือ- *ด้วยเครื่องที่ประหารซัดไป
ยืนอยู่ใกล้
คำว่า ยืนอยู่ใกล้ คือยืนสั่งอยู่ ณ ที่ใกล้ว่า จงยิงอย่างนี้ จงประหารอย่างนี้ จงฆ่า- *อย่างนี้.
อาณัตติกประโยค สั่งทูต
[๑๘๙] ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง เข้าใจว่าบุคคลนั้นแน่ จึงปลงชีวิตบุคคลนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง เข้าใจ ว่าบุคคลนั้นแน่ แต่ปลงชีวิตบุคคลอื่น ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง เข้า ใจว่าบุคคลอื่น แต่ปลงชีวิตบุคคลชื่อนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง เข้าใจ ว่าบุคคลอื่น และปลงชีวิตบุคคลอื่น ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก.
สั่งทูตต่อ
[๑๙๐] ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไปบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง บอกแก่ภิกษุนอกนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ฆ่ารับคำ ภิกษุผู้สั่งเดิม ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุผู้ฆ่า ปลงชีวิตบุคคล นั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิกทุกรูป ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไปบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อ นี้จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง สั่งภิกษุรูปอื่นต่อ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุผู้มารับคำ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ฆ่า ปลงชีวิตบุคคลนั้นสำเร็จ ภิกษุผู้สั่งเดิม ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้รับคำสั่ง และภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก.
ทูตไม่สามารถ
[๑๙๑] ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง ไปแล้วกลับมาบอกอีกว่า ผมไม่สามารถปลงชีวิตเขาได้ ภิกษุผู้สั่ง สั่งใหม่ว่า ท่านสามารถเมื่อใด จงปลงชีวิตเขาเสียเมื่อนั้น ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งปลงชีวิตบุคคลนั้นสำเร็จ ต้อง- *อาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป.
ทูตไปแล้วกลับมา
[๑๙๒] ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ครั้นภิกษุนั้น สั่งภิกษุนั้นแล้ว มีความร้อนใจ แต่พูดไม่ให้ได้ยินว่า อย่าฆ่า ภิกษุผู้รับคำสั่งปลงชีวิตบุคคลนั้น สำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ครั้นภิกษุนั้นสั่งภิกษุ- *นั้นแล้ว มีความร้อนใจ พูดให้ได้ยินว่า อย่าฆ่าเลย ภิกษุผู้รับคำสั่งกลับพูดว่า ท่านสั่งผมแล้ว จึงปลงชีวิตบุคคลชื่อนั้นเสีย ภิกษุผู้สั่งเดิม ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ครั้นภิกษุนั้น สั่งภิกษุ นั้นแล้ว มีความร้อนใจ พูดให้ได้ยินว่า อย่าฆ่าเลย ภิกษุผู้รับคำสั่ง รับคำว่าดีแล้ว งดเสีย ไม่ต้องอาบัติทั้ง ๒ รูป
ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ลับ
[๑๙๓] ที่ไม่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ลับ พูดขึ้นว่า ทำอย่างไรหนอ บุคคลชื่อนี้พึงถูกฆ่า ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ที่ลับ สำคัญว่าที่ไม่ลับ
ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ไม่ลับ พูดขึ้นว่า ทำอย่างไรหนอ บุคคลชื่อนี้พึงถูกฆ่า ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ไม่ลับ
ที่ไม่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ไม่ลับ พูดขึ้นว่าทำอย่างไรหนอ บุคคลชื่อนี้ พึงถูกฆ่า ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ที่ลับ สำคัญว่าที่ลับ
ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ลับ พูดขึ้นว่า ทำอย่างไรหนอ บุคคลชื่อนี้พึงถูกฆ่า ดังนี้ ต้อง อาบัติทุกกฏ
พรรณนาด้วยกาย
[๑๙๔] ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยกาย ได้แก่ภิกษุทำกายวิการว่า ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้น จะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการพรรณนานั้น ผู้ใดผู้หนึ่งคิดว่า เราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติปาราชิก
พรรณนาด้วยวาจา
ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยวาจา ได้แก่ ภิกษุกล่าวด้วยวาจาว่า ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะ- *ได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการพรรณนานั้น ผู้ใดผู้หนึ่งคิด- *ว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุผู้พรรณนาต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติปาราชิก
พรรณนาด้วยกายและวาจา
ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยกายและวาจา อธิบายว่าภิกษุทำวิการด้วยกายก็ดี กล่าวด้วยวาจาก็ดีว่า ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการพรรณนา นั้น ผู้ใดผู้หนึ่งคิดว่า เราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติปาราชิก.
พรรณนาด้วยทูต
[๑๙๕] ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยทูต ได้แก่ภิกษุสั่งทูตไปว่า ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้ใดผู้หนึ่งผู้ได้ทราบคำบอกของทูตแล้ว- *คิดว่า เราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุพรรณนา ต้องอาบัติปาราชิก
พรรณนาด้วยหนังสือ
ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยหนังสือ ได้แก่ภิกษุเขียนหนังสือไว้ว่า ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ ตัวอักษร ผู้ใดผู้หนึ่งเห็นหนังสือแล้ว คิดว่า เราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุผู้เขียน ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุ- *ผู้เขียน ต้องอาบัติปาราชิกฯ
หลุมพราง
[๑๙๖] ที่ชื่อว่า หลุมพราง ได้แก่ภิกษุขุดหลุมพรางเจาะจงมนุษย์ไว้ว่า เขาจักตกตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งตกลงไปแล้วได้รับทุกขเวทนา ภิกษุผู้ขุด ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุผู้ขุดต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุขุดหลุมพรางไว้มิได้เจาะจงว่า ผู้ใดผู้หนึ่งจักตกตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ มนุษย์ตกลงไปในหลุมพรางนั้น ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาตกลงไป แล้วได้รับทุกขเวทนา ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ยักษ์ก็ดี เปรตก็ดี สัตว์ดิรัจฉานแปลงเพศเป็นมนุษย์ก็ดี ตกลงไปในหลุมพรางนั้น ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อมันตกลงไปแล้วได้รับความทุกขเวทนา ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ มันตาย ภิกษุต้องอาบัติ ถุลลัจจัย สัตว์ดิรัจฉานตกลงไปในหลุมพรางนั้น ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อมันตกลงไปแล้วได้รับ ทุกขเวทนา ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ มันตาย ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์.
วัตถุที่พิง
[๑๙๗] ที่ชื่อว่า วัตถุที่พิง ได้แก่ภิกษุวางศัสตราไว้ในที่สำหรับพิงก็ดี ทายาพิษไว้ก็ดี ทำให้ชำรุดก็ดี วางไว้ริมบ่อ เหวหรือที่ชัน ด้วยหมายใจว่า บุคคลจักตกตายด้วยวิธีนี้ ดังนี้ก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ เขาได้รับทุกขเวทนา เพราะต้องศัสตรา ถูกยาพิษ หรือตกลงไป ภิกษุต้อง อาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
การลอบวาง
[๑๙๘] ที่ชื่อว่า การลอบวาง ได้แก่ภิกษุวางดาบ หอก ฉมวก หลาว ไม้ค้อน หิน มีด ยาพิษ หรือเชือกไว้ใกล้ๆ ด้วยตั้งใจว่า บุคคลจักตายด้วยของสิ่งนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาคิดว่า เราจักตายด้วยของสิ่งนั้น แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
เภสัช
[๑๙๙] ที่ชื่อว่า เภสัช ได้แก่ภิกษุให้เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย ด้วยตั้ง ใจว่า เขาลิ้มเภสัชนี้แล้วจักตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาลิ้มเภสัชนั้นแล้ว ได้รับทุกขเวทนา ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
การนำรูปเข้าไป
[๒๐๐] ที่ชื่อว่า การนำรูปเข้าไป ได้แก่ภิกษุนำรูปซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ น่ากลัว น่า- *หวาดเสียวเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาเห็นรูปนี้แล้วจักตกใจตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เข้าเห็นรูป นั้นแล้วตกใจ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนำรูปซึ่งเป็นที่ชอบใจ น่ารัก น่าจับใจเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาเห็นรูปนี้แล้ว จักซูบ ผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาเห็นรูปนั้นแล้ว ซูปผอม เพราะหาไม่ได้ ภิกษุ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
การนำเสียงเข้าไป
ที่ชื่อว่า การนำเสียงเข้าไป ได้แก่ภิกษุนำเสียงซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ น่ากลัว น่าหวาด เสียวเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาได้ยินเสียงนี้แล้ว จักตกใจตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขา ได้ยินเสียงนั้นแล้วตกใจ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนำเสียงซึ่งเป็นที่ชอบใจ น่ารัก น่าจับใจเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาได้ยินเสียงนี้ แล้ว จักซูบผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาได้ยินเสียงนั้นแล้วซูบผอม เพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
การนำกลิ่นเข้าไป
ที่ชื่อว่า การนำกลิ่นเข้าไป ได้แก่ภิกษุนำกลิ่นซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ น่าเกลียด น่าปฏิกูล เข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาสูดกลิ่นนี้แล้ว จักตาย เพราะเกลียด เพราะปฏิกูล ดังนี้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ เมื่อเขาสูดกลิ่นนั้นแล้ว ได้รับทุกขเวทนา เพราะเกลียด เพราะปฏิกูล ภิกษุต้องอาบัติ ถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนำกลิ่นซึ่งเป็นที่ชูใจเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาสูดกลิ่นนี้แล้วจะซูบผอมตาย เพราะ หาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาสูบกลิ่นนั้นแล้วซูบผอมเพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติ ถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
การนำรสเข้าไป
ที่ชื่อว่า การนำรสเข้าไป ได้แก่ภิกษุนำรสซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ น่าเกลียด น่าปฏิกูล เข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาลิ้มรสนี้แล้วจักตาย เพราะเกลียด เพราะปฏิกูล ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาลิ้มรสนั้นแล้วได้รับทุกขเวทนา เพราะเกลียด เพราะปฏิกูล ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนำรสซึ่งเป็นที่ชอบใจเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาลิ้มรสนี้แล้วจะซูบผอม เพราะหา ไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาลิ้มรสนั้นแล้วซูบผอม เพราะหาไม่ได้อีกแล้ว ภิกษุต้องอาบัติ ถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
การนำโผฏฐัพพะเข้าไป
ที่ชื่อว่า การนำโผฏฐัพพะเข้าไป ได้แก่ภิกษุนำโผฏฐัพพะ ซึ่งไม่เป็นที่พอใจ มีสัมผัส ไม่สบายและกระด้างเข้าไปด้วยตั้งใจว่า เขาถูกต้องสิ่งนี้เข้าแล้วจักตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อ เขาถูกต้องสิ่งนั้นเข้า ได้รับทุกขเวทนา ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนำโผฏฐัพพะซึ่งเป็นที่ชอบใจ มีสัมผัสสบาย และอ่อนนุ่มเข้าไปด้วยตั้งใจว่า เขา ถูกสิ่งนี้แล้ว จักซูบผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาถูกต้องสิ่งนั้นเข้าแล้ว ซูบผอม เพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
การนำธรรมารมณ์เข้าไป
ที่ชื่อว่า การนำธรรมารมณ์เข้าไป ได้แก่ภิกษุแสดงเรื่องนรกแก่คนผู้ควรเกิดในนรก ด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเรื่องนรกนี้แล้ว จักตกใจตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาฟังเรื่องนรกนั้น แล้วตกใจ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก. ภิกษุแสดงเรื่องสวรรค์แก่คนผู้ทำความดีด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเรื่องสวรรค์นี้แล้ว จักน้อม ใจตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาฟังเรื่องสวรรค์นั้นแล้วคิดว่าเราจักน้อมใจตาย แล้วยังทุกข- *เวทนาให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
กิริยาที่บอก
[๒๐๑] ที่ชื่อว่า กิริยาที่บอก ได้แก่ภิกษุถูกเขาถาม แล้วบอกว่าจงตายอย่างนี้ ผู้ใด ตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการบอก นั้น เขาคิดว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้อง อาบัติปาราชิก
การแนะนำ
ที่ชื่อว่า การแนะนำ ได้แก่ภิกษุอันเขาไม่ได้ถาม แต่แนะนำว่า จงตายอย่างนี้ ผู้ใด ตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการแนะนำนั้น เขาคิดว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติ ปาราชิก.
การนัดหมาย
[๒๐๒] ที่ชื่อว่า การนัดหมาย ได้แก่ภิกษุทำการนัดหมายว่า จงปลงชีวิตเขาเสียตาม คำนัดหมายนั้น ในเวลาเช้าหรือในเวลาเย็น ในเวลากลางคืนหรือกลางวัน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการนัดหมายนั้น ภิกษุผู้รับคำสั่งปลงชีวิตเขาสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ปลงชีวิต เขาได้ก่อนหรือหลังคำนัดหมายนั้น ภิกษุผู้สั่งเดิม ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก
การทำนิมิต
ที่ชื่อว่า การทำนิมิต ได้แก่ภิกษุทำนิมิตว่า ผมจักขยิบตา ยักคิ้ว หรือผงกศีรษะ ท่าน จงปลงชีวิตเขาตามนิมิตนั้น ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่ง ปลงชีวิตเขาสำเร็จตามนิมิตนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ปลงชีวิตเขาก่อนหรือหลังนิมิตนั้น ภิกษุผู้สั่งเดิม ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๗๖๗๓-๗๘๕๑ หน้าที่ ๒๙๗-๓๐๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=7673&Z=7851&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=1&siri=24              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=187              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [187-202] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=1&item=187&items=16              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=1&A=11370              The Pali Tipitaka in Roman :- [187-202] https://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=1&item=187&items=16              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=1&A=11370              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pj3/en/brahmali#pli-tv-bu-vb-pj3:4.1.0.1

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :