ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก
[๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุชื่อสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร (บุตรชาวประมง) มีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไปไม่ใช่อื่น. ภิกษุมากรูปด้วยกันได้ฟังว่า ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น จึงเข้าไปหาสาติภิกษุแล้ว ถามว่า ดูกรท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อม ท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ? เธอตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่นดังนี้ จริง. ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นจึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนว่า ดูกรท่านสาติ ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูกรท่านสาติ วิญญาณอาศัย ปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี. ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร อันภิกษุเหล่านั้น ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่อย่างนี้ ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง กล่าวอยู่ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่ อื่น ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลายไม่อาจเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิ
[๔๔๑] เมื่อภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มี พระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ครั้งนั้น พวก ข้าพระองค์เข้าไปหาสาติภิกษุแล้วถามว่า ดูกรท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่อง- *เที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ? เมื่อพวกข้าพระองค์ถามอย่างนี้ สาติภิกษุได้บอกพวก ข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง ในลำดับนั้น พวกข้าพระองค์ ปรารถนาจะปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนว่า ดูกรท่าน สาติ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดี เลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูกรท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิด ขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุอันพวกข้าพระองค์ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่ แม้อย่างนี้ ก็ยัง ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง กล่าวอยู่ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึง ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกข้าพระองค์ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามก นั้น จึงมากราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค. [๔๔๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอจง มา เธอจงเรียกสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร ตามคำของเราว่า ดูกรท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หา ท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงเข้าไปหาสาติภิกษุ แล้วบอกว่า ดูกรท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน. สาติภิกษุรับคำภิกษุนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ? สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร? สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า ดูกรโมฆ- *บุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความ เกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดูกรโมฆบุรุษ ก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.
ตรัสสอบถามเรื่องสาติภิกษุผู้มีความเห็นผิดนั้น
[๔๔๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรนี้ จะเป็นผู้ทำความเจริญในพระธรรมวินัยนี้บ้าง หรือไม่? ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้จะมีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า. เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร นั่งนิ่ง กระดาก คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร มีความเป็นดังนั้นแล้ว จึงตรัสกะเธอว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกของตนนั้น เราจักสอบถามภิกษุ ทั้งหลายในที่นี้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเหมือนสาติภิกษุ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาป มิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดังนี้หรือ? ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า เพราะวิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกัน เกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแก่พวกข้าพระองค์ โดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดีละ พวกเธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงอย่างนี้ ถูกแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้นเรากล่าวแล้ว โดยปริยายเป็น เอนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี ก็แต่สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรนี้ กล่าวตู่เรา ด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ความเห็นนั้น ของโมฆบุรุษนั้น จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.
ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ
[๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุ วิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ วิญญาณ อาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรส ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ ไฟอาศัยไม้ ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟไม้ ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหญ้า ไฟอาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟโคมัย ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟแกลบ ไฟอาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหยากเยื่อ ฉันใด ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตและ เสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ วิญญาณอาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ. [๔๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมเห็นขันธปัญจกที่เกิดแล้วหรือไม่? ภ. เห็นพระพุทธเจ้าข้า. พ. เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า ขันธปัญจกนั้นเกิดเพราะอาหารหรือ? ภ. เห็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า ขันธปัญจกนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่ง อาหารนั้นหรือ? ภ. เห็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น เพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจกนี้ มีหรือหนอ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น เพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจกเกิดเพราะอาหารนั้น หรือหนอ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น เพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจกนั้น มีความดับเป็น ธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น หรือหนอ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดแล้ว ย่อมละ ความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้หรือ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกเกิดเพราะอาหารนั้น ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้หรือ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนั้น มีความดับ เป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้หรือ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกนี้เกิดแล้ว แม้ดังนี้หรือ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกเกิดเพราะอาหารนั้น แม้ดังนี้หรือ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะ ความดับแห่งอาหารนั้น แม้ดังนี้หรือ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดแล้ว ดังนี้หรือ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกเกิด เพราะอาหารนั้น ดังนี้หรือ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนั้น มีความ ดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ดังนี้หรือ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. หากว่า เธอทั้งหลาย พึงติดอยู่ เพลินอยู่ ปรารถนาอยู่ ยึดถือเป็นของเราอยู่ ซึ่งทิฏฐินี้อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ (ด้วยตัณหาและทิฏฐิ) เธอทั้งหลายพึงรู้ทั่วถึงธรรมที่เปรียบด้วย ทุ่น อันเราแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันสลัดออกมิใช่แสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันถือไว้ บ้างหรือหนอ? ภ. ข้อนี้ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. หากว่า เธอทั้งหลาย ไม่ติดอยู่ ไม่เพลินอยู่ ไม่ปรารถนาอยู่ ไม่ยึดถือเป็นของเรา อยู่ ซึ่งทิฏฐิอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงรู้ธรรมที่เปรียบด้วยทุ่นอันเราแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันสลัดออก ไม่ใช่แสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันถือไว้ บ้างหรือหนอ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ปัจจัยแห่งความเกิด
[๔๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความ ตั้งอยู่แห่งเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วบ้าง เพื่อความอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ที่แสวงหาภพที่เกิดบ้าง อาหาร ๔ อย่าง เป็นไฉน? อาหาร ๔ อย่าง คือ กวฬิงการาหาร อันหยาบ หรือละเอียด (เป็นที่ ๑) ผัสสาหารเป็นที่ ๒ มโนสัญเจตนาหารเป็นที่ ๓ วิญญาณาหารเป็นที่ ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? อาหาร ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหาเป็นชาติ มีตัณหาเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ตัณหานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? ตัณหา มีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นชาติ มีเวทนาเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร เป็นแดนเกิด? เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะเป็นชาติ มีผัสสะเป็น แดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นสมุทัย มีสฬายตนะเป็นชาติ มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นสมุทัย มีนาม รูปเป็นชาติ มีนามรูปเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร เป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? นามรูป มีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณ เป็นสมุทัย มีวิญญาณเป็นชาติ มีวิญญาณเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้ มีอะไร เป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? วิญญาณ มีสังขารเป็น เหตุ มีสังขารเป็นสมุทัย มีสังขารเป็นชาติ มีสังขารเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขาร ทั้งหลายนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? สังขาร ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นชาติ มีอวิชชาเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะมี เพราะ สฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนามี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ด้วยประการ ฉะนี้แล ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้. [๔๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ข้อว่า ชราและมรณะมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ดังนี้ นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัยนั่นแล ชราและมรณะจึงมี ใน ข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร? ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา และมรณะจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล. พ. ก็ข้อว่า ชาติมี เพราะภพเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะภพเป็นปัจจัยนั่นแล ชาติจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่าง นี้แล. พ. ก็ข้อว่า ภพมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยนั้นแล ภพจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น อย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง นี้แล. พ. ก็ข้อว่า อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะตัณหาเป็นปัจจัยนั่นแล อุปาทานจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น อย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ในข้อนี้มีความเป็น อย่างนี้แล. พ. ก็ข้อว่า ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะเวทนาเป็นปัจจัยนั้นแล ตัณหาจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น อย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็น อย่างนี้แล. พ. ก็ข้อว่า เวทนามี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะผัสสะเป็นปัจจัยนั่นแล เวทนาจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร? ภ. ข้าแต่พระผู้เจริญ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง นี้แล. พ. ก็ข้อว่า ผัสสะมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยนั่นแล ผัสสะจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น อย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ในข้อนี้ มีความ เป็นอย่างนี้แล. พ. ก็ข้อว่า สฬายตนะมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั่นแล สฬายตนะจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น อย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ในข้อนี้ มีความ เป็นอย่างนี้แล. พ. ก็ข้อว่า นามรูปมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนั่นแล นามรูปจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น อย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ในข้อนี้ มีความ เป็นอย่างนี้แล. พ. ก็ข้อว่า วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะสังขารเป็นปัจจัยนั่นแล วิญญาณจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น อย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ในข้อนี้มีความเป็น อย่างนี้แล. พ. ก็ข้อว่า สังขารมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว เพราะอวิชชา เป็นปัจจัยนั่นแล สังขารจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็น อย่างนี้แล. [๔๔๘] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้ เราก็กล่าวอย่างนั้น เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น คือ เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นาม รูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น ปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดแห่งกอง ทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้.
ปัจจัยแห่งความดับ
เพราะอวิชชาดับหมดมิได้เหลือ สังขารก็ดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้. [๔๔๙] ก็ข้อว่า เพราะชาติดับ ชรา มรณะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติดับนั่นแล ชรา มรณะจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ ก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็น อย่างนี้แล. พ. ก็ข้อว่า เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะภพดับนั่นแล ชาติจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล. พ. ก็ข้อว่า เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอุปาทานดับนั่นแล ภพจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล. พ. ก็ข้อว่า เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตัณหาดับนั่นแล อุปาทานจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็น อย่างนี้แล. พ. ก็ข้อว่า เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะผัสสะดับนั่นแล เวทนาจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล. พ. ก็ข้อว่า เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะสฬายตนะดับนั่นแล ผัสสะจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง นี้แล. พ. ก็ข้อว่า เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะนามรูปดับนั่นแล สฬายตนะจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็น อย่างนี้แล. พ. ก็ข้อว่า เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะวิญญาณดับนั่นแล นามรูปจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง นี้แล. พ. ก็ข้อว่า เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะสังขารดับนั่นแล วิญญาณจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล. พ. ก็ข้อว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาดับนั่นแล สังขารจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร? ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง นี้แล. [๔๕๐] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนี้ แม้เราก็กล่าว อย่างนี้ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติ ดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้.
ว่าด้วยธรรมคุณ
[๔๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงแล่นไปสู่ส่วนเบื้องต้นว่า ในอดีตกาล เราได้มีแล้ว หรือว่า ไม่ได้มีแล้ว เราได้เป็นอะไรแล้ว หรือว่าเราได้เป็นแล้ว อย่างไร หรือเราได้เป็นอะไรแล้ว จึงเป็นอะไร ดังนี้บ้างหรือไม่? ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงแล่นไปสู่ส่วนเบื้องปลายว่า ใน อนาคตกาล เราจักมี หรือว่าจักไม่มี เราจักเป็นอะไร หรือว่าเราจักเป็นอย่างไร หรือเราจัก เป็นอะไรแล้ว จึงจักเป็นอะไร ดังนี้บ้างหรือไม่? ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ปรารภถึงปัจจุบันกาล ในบัดนี้ ยัง สงสัยขันธ์เป็นภายในว่า เราย่อมมี หรือว่าเราย่อมไม่มี เราย่อมเป็นอะไร หรือว่าเราย่อม เป็นอย่างไร สัตว์นี้มาแล้วจากไหน สัตว์นั้นจักไป ณ ที่ไหน ดังนี้บ้างหรือไม่? ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระศาสดาเป็นครู ของพวกเรา พวกเราต้องกล่าวอย่างนี้ ด้วยความเคารพต่อพระศาสดาเท่านั้น ดังนี้บ้างหรือไม่? ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงกล่าวว่า พระสมณะตรัสอย่างนี้ พระสมณะทั้งหลายและพวกเรา ย่อมไม่กล่าวอย่างนี้ ดังนี้บ้างหรือไม่? ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จะพึงยกย่องศาสดาอื่น ดังนี้บ้าง หรือไม่? ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงเชื่อถือสมาทานวัตรความตื่นเพราะ ทิฏฐิ และทิฏฐาทิมงคล ของพวกสมณะและพราหมณ์เป็นอันมาก ดังนี้บ้างหรือไม่? ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่พวกเธอรู้เห็นทราบเองแล้ว พวกเธอพึงกล่าวถึงสิ่งนั้น มิใช่หรือ? ภ. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้นถูกละ พวกเธออันเรานำเข้าไปแล้ว ด้วยธรรมนี้ อันเห็นได้ด้วยตนเอง ซึ่งให้ผลไม่มีกาลคั่น ควรเรียกให้มาชม ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึง รู้ได้เฉพาะตน คำที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ อันเห็นได้ด้วยตนเอง ให้ผลไม่มี กาลคั่น ควรเรียกให้มาชม ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ เราอาศัยความ ข้อนี้กล่าวแล้ว.
เหตุแห่งการเกิดในครรภ์
[๔๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการ ความเกิด แห่งทารกก็มี ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน แต่มารดายังไม่มีระดู และทารกที่จะมาเกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามี ระดู แต่ทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดมารดาบิดาอยู่ร่วมกันด้วย มารดามีระดูด้วย ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย เพราะความ ประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความเกิดแห่งทารกจึงมี ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารดา ย่อมรักษาทารกนั้นด้วยท้องเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง เมื่อล่วงไปเก้าเดือน หรือสิบเดือน มารดาก็คลอดทารกผู้เป็นภาระหนักนั้น ด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก และเลี้ยงทารกผู้เป็นภาระหนัก นั้นซึ่งเกิดแล้ว ด้วยโลหิตของตนด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก. [๔๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย น้ำนมของมารดานับเป็นโลหิตในอริยวินัย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กุมารนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ย่อมเล่นด้วยเครื่องเล่น สำหรับกุมาร คือ ไถเล็ก ตีไม้หึ่ง หกขะเมน จังหัน ตวงทราย รถเล็ก ธนูเล็ก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย พรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ คือ รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่รู้แจ้งด้วย ฆานะ ... รสที่รู้แจ้งด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก กุมารนั้น เห็นรูปด้วยจักษุ แล้ว ย่อมกำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่า อกุศลธรรมอันลามก ตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้ เสวยเวทนา อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ กุมารนั้น ได้ยินเสียงด้วย โสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วย ใจแล้ว ย่อมกำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติใน กายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมด แห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้ เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดีมิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิด เพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้.
ว่าด้วยพุทธคุณ
[๔๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่น ยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ตถาคต นั้น ทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้ว สอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม แสดงธรรมงามในเบื้อง ต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดภายหลัง ในสกุลใดสกุลหนึ่ง ย่อมฟังธรรม นั้น ครั้นฟังธรรมแล้ว ได้ศรัทธาในตถาคต เมื่อได้ศรัทธานั้นแล้ว ย่อมตระหนักว่า ฆราวาส คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติ พรหมจรรย์ ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่เขาขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกอง โภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออก บวชเป็นบรรพชิต.
ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ
[๔๕๕] เมื่อเขาบวชแล้ว ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลาย ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์วางทัณฑะ วางศาตราแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวัง ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่. ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่. ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจาก เมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน. ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก. ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากการส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อ ทำลายข้างนี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายข้างโน้น สมานคน ที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดี ในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อม เพรียงกัน. ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง อันคนส่วนมากใคร่ พอใจ. ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิง อรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วย ประโยชน์ โดยกาลอันควร. เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม. ฉันหนเดียว เว้นจากการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล. เว้นขาดจากการทัดทรงประดับและตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประ- *เทืองผิวอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว. เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี. เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส. เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา. เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้. เว้นขาดจากการซื้อและการขาย. เว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง. เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และการกรรโชก. ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหาร ท้อง จะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีก จะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของ ของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วย บิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง. ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่มีโทษในภายใน. ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์. ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม มนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์. ภิกษุนั้นประกอบด้วยอินทรียสังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลส ในภายใน. ภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการ คู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง.
การชำระจิต
[๔๕๖] ภิกษุนั้น ประกอบด้วยศีลขันธ์อินทรียสังวร และสติสัมปชัญญะ อันเป็น อริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง. เธอกลับจากบิณฑบาต ในกาลภายหลังภัตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า. เธอละความเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้. ละความประทุษร้ายคือพยาบาทแล้ว ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ พยาบาทได้. ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้. ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้. ละวิจิกิจฉาได้ แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากวิกิจฉาได้. [๔๕๗] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตอันเป็นเครื่อง ทำปัญญาให้ถอยได้แล้วกำลัง สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มี ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุด ขึ้น เพราะวิตกและวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. บรรลุ ตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน.
ความดับอกุศลธรรม
[๔๕๘] ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูป ที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง. เธอละความยินดียินร้าย อย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็ดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทาน ก็ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้. ภิกษุนั้น ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมไม่ ขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบ ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง. เธอละ ความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่ สุขก็ดีก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้ง หลายก็ดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทรงจำตัณหาสังขยวิมุตติโดยย่อของเรานี้ อนึ่ง พวกเธอจงทรงจำสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรว่า เป็นผู้สวมอยู่ในข่ายตัณหา และกองตัณหาใหญ่ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
จบ มหาตัณหาสังขยสูตร ที่ ๘
-----------------------------------------------------
๙. มหาอัสสปุรสูตร
ว่าด้วยธรรมทำความเป็นสมณพราหมณ์
[๔๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่อัสสปุรนิคมของหมู่อังคราชกุมาร ในอังคชนบท. ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประชุมชนย่อมรู้จักพวกเธอว่าสมณะๆ ก็แหละพวกเธอ เมื่อเขาถามว่า ท่านทั้งหลายเป็นอะไร ก็ปฏิญญา (รับ) ว่า พวกเราเป็นสมณะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเธอนั้นมีชื่ออย่างนี้ มีปฏิญญาอย่างนี้แล้ว ก็ควรศึกษาอยู่ว่า เรา ทั้งหลายจักสมาทานประพฤติธรรม เป็นเครื่องทำความเป็นสมณะด้วย เป็นเครื่องทำความเป็น พราหมณ์ด้วย เมื่อพวกเราปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ชื่อและปฏิญญานี้ของพวกเรา ก็จักเป็นความจริงแท้ ใช่แต่เท่านั้น พวกเราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของทายก เหล่าใด ปัจจัยทั้งหลายนั้น ของทายกเหล่านั้น ก็จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ในเพราะพวกเรา อีกอย่างหนึ่งเล่า บรรพชานี้ของพวกเรา ก็จักไม่เป็นหมัน จักมีผล มีความเจริญ. [๔๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นเครื่องทำความเป็นสมณะ และเป็นเครื่อง ทำความเป็นพราหมณ์ เป็นอย่างไร? พวกเธอควรศึกษาอยู่ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบด้วย หิริและโอตตัปปะ. บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ แล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะ (มรรค ผล นิพพาน) พวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจ เพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไป ยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย. [๔๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร? พวกเธอควรศึกษา อยู่ว่า เราทั้งหลายจักมีกายสมาจารบริสุทธิ์ ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่องและคอยระวัง จักไม่ ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความเป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์นั้น บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจารบริสุทธิ์แล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่ เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนา อย่าได้เสื่อมไป เสียเลย. [๔๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร? พวกเธอควร ศึกษาอยู่ว่า เราทั้งหลายจักมีวจีสมาจารบริสุทธิ์ ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่อง และคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์นั้น. บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจารและวจีสมาจารบริสุทธิ์แล้ว ด้วยกิจ เพียงเท่านี้พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนา อย่าได้เสื่อมไปเสียเลย. [๔๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร? พวกเธอควรศึกษา อยู่ว่า เราทั้งหลายจักมีมโนสมาจารบริสุทธิ์ ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่อง และคอยระวัง จักไม่ ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความเป็นผู้มีมโนสมาจารบริสุทธิ์นั้น. บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวก เราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร และมโนสมาจารบริสุทธิ์ แล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจ อะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอ ทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอ ปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย. [๔๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร? พวกเธอควรศึกษา อยู่ว่า เราทั้งหลายจักมีอาชีวะบริสุทธิ์ ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่อง และคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์นั้น. บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร และอาชีวะบริสุทธิ์แล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนา อย่าได้เสื่อมไปเสียเลย. [๔๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร? พวกเธอควรศึกษา อยู่ว่า เราทั้งหลายจักมีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดย นิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ จักปฏิบัติเพื่อสำรวม จักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็น เหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ทั้งหลาย ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์. ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว จักไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุ พยัญชนะ จักปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอัน ลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ถึงความสำรวมในมนินทรีย์. บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะบริสุทธิ์แล้ว และเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้ มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมเสียไปเลย. [๔๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร? พวกเธอควรศึกษา อยู่ว่า เราทั้งหลายจักรู้จักประมาณในโภชนะ จักพิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนอาหาร จักไม่กลืน เพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อตบแต่ง เพื่อประดับ จักกลืนเพียงเพื่อให้กายนั้นตั้งอยู่ เป็นไป ห่างไกลจากความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์เท่านั้น และจะบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น และจักให้มีความดำเนินไป ความไม่มีโทษ ความอยู่สบาย ด้วยประการ ฉะนี้. บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกาย สมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะบริสุทธิ์ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ ทั้งหลาย และรู้จักประมาณในโภชนะแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทำสำเร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดี ด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจควรทำให้ ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเลย. [๔๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร? พวกเธอควรศึกษา อยู่ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น จักชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม อันเป็นเครื่องกีดกั้น ด้วยการจงกรม และการนั่งตลอดวัน จักชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอัน เป็นเครื่องกีดกั้น ด้วยการจงกรม และการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี จักสำเร็จการนอนดัง ราชสีห์โดยเบื้องขวา ซ้อนเท้า เหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำไว้ในใจถึงความสำคัญในอัน ลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว จักชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่อง กีดกั้นด้วยการจงกรม และการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี. บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะ บริสุทธิ์แล้ว เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย และรู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่นแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้ว โดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำได้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความ ยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควร ทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย. [๔๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร? พวกเธอควรศึกษา อยู่ว่า เราทั้งหลายจักประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง. บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเรา เป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะบริสุทธิ์แล้ว เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเรา ทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย. [๔๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ถ้ำ ซอกเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง. เธอกลับจากบิณฑบาต ในการภายหลังแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้ เฉพาะหน้า. เธอละความเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้. ละความประทุษร้ายคือพยาบาทแล้ว ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาทได้. ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความสำคัญ หมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติ สัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้. ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้. ละวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก วิจิกิจฉาได้.
ว่าด้วยการละนิวรณ์ ๕
[๔๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงกู้หนี้ไปประกอบการงาน การงาน เหล่านั้นของเขาจะพึงสำเร็จผล. เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น และทรัพย์ที่เป็นกำ ไรของเขาจะพึงมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภรรยา. เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เรากู้ หนี้ไปประกอบการงาน บัดนี้ การงานของเราสำเร็จผลแล้ว เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้ หมดสิ้นแล้ว และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเรายังมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภรรยา ดังนี้. เขาจะพึงได้ความ ปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลำบาก เจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย. สมัยต่อมา เขาพึงหายจากอาพาธนั้น บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกาย. เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลำบาก เจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย บัดนี้ เราหายจากอาพาธนั้นแล้ว บริโภค อาหารได้และมีกำลังกาย ดังนี้. เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีโรค นั้นเป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ. สมัยต่อมา เขาพึง พ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดี ไม่มีภัย และไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย. เขาจะพึงมีความคิดเห็น อย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ บัดนี้ เราพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดี ไม่มีภัย แล้ว และไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้. เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มี การพ้นจากเรือนจำนั้นเป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไป ไหนตามความพอใจไม่ได้. สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากความเป็นทาสนั้น พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้อง พึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ. เขาพึงจะมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ บัดนี้ เราพ้นจาก ความเป็นทาสนั้นแล้ว พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ ดังนี้. เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความเป็นไทยแก่ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษมีทรัพย์ มีโภคสมบัติ จะพึงเดินทางไกลกันดาร. สมัยต่อมา เขาพึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้ โดยสวัสดี ไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย. เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติ เดินทางไกลกันดาร บัดนี้ เราข้ามพ้นทางกันดารนั้นแล้ว โดยสวัสดี ไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้. ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ ที่ยังละไม่ได้ในตน เหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร. และพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความ ไม่มีโรค เหมือนการพ้นจากเรือนจำ เหมือนความเป็นไทยแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล.
ว่าด้วยฌาน ๔
[๔๗๑] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต อันเป็น เครื่องทำปัญญาให้ถอยกำลังได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแก่วิเวกอยู่. เธอทำกายนี้แล ให้ชุ่มชื่น อิ่มเอิบ ซาบซ่าน ด้วย ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิด แต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง. เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือของพนักงานสรงสนานผู้ ฉลาด ใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ ก้อนจุรณสีตัวนั้นมียางซึมไปจับ ติดกันทั้งข้างในข้างนอก ย่อมไม่กระจายออก ฉะนั้น. [๔๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมดาเอกผุดขึ้น เพราะวิตกและวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและ สุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่. เธอทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่น อิ่มเอิบ ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิด แต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ ถูกต้อง เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำขังอยู่ ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำ นั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแลให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมดที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉะนั้น. [๔๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้ มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. เธอทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซ่าน ด้วยสุขอัน ปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนในกออุบล กอปทุม หรือกอบุณฑริก แต่ละชนิด กออุบล กอปทุมหรือ กอบุณฑริก ดอกบัวบางชนิด เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นจากน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำเลี้ยงไว้ อันน้ำเย็นหล่อเลี้ยง เอิบอาบซึมซาบไปแต่ยอดและเหง้า ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่ง กออุบล กอปทุม หรือกอบุณฑริก ที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉะนั้น [๔๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสในก่อนได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. เธอนั่ง แผ่ไปทั่วกายนี้แล ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่จิตอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนบุรุษนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มี เอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้องฉะนั้น.
ว่าด้วยวิชชา ๓
[๔๗๕] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ. เธอระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติ บ้าง ฯลฯ ระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทศ ด้วยประการฉะนี้ เปรียบเหมือนบุรุษออกจากบ้านของตนไปสู่บ้านอื่น ออกจากบ้านแม้นั้นไป สู่บ้านอื่น ออกจากบ้านแม้นั้นแล้ว กลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม เขาจะพึงระลึกได้ว่า เราออกจากบ้านของตนไปสู่บ้านโน้น ในบ้านนั้น เราได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น ออกจากบ้านแม้นั้นไปสู่บ้านโน้น แม้ในบ้านนั้น เราก็ได้ ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น ออกจากบ้านแม้นั้นแล้ว กลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยใน กาลก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติหน้า สองชาติบ้าน ฯลฯ ระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยใน กาลก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทศ ด้วยประการฉะนี้. [๔๗๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมน้อมโน้มจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของ ของสัตว์ทั้งหลาย. เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ ทราม ได้ดี ตกยากด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้ เป็นไปตามกรรม เปรียบเหมือนเรือนสองหลังมีประตูอยู่ตรงกัน บุรุษผู้มีจักษุ ยืนอยู่ตรงกลาง บนเรือนนั้น พึงเห็นหมู่มนุษย์ กำลังเข้าสู่เรือนบ้าง กำลังออกจากเรือนบ้าง กำลังเดินไปบ้าง กำลังเดินมาบ้าง กำลังเที่ยวไปบ้าง ฉันใด ภิกษุย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ มนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฉันนั้นเหมือนกันแล. [๔๗๗] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้ อาสวะ นี้อาสวะสมุทัย นี้อาสวะนิโรธ นี้อาสวะนิโรธคามินีปฏิปทา. เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จ แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี. เปรียบเหมือนห้วงน้ำบนยอดภูเขา มีน้ำใสสะอาด ไม่ ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ขอบห้วงน้ำนั้น พึงเห็นหอยกาบ หอยโข่ง ก้อนกรวด กระเบื้อง ฝูงปลา หยุดอยู่บ้าง เคลื่อนไปบ้าง. เขามีความดำริว่า ห้วงน้ำนี้ มีน้ำใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว มีหอยกาบ หอยโข่ง ก้อนกรวด กระเบื้อง และฝูงปลา หยุดอยู่บ้าง เคลื่อนไปบ้าง ฉันใด ภิกษุย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย ฯลฯ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกันแล.
ว่าด้วยสมัญญาแห่งภิกษุ
[๔๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง นหาตกะบ้าง เวทคูบ้าง โสตติยะบ้าง อริยะบ้าง อรหันต์บ้าง. ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่า สมณะ? เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นำให้ เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุ นั้นระงับเสียแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า สมณะ. ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่า พราหมณ์? เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นำให้ เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มี ชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นลอยเสียแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพราหมณ์. ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่า นหาตกะ? เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นำ ให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นอาบล้างเสียแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่านหาตกะ. ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่า เวทคู? เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นำให้ เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อัน ภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเวทคู. ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าโสตติยะ? เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นำให้ เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อัน ภิกษุนั้นให้หลับไปหมดแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าโสตติยะ. ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าอริยะ? เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นำให้ เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป ห่างไกลภิกษุนั้น อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าอริยะ. ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าอรหันต์? เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นำให้ เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อัน ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าอรหันต์. พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุนั้นชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มี พระภาค ฉะนี้แล.
จบ มหาอัสสปุรสูตรที่ ๙
-----------------------------------------------------
๑๐. จูฬอัสสปุรสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติอันดียิ่งของสมณะ
[๔๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่อัสสปุรนิคมของหมู่อังคราชกุมาร เขตอังคชนบท. ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคแล้ว. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ประชุมชนย่อมรู้จักพวกเธอว่า สมณะๆ ก็แหละพวกเธอ เมื่อเขาถามว่า ท่านทั้งหลายเป็นอะไร ก็ปฏิญญาว่า พวกเราเป็นสมณะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเธอนั้น มีชื่ออย่างนี้ มีปฏิญญาอย่างนี้ จึงควรศึกษาอยู่ว่า ข้อปฏิบัติที่ดียิ่งของสมณะ อันใดมีอยู่ เราทั้งหลายจะปฏิบัติข้อปฏิบัติอันนั้น เมื่อพวกเราปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ชื่อและปฏิญญา นี้ของพวกเรา ก็จักเป็นความจริงแท้ ใช่แต่เท่านั้น พวกเราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของทายกเหล่าใด ปัจจัยทั้งหลายนั้น ของทายกเหล่านั้น ก็จักมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก ในเพราะพวกเรา อีกอย่างหนึ่งเล่า บรรพชานี้ของพวกเรา ก็จักไม่ เป็นหมัน จักมีผล มีความเจริญ. [๔๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่ง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดรูปหนึ่งมีอภิชฌามาก ยังละอภิชฌาไม่ได้ มีจิตพยาบาท ยังละพยาบาท ไม่ได้ เป็นผู้มักโกรธ ยังละความมักโกรธไม่ได้ มีความผูกโกรธ ยังละความโกรธไม่ได้ มีความลบหลู่ ยังละความลบหลู่ไม่ได้ มีความตีเสมอ ยังละความตีเสมอไม่ได้ ยังมีความ ริษยา ยังละความริษยาไม่ได้ มีความตระหนี่ ยังละความตระหนี่ไม่ได้ มีความโอ้อวด ยังละ ความโอ้อวดไม่ได้ มีมายา ยังละมายาไม่ได้ มีความปรารถนาลามก ยังละความปรารถนาลามก ไม่ได้ มีความเห็นผิด ยังละความเห็นผิดไม่ได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะยังละไม่ได้ซึ่งกิเลส เป็นมลทิน เป็นโทษ เป็นดังว่าน้ำฝาด ของสมณะ อันเป็นเหตุให้เกิดในอบาย มีวิบากอัน ตนพึงเสวยในทุคติเหล่านี้แล เราจึงไม่กล่าวว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่งของสมณะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาวุธชื่อมตชะ มีคมสองข้าง ทั้งชุบและลับดีแล้ว สอดไว้ในฝักและพันไว้ แม้ฉันใด เรากล่าวบรรพชาของภิกษุนี้ มีอุปมาฉันนั้น. [๔๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ครองผ้าสังฆาฏิ เราหากล่าวว่าเป็นสมณะ ด้วย อาการเพียงครองผ้าสังฆาฏิไม่. บุคคลถือเพศเปลือยกาย เราก็หากล่าวว่า เป็นสมณะ ด้วยอาการ เพียงเปลือยกายไม่. บุคคลที่หมักหมมด้วยธุลี เราก็หากล่าวว่า เป็นสมณะ ด้วยอาการเพียง เป็นคนหมักหมมด้วยธุลีไม่. บุคคลลงอาบน้ำ (วันละสามครั้ง) เราก็หากล่าวว่า เป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงลงอาบน้ำไม่. บุคคลอยู่โคนไม้เป็นวัตร เราก็หากล่าวว่า เป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงอยู่โคนไม้เป็นวัตรไม่. บุคคลอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร เราก็หากล่าวว่า เป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงเป็นผู้อยู่ในที่แจ้งเป็นวัตรไม่. บุคคลอบกายเป็นวัตร เราก็หากล่าวว่า เป็น สมณะ ด้วยอาการเพียงอบกายไม่. บุคคลกินภัตโดยวาระ เราก็หากล่าวว่า เป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงกินภัตโดยวาระไม่. บุคคลที่ท่องมนต์ เราก็หากล่าวว่า เป็นสมณะ ด้วย อาการเพียงท่องมนต์ไม่. บุคคลที่มุ่นผม เราก็หากล่าวว่า เป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงมุ่นผมไม่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อบุคคลครองผ้าสังฆาฏิแล้ว มีอภิชฌามาก ก็ละอภิชฌาได้ มีจิต พยาบาท ก็ละพยาบาทได้ มีความมักโกรธก็สละความมักโกรธได้ มีความผูกโกรธ ก็ละความ ผูกโกรธได้ มีความลบหลู่ก็ละความลบหลู่ได้ มีความตีเสมอ ก็ละความตีเสมอได้ มีความริษยา ก็ละความริษยาได้ มีความตระหนี่ ก็ละความตระหนี่ได้ มีความโอ้อวด ก็ละความโอ้อวดได้ มีมายา ก็ละมายาได้ มีความปรารถนาลามก ก็ละความปรารถนาลามกได้ มีความเห็นผิด ก็ละความ เห็นผิดได้ ด้วยอาการสักว่า ครองผ้าสังฆาฏิไซร้ มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต พึงทำให้บุคคลนั้น ครองผ้าสังฆาฏิตั้งแต่เกิดทีเดียว พึงเชิญชวนผู้นั้นให้ครองผ้าสังฆาฏิอย่างเดียวว่า ท่านผู้มีหน้า อันเจริญ มาเถิด ท่านจงเป็นผู้ครองผ้าสังฆาฏิ เมื่อท่านครองผ้าสังฆาฏิอยู่ มีอภิชฌามาก ก็จักละ อภิชฌาได้ มีจิตพยาบาท ก็จักละพยาบาทเสียได้ มีความมักโกรธ ก็จักละความมักโกรธเสียได้ มีความผูกโกรธ ก็จักละความผูกโกรธเสียได้ มีความลบหลู่ ก็จักละความลบหลู่เสียได้ มีความตี เสมอ ก็จักละความตีเสมอเสียได้ มีความริษยา ก็จักละความริษยาเสียได้ มีความตระหนี่ ก็จักละ ความตระหนี่เสียได้ มีความโอ้อวด ก็จักละความโอ้อวดเสียได้ มีมายา ก็จักละมายาเสียได้ มีความปรารถนาลามก ก็จักละความปรารถนาลามกเสียได้ มีความเห็นผิด ก็จักละความเห็นผิด เสียได้ ด้วยอาการเพียงครองผ้าสังฆาฏิ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเราเห็นบุคคลบางคนในโลก นี้ แม้ครองผ้าสังฆาฏิอยู่ ก็ยังมีอภิชฌามาก มีจิตพยาบาท มีความมักโกรธ มีความผูก โกรธ มีความลบหลู่ มีความตีเสมอ มีความริษยา มีความตระหนี่ มีความโอ้อวด มีมายา มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด เพราะฉะนั้น บุคคลที่ครองผ้าสังฆาฏิ เราจึงมิได้กล่าวว่า เป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงครองผ้าสังฆาฏิ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อบุคคลถือเพศเปลือยกายอยู่ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อบุคคลหมักหมมด้วยธุลีอยู่ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อบุคคลลงอาบน้ำอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อบุคคลอยู่ โคนไม้อยู่ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อบุคคลอยู่ในที่แจ้งอยู่ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อบุคคลอบกายอยู่ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อบุคคลกินภัตโดยวาระอยู่ ... ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย หากว่า เมื่อบุคคลท่องมนต์อยู่ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อบุคคลมุ่นผมอยู่ มีอภิชฌามาก ก็ละอภิชฌาได้ มีจิตพยาบาท ก็ละพยาบาทได้ มีความมักโกรธ ก็ละ ความมักโกรธได้ มีความผูกโกรธ ก็ละความผูกโกรธได้ มีความลบหลู่ ก็ละความ ลบหลู่ได้ มีความตีเสมอ ก็ละความตีเสมอได้ มีความริษยา ก็ละความริษยาได้ มีความ ตระหนี่ ก็ละความตระหนี่ได้ มีความโอ้อวด ก็ละความโอ้อวดได้ มีมายา ก็ละมายาได้ มีความปรารถนาลามก ก็ละความปรารถนาลามกได้ มีความเห็นผิด ก็ละความเห็นผิดได้ ด้วยอาการเพียงมุ่นผมไซร้ มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต พึงทำบุคคลนั้นให้มุ่นผมตั้งแต่ เกิดทีเดียว พึงเชิญชวนผู้นั้นให้มุ่นผมอย่างเดียวว่า ดูกรท่านผู้มีหน้าอันเจริญ มาเถิด ท่านจง เป็นผู้มุ่นผม เมื่อท่านมุ่นผมอยู่ มีอภิชฌามาก ก็จักละอภิชฌาเสียได้ มีจิตพยาบาท ก็จักละพยาบาทเสียได้ มีความมักโกรธ ก็จักละความมักโกรธเสียได้ มีความผูกโกรธ ก็จักละความผูกโกรธเสียได้ มีความลบหลู่ ก็จักละความลบหลู่เสียได้ มีความตีเสมอ ก็จักละความตีเสมอเสียได้ มีความริษยา ก็จักละความริษยาเสียได้ มีความตระหนี่ ก็จัก ละความตระหนี่เสียได้ มีความโอ้อวด ก็จักละความโอ้อวดเสียได้ มีมายา ก็จักละ มายาเสียได้ มีความปรารถนาลามก ก็จักละความปรารถนาลามกเสียได้ มีความเห็นผิด ก็จักละความเห็นผิดเสียได้ ด้วยอาการเพียงมุ่นผม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเราเห็น บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มุ่นผมอยู่ ก็ยังมีอภิชฌามาก มีจิตพยาบาท มีความมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีความลบหลู่ มีความตีเสมอ มีความริษยา มีความตระหนี่ มีความโอ้อวด มีมายา มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด เพราะฉะนั้น บุคคลที่มุ่นผม เราจึงมิได้ กล่าวว่า เป็นสมณะด้วยอาการเพียงมุ่นผม. [๔๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่งของ สมณะ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง มีอภิชฌามาก ก็ละอภิชฌาเสียได้ มีจิตพยาบาท ก็ละพยาบาทเสียได้ มีความมักโกรธ ก็ละความมักโกรธเสียได้ มีความผูกโกรธ ก็ละความผูก- *โกรธเสียได้ มีความลบหลู่ ก็ละความลบหลู่เสียได้ มีความตีเสมอ ก็ละความตีเสมอเสียได้ มีความริษยา ก็ละความริษยาเสียได้ มีความตระหนี่ ก็ละความตระหนี่เสียได้ มีความโอ้อวด ก็ละความโอ้อวดเสียได้ มีมายา ก็ละมายาเสียได้ มีความปรารถนาลามก ก็ละความปรารถนา ลามกเสียได้ มีความเห็นผิด ก็ละความเห็นผิดเสียได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะละเสียได้ซึ่งกิเลส อันเป็นมลทิน เป็นโทษ เป็นดังว่าน้ำฝาดของสมณะ อันเป็นเหตุให้เกิดในอบาย มีวิบากอันตน พึงเสวยในทุคติเหล่านี้แล เราจึงกล่าวว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่งของสมณะ ภิกษุ นั้นย่อมพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจากอกุศลธรรมอันลามกทั้งปวงนี้ เมื่อเธอพิจารณาเห็น ตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจากอกุศลธรรมอันลามกทั้งปวงนี้ ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติแล้ว นามกายก็สงบ เธอมีนามกายสงบแล้ว ก็เสวยสุข เมื่อเธอมีสุข จิตก็ตั้งมั่น เธอมีจิตสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่าง นั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน โดยประการทั้งปวง ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง มีจิตสหรคตด้วยกรุณา ... มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา ... มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอก็มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา อัน กว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน โดยประการทั้งปวง ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สระโบก- *ขรณี มีน้ำใสจืด เย็น สะอาด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาแต่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ และจากที่ไหนๆ อันความร้อนแผดเผา เร่าร้อน ลำบาก ระหาย อยากดื่มน้ำ เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ และความกระวนกระวายเพราะความ ร้อนเสียได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลกษัตริย์มาบวชเป็นบรรพชิต เธอมาถึงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น ย่อมได้ความสงบจิต ณ ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เรากล่าวว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่ง ของสมณะ ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลพราหมณ์ ... ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลแพศย์ ... ถ้ากุลบุตรออก จากสกุลศูทร ... ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลไหนๆ ก็ตาม มาบวชเป็นบรรพชิต เธอมาถึงธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น ย่อมได้ความสงบจิต ณ ภายใน เรากล่าวว่า กุลบุตรนั้นเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่งของสมณะ ถ้ากุลบุตรออกจาก สกุลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะ ด้วยความรู้ยิ่ง โดยตนเองเขาถึงพร้อมแล้วอยู่ในชาตินี้ เรากล่าวว่า เป็นสมณะ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลพราหมณ์ ... ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลแพศย์ ... ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลศูทร ... ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลไหนๆ ก็ตาม บวชเป็นบรรพชิต ทำให้ แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะด้วยความรู้ยิ่ง โดยตนเอง เข้าถึงพร้อมแล้วในชาตินี้ เรากล่าวว่า เป็นสมณะ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มี พระภาคแล้วแล.
จบ จูฬอัสสปุรสูตร ที่ ๑๐
จบ มหายมกวรรค ที่ ๔
รวมพระสูตรในวรรคนี้มี ๑๐ สูตร คือ
๑. จูฬโคสิงคสาลสูตร ๒. มหาโคสิงคสาลสูตร ๓. มหาโคปาลสูตร ๔. จูฬโคปาลสูตร ๕. จูฬสัจจกสูตร ๖. มหาสัจจกสูตร ๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร ๘. มหาตัณหาสังขยสูตร ๙. มหาอัสสปุรสูตร ๑๐. จูฬอัสสปุรสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
จูฬยมกวรรค
๑. สาเลยยกสูตร
ทรงโปรดชาวบ้านสาละ
[๔๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ลุถึง พราหมณคามชื่อสาละของชาวโกศล. พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านสาละได้สดับข่าวว่า ท่านพระสมณโคดมศากยบุตร เสด็จ ออกจากศากยสกุล ทรงผนวชแล้ว เสด็จจาริกไปในโกศลชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ลุถึง พราหมณคามชื่อสาละ กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้นขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้ เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์แล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามใน เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง พยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมเป็นการดี ดังนี้. ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านสาละ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว บางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค บางพวกทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค บางพวก ประนมมือต่อพระผู้มีพระภาค บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสำนักของพระผู้มีพระภาค บางพวก ก็นิ่งอยู่ แล้วพากันนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตและนรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเป็น เหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้า ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต และนรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะเหตุประพฤติไม่ เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติธรรม ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะเหตุประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม. พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นทูลว่า พวกข้าพระองค์ไม่ทราบเนื้อความอย่างพิสดารแห่ง- *ธรรม ที่พระโคดมตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจำแนกความให้พิสดาร ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดแสดง ธรรมแก่พวกข้าพระองค์ โดยอาการที่พวกข้าพระองค์จะพึงรู้เนื้อความอย่างพิสดารแห่งธรรมที่ พระโคดมผู้เจริญตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจำแนกความให้พิสดารเถิด. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงฟัง จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว. พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านสาละทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว.
อกุศลกรรมบถ ๑๐
[๔๘๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่ เรียบร้อย คือ ความไม่ประพฤติธรรม ทางกาย มี ๓ อย่าง ทางวาจามี ๔ อย่าง ทางใจมี ๓ อย่าง. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ความไม่ประพฤติ- *ธรรมทางกาย ๓ อย่าง เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ คือ เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด พอใจในการประหารและการฆ่าไม่มีความละอาย ไม่ถึงความเอ็นดูในสัตว์ ทั้งปวง. เป็นผู้ถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้ คือ ลักทรัพย์เป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของบุคคลอื่น ที่อยู่ในบ้าน หรือที่อยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ซึ่งนับว่าเป็นขโมย. เป็นผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ ถึงความสมสู่ในพวกหญิงที่มารดารักษา ที่บิดา รักษา ที่มารดาและบิดารักษา ที่พี่ชายรักษา ที่พี่สาวรักษา ที่ญาติรักษา ที่มีสามี ที่อิสรชนหวง ห้าม ที่สุดแม้หญิงที่เขาคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย (หญิงที่เขาหมั้นไว้) ดูกรพราหมณ์และ คฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ความประพฤติธรรมทางกาย ๓ อย่าง เป็น อย่างนี้แล. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ความไม่ประพฤติ ธรรมทางวาจา ๔ อย่าง เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กล่าวเท็จคือ ไปในที่ประชุม หรือไปในหมู่ชน หรือไปในท่ามกลางญาติ หรือไปในท่ามกลางขุนนาง หรือไปในท่ามกลาง ราชสกุล หรือถูกนำไปเป็นพยาน ถูกถามว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เชิญเถิด ท่านรู้เรื่องใด ก็จงบอก เรื่องนั้น เขาเมื่อไม่รู้ก็บอกว่า รู้บ้าง เมื่อรู้บอกว่า ไม่รู้บ้าง เมื่อไม่เห็น ก็บอกว่าเห็นบ้าง เมื่อเห็นก็บอกว่า ไม่เห็นบ้าง เป็นผู้กล่าวคำเท็จทั้งรู้อยู่ เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง เพราะเหตุเห็นแก่สิ่งเล็กน้อยบ้าง. เป็นผู้ส่อเสียด คือ ได้ฟังข้างนี้แล้ว นำไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายพวกข้างนี้บ้าง หรือฟังข้างโน้นแล้ว นำไปบอกข้างนี้ เพื่อทำลายพวกข้างโน้นบ้าง ยุพวกที่พร้อมเพรียงกันให้ แตกกันไปบ้าง ส่งเสริมพวกที่แตกกันบ้าง ส่งเสริมพวกที่แตกกันแล้วบ้าง ชอบใจในคนที่แตก กันเป็นพวก ยินดีในความแตกกันเป็นพวก ชื่นชมในพวกที่แตกกัน และกล่าววาจาที่ทำให้แตก กันเป็นพวก. เป็นผู้มีวาจาหยาบ คือ กล่าววาจาที่เป็นโทษหยาบ อันเผ็ดร้อนแก่ผู้อื่น อันขัดใจผู้อื่น อันใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบจิต. เป็นผู้กล่าวคำเพ้อเจ้อ คือ พูดในเวลาไม่ควรพูด พูดเรื่องที่ไม่เป็นจริง พูดไม่เป็น ประโยชน์ พูดไม่เป็นธรรม พูดไม่เป็นวินัย กล่าววาจาไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้าง ไม่มีที่สุด ไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลไม่สมควร ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติ ไม่เรียบร้อย คือ ความไม่ประพฤติธรรมทางวาจา ๔ อย่างเป็นอย่างนี้แล. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ความไม่ประพฤติ ธรรมทางใจ ๓ อย่าง เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความโลภมาก คือ เพ่งเล็ง ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ขอของผู้อื่นพึงเป็นของเราเถิด ดังนี้. เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีความดำริในใจอันชั่วช้าว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่าบ้าง จงถูก ทำลายบ้าง จงขาดสูญบ้าง อย่าได้มีแล้วบ้าง ดังนี้. เป็นผู้มีความเห็นผิด คือ มีความเห็นวิปริตว่า ผลแห่งทานที่ให้แล้วไม่มีผลแห่งการบูชา ไม่มี ผลแห่งการเซ่นสรวงไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้า ไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ทั้งหลายที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสั่งสอน ให้ผู้อื่นรู้ไม่มีอยู่ในโลก ดังนี้ ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ความไม่ประพฤติธรรมทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต และนรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะเหตุประพฤติไม่เรียบร้อย คือไม่ประพฤติธรรม อย่างนี้แล.
กุศลกรรมบถ ๑๐
[๔๘๕] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติเรียบร้อยคือความประพฤติ ธรรมทางกายมี ๓ อย่าง ทางวาจามี ๔ อย่าง ทางใจมี ๓ อย่าง. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็ความประพฤติเรียบร้อย คือ ความประพฤติธรรม ทางกาย ๓ อย่าง เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์เว้นขาดการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตราเสียแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ ทั้งปวงอยู่. ละการถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ไม่ลักทรัพย์เป็นอุปกรณ์เครื่อง ปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้าน หรือที่อยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ซึ่งนับว่าเป็นขโมย. ละการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ ไม่ ถึงความสมสู่ในพวกหญิง ที่มารดารักษา ที่บิดารักษา ที่มารดาและบิดารักษา ที่พี่ชายรักษา ที่พี่สาวรักษา ที่ญาติรักษา ที่มีสามี ที่อิสรชนหวงห้าม ที่สุดหญิงที่เขาคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติเรียบร้อย คือ ความประพฤติธรรมทางกาย ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็ความประพฤติเรียบร้อย คือ ความประพฤติธรรม ทางวาจา ๔ อย่าง เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ไปในทีประชุม หรือไปในหมู่ชน หรือไปในท่ามกลางญาติ หรือไปในท่ามกลางขุนนาง หรือไป ในท่ามกลางราชสกุล หรือถูกนำไปเป็นพยาน ถูกถามว่า บุรุษผู้เจริญ เชิญเถิด ท่านรู้เรื่องใด ก็จงบอกเรื่องนั้น เขาเมื่อไม่รู้ก็บอกว่า ไม่รู้ หรือเมื่อรู้ก็บอกว่า รู้ เมื่อไม่เห็นก็บอกว่า ไม่เห็น หรือเมื่อเห็นก็บอกว่า เห็น ไม่กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง เพราะ เหตุเห็นแก่สิ่งของเล็กน้อยบ้าง. ละวาจาอันส่อเสียด เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด คือได้ฟังข้างนี้แล้วไม่นำไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายพวกข้างนี้ หรือได้ฟังข้างโน้นแล้ว ไม่นำมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายพวกข้างโน้น สมานพวกที่แตกกันให้ดีกันบ้าง ส่งเสริมพวกที่ดีกันให้สนิทสนมบ้าง ชอบใจพวกที่พร้อมเพรียง กัน ยินดีแล้วในพวกที่พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมในพวกที่พร้อมเพรียงกัน และกล่าววาจาอันทำให้ พร้อมเพรียงกัน. ละวาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบ กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ เพราะหูชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ ชอบใจ. ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ พูดในเวลาที่ควรพูดตามความจริง พูด เรื่องที่เป็นประโยชน์ พูดเรื่องที่เป็นธรรม พูดเรื่องที่เป็นวินัยและกล่าววาจามีหลักฐาน มีที่อ้าง ได้มีที่สุด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความ ประพฤติเรียบร้อย คือความประพฤติธรรมทางวาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างนี้แล. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็ความประพฤติเรียบร้อย คือ ความประพฤติธรรม ทางใจ ๓ อย่าง เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีความโลภมาก ไม่เพ่งเล็งทรัพย์ อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ขอของผู้อื่นพึงเป็นของเราเถิด ดังนี้. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท มีความดำริในใจไม่ชั่วช้าว่า ขอสัตว์เหล่านี้ จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีแต่สุข รักษาตนเถิด ดังนี้. เป็นผู้มีความเห็นชอบ คือมีความเห็นไม่วิปริตว่า ผลแห่งทานที่ให้แล้วมีอยู่ ผลแห่งการ การบูชามีอยู่ ผลแห่งการเซ่นสรวงมีอยู่ ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มีอยู่ โลกหน้ามีอยู่ มารดามีอยู่ บิดามีอยู่ สัตว์ทั้งหลายที่เป็นอุปปาติกะมีอยู่ สมณะและพราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบผู้ทำโลกนี้ และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอน ให้ผู้อื่นรู้ได้มีอยู่ในโลกนี้ ดังนี้ ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติเรียบร้อย คือความประพฤติธรรมทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายบางพวกในโลกนี้ เข้าถึงสุคติโลก- *สวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะเหตุประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม อย่างนี้แล.
ว่าด้วยผลแห่งความประพฤติเรียบร้อย
[๔๘๖] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติ- *ธรรมพึงหวังว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกกษัตริย์ มหาศาลเถิด ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก บุคคลนั้นพึงเข้าถึง ความเป็นพวกกษัตริย์มหาศาล นั่นเป็นเพราะอะไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนั้นแหละ. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม พึงหวังว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกพราหมณ์ มหาศาล ฯลฯ ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม พึงหวัง เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกคฤหบดีมหาศาลเถิด ข้อนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็นพวกคฤหบดี มหาศาล นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ เป็นผู้ประพฤติ ธรรมอย่างนั้นแหละ. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม พึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาเถิด ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็นพวก เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนั้นแหละ. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม พึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ... ความ เป็นพวกเทวดาชั้นยามา ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นดุสิต ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นนิมมานรดี ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ... ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม พึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาที่เนื่องในหมู่พรหม เถิด ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็น พวกเทวดาที่เนื่องในหมู่พรหม นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนั้นแหละ. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรมพึง หวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นอาภา ข้อนี้เป็น ฐานะที่จะมีได้ คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดา ชั้นอาภา นั่นเป็นเพราะอะไร เป็นเพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ เป็นผู้ประพฤติ ธรรมอย่างนั้นแหละ. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรม ธรรมพึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นปริตตาภา ... ความเป็นเทวดาชั้นอัปปมาณาภา ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นอาภัสสรา ... ความเป็นพวกเทวดาชั้น ปริตตสุภา ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นอัปมาณสุภา ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นสุภกิณหกะ ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นเวหัปผละ ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นอวิหา ความเป็นพวกเทวดาชั้น อตัปปา ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นสุทัสสา ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นสุทัสสี ... ความเป็น พวกเทวดาชั้นอกนิฏฐะ ... ความเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ ... ความเป็นพวก เทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ ... ความเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ ... ความเป็น พวกเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ นั้นเป็นเพราะอะไร เป็นเพราะบุคคลนั้นเป็น ผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนั้นแหละ. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรมพึง หวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะ ด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่ในชาตินี้เถิด ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ บุคคลนั้นพึงทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะเพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่ใน ชาตินี้นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร เป็นเพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ เป็นผู้ประพฤติ ธรรม อย่างนั้นแหละ.
ความเป็นผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
[๔๘๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวบ้านสาละ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยเอนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่ มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ พวกข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญกับพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำพวกข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไปฉะนี้แล.
จบ สาเลยยกสูตร ที่ ๑
-----------------------------------------------------
๒. เวรัญชกสูตร
ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้เข้าถึงสุคติ
[๔๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวเมืองเวรัญชา พักอยู่ใน เมืองสาวัตถีด้วยกิจบางอย่าง ได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นศากยสกุลทรงผนวช แล้ว ประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้นขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่น ยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระองค์ ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้ว ทรงสั่งสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดา และมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงก็การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นบาปนั้น ย่อมเป็นการดี ดังนี้. ครั้งนั้น พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ครั้นแล้ว บางพวกถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค บางพวกทูลปราศรัยกับพระผู้มี พระภาคพอให้ระลึกถึง บางพวกประนมอัญชลี ต่อพระผู้มีพระภาค บางพวกประกาศชื่อและ โคตรในสำนักพระผู้มีพระภาค บางพวกก็นิ่งอยู่ แล้วต่างก็นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต และนรก เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก ข้าแต่ พระโคดมผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้า ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต และนรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะเหตุ คือ ความประพฤติไม่ เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติธรรม ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เพราะเหตุประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นทูลว่า พวกข้าพระองค์ ย่อมไม่รู้เนื้อความโดยพิสดาร แห่งธรรมที่พระโคดมผู้เจริญตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจำแนกความให้พิสดาร ขอท่านพระโคดมโปรด แสดงธรรมแก่พวกข้าพระองค์ โดยให้พวกข้าพระองค์ พึงรู้เนื้อความอย่างพิสดารแห่งธรรมที่ ท่านพระโคดมตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจำแนกความให้พิสดารเถิด. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว.
อกุศลกรรมบถ ๑๐
[๔๘๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้ประพฤติ ไม่เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติธรรมด้วยกายมี ๓ อย่าง ด้วยวาจามี ๔ อย่าง ด้วยใจมี ๓ อย่าง ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้ประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติด้วยกาย ๓ อย่างเป็นไฉน? ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ คือเป็นผู้มีใจหยาบ มีมือเปื้อนเลือด พอใจในการประหารและการฆ่า ไม่มีความละอาย ไม่ถึง ความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง. เป็นผู้ถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้ คือ ลักทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของบุคคล อื่น ที่อยู่ในบ้าน หรือที่อยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ซึ่งนับว่าเป็นขโมย เป็นผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ ถึงความสมสู่ในพวกหญิงที่มารดารักษา ... ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติธรรม ด้วยกาย ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติ ธรรมด้วยวาจา ๔ อย่างเป็นไฉน? ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กล่าวคำเท็จ ... เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ได้ฟังแต่ข้างนี้แล้วนำไป บอกข้างโน้น ... และกล่าววาจาที่เป็นเครื่องทำให้แตกกันเป็นพวก ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้มี วาจาหยาบ คือกล่าววาจาหยาบที่เป็นโทษ ... เป็นผู้กล่าวไร้ประโยชน์ คือ พูดในเวลาที่ไม่ควรพูด พูดเรื่องที่ไม่เป็นจริง พูดไม่เป็นประโยชน์ พูดไม่เป็นธรรม พูดไม่เป็นวินัย กล่าววาจาไม่มี หลักฐาน ไม่มีที่อ้าง ไม่มีที่สุด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลไม่สมควร. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ประพฤติไม่เรียบร้อยคือ ไม่ประพฤติธรรมด้วย วาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างนี้แล. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติ ธรรมด้วยใจ ๓ อย่างเป็นไฉน? ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น ผู้มีความโลภมาก คือเพ่งต่อทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของบุคคลอื่นว่า ขอของผู้อื่นพึง เป็นของเรา ดังนี้. เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ ความดำริในใจคิดประทุษร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่าบ้าง จงถูกทำลายบ้าง จงขาดสูญบ้าง อย่าได้มีแล้วบ้าง ดังนี้. เป็นผู้มีความเห็นผิด คือ มีความเห็นวิปริตว่า ผลงานแห่งทานที่ให้แล้วไม่มี ผลแห่ง การบูชาไม่มี ผลแห่งการเซ่นสรวงไม่มี ... สั่งสอนผู้อื่นให้รู้ ไม่มีในโลก ดังนี้. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ประพฤติไม่เรียบร้อย คือไม่ประพฤติธรรม ด้วยใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย แตก ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต และนรกอย่างที่กล่าวนั้น เพราะเหตุแห่งความประพฤติ ไม่เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติธรรม อย่างนี้แล.
กุศลกรรมบถ ๑๐
[๔๙๐] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ผู้ประ พฤติธรรมด้วยกายมี ๓ อย่าง ด้วยวาจามี ๔ อย่าง ด้วยใจมี ๓ อย่าง ดูกรพราหมณ์และคฤหบดี ทั้งหลาย ก็บุคคลประพฤติธรรมด้วยกาย ๓ อย่างเป็นไฉน? ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา มีความ ละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่. ละการถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ไม่ลักทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์ เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้าน หรือที่อยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ซึ่งนับว่าเป็นขโมย. ละความประพฤติผิดในกายทั้งหลาย เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ ไม่ถึงความสมสู่ในพวกหญิง ที่มารดารักษา ... ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือผู้ประพฤติธรรมด้วย กาย ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรมด้วย วาจา ๔ อย่าง เป็นไฉน? ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการ พูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ไปในที่ประชุม ... และไม่กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ ... ละวาจาอันส่อเสียด เว้นขาดจากวาจาอันส่อเสียดกล่าววาจาที่เป็นเครื่องทำความพร้อม เพรียงกัน. ละวาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบ ... กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ ... ละการพูดไร้ประโยชน์ เว้นขาดจากการพูดไร้ประโยชน์ ... มีหลักฐานมีที่อ้าง มีที่สุด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรมด้วย วาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างนี้แล. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรมด้วยใจ ๓ อย่าง เป็นไฉน? ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีความ โลภ ไม่เพ่งเล็งต่อทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ขอของผู้อื่นพึงเป็นของเราดังนี้. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ไม่มีความดำริในใจคิดประทุษร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้ จงเป็นผู้ไม่ มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีแต่สุข รักษาตนเถิด ดังนี้. เป็นผู้มีความเห็นชอบ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ผลแห่งทานที่ให้แล้วมีอยู่ผลแห่งการบูชา มีอยู่ ... สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้า ให้ แจ้งชัดด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเองแล้ว สอนให้ผู้อื่นรู้ได้มีอยู่ในโลก ดังนี้. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรมด้วยใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะเหตุแห่งความประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม อย่างนี้แล.
ว่าด้วยผลแห่งความประพฤติเรียบร้อย
[๔๙๑] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติ ธรรมพึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกกษัตริย์มหาศาล ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็นพวกกษัตริย์มหาศาล นั่นเป็นเพราะ เหตุอะไร เป็นเพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ เป็นผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแหละ. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม พึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกพราหมณ์มหาศาล ... ดูกร พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรมพึงหวังว่า เบื้อง หน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกคฤหบดีมหาศาล ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ บุคคลนั้นเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พึงเข้าถึงความเป็นพวกคฤหบดีมหาศาลนั่นเป็นเพราะ เหตุอะไร เป็นเพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนั้นแหละ. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม พึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็นพวก เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ เป็นผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแหละ. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม พึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ... ความ เป็นพวกเทวดาชั้นยามา ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นดุสิต ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นนิมมานรดี ... ความพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ... ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรมพึง หวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาผู้เนื่องในหมู่พรหม ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็นพวก เทวดาผู้เนื่องในหมู่พรหม นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ เป็นผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแหละ. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม พึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นอาภา ข้อนี้เป็น ฐานะที่จะมีได้ คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้น อาภา นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ เป็นผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแหละ. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม พึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นปริตตาภา ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นอัปปมาณาภา ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นอาภัสสระ ... ความเป็นเทวดาชั้น ปริตตสุภา ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นอัปปมาณสุภา ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นสุภกิณหกะ ... ความ เป็นพวกเทวดาชั้นเวหัปผละ ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นอวิหา ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นอตัปปา ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นสุทัสสา ... ความเป็นพวกเทวดาชั้นสุทัสสี ... ความเป็นพวกเทวดาชั้น อกนิฏฐะ ... ความเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ ... ความเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึง วิญญาณัญจายตนภพ ... ความเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ ... ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรมพึง หวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานา สัญญายตนภพ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก บุคคลนั้นพึงเข้า ถึงความเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะบุคคล นั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ เป็นผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแหละ. ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม พึงหวังว่า ขอเราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะ เพราะรู้ยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่ในชาตินี้เถิด ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ บุคคลนั้นพึงทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะ เพราะรู้ยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่ใน ชาตินี้ นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ เป็นผู้ประพฤติ ธรรมอย่างนั้นแหละ.
ความเป็นผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
[๔๙๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเมือง เวรัญชา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนักพระองค์ทรงประกาศพระธรรมโดยอเนก ปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิดบอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีป ในที่มืดด้วยตั้งใจว่าคนมีจักษุจักเห็นรูปได้ ดังนี้ พวกข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญกับ พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ ขอทรงจำพวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัย เป็นสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนี้แล.
จบ เวรัญชกสูตร ที่ ๒
-----------------------------------------------------
๓. มหาเวทัลลสูตร
การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
[๔๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก- *เศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นเวลาเย็น ท่านพระมหาโกฏฐิกะออกจากที่หลีกเร้นแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการทักทาย ปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
เรื่องปัญญากับวิญญาณ
[๔๙๔] ท่านพระมหาโกฏฐิกะครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระสารีบุตรว่าดูกร ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทรามๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึง ตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม? ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญาทราม ไม่รู้ชัดอะไร ไม่รู้ชัดว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม. ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ยินดี อนุโมทนาภาษิต ของท่านพระสารีบุตรว่า ถูกละ ท่านผู้มี อายุ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่าบุคคลมีปัญญา? สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลรู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคล มีปัญญา รู้ชัดอะไร รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะ ฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญา. ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิญญาณๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่า วิญญาณ? สา. ธรรมชาติที่รู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่าวิญญาณ รู้แจ้งอะไร รู้แจ้งว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข ธรรมชาติย่อมรู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า วิญญาณ. ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกันท่านผู้มีอายุ อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่? สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยก ออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น วิญญาณ รู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๒ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่ อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้. ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่มีกิจที่จะพึง ทำต่างกันบ้างหรือไม่? สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่ปัญญาควร เจริญ วิญญาณควรกำหนดรู้ นี่เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒ ประการนี้.
เรื่องเวทนาสัญญาและวิญญาณ
[๔๙๕] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เวทนาๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไร หนอ จึงตรัสว่า เวทนา? สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ธรรมชาติที่รู้ๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เวทนา รู้อะไร รู้สุขบ้าง รู้ทุกข์บ้าง รู้สิ่งที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง ธรรมชาติย่อมรู้ๆ ฉะนั้น จึงตรัสว่า เวทนา. ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัญญาๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่า สัญญา? สา. ธรรมชาติที่จำๆ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า สัญญา จำอะไร จำสีเขียว บ้าง จำสีเหลืองบ้าง จำสีแดงบ้าง จำสีขาวบ้าง ธรรมชาติย่อมจำๆ ฉะนั้น จึงตรัสว่า สัญญา ก. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกัน ท่านผู้มีอายุ อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่? สา. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้. [๔๙๖] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระโยคาวจรมีมโนวิญญาณ (จิตอันสัมปยุตด้วยรูปาวจร- *ฌานที่ ๔) อันสละแล้ว อันบริสุทธิ์จากอินทรีย์ ๕ พึงรู้สิ่งอะไร? สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระโยคาวจรมีมโนวิญญาณอันสละแล้ว อันบริสุทธิ์จากอินทรีย์ ๕ พึงรู้อากาสานัญจายตนฌานว่า อากาศหาที่สุดมิได้ พึงรู้วิญญาณัญจายตนฌานว่า วิญญาณหาที่สุด มิได้ พึงรู้อากิญจัญญายตนฌานว่า น้อยหนึ่งมิได้มี.
เรื่องประโยชน์แห่งปัญญาและเหตุเกิดสัมมาทิฏฐิ
ก. พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมอันตนพึงรู้ด้วยอะไร? สา. พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมอันตนพึงรู้ด้วยปัญญาจักษุ. ก. ปัญญา มีอะไรเป็นประโยชน์? สา. ปัญญา มีความรู้ยิ่งเป็นประโยชน์ มีความกำหนดรู้เป็นประโยชน์ มีความละเป็น ประโยชน์. [๔๙๗] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มีเท่าไร? สา. ธรรม ๒ ประการ คือความได้สดับแต่บุคคลอื่น ๑ ความทำในใจโดยแยบคาย ๑ เป็นปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ ธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นปัจจัยเมื่อความเกิดขึ้นแห่ง สัมมาทิฏฐิ. ก. สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญา วิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรมเท่าไรอนุเคราะห์แล้ว? สา. สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญา วิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรม ๕ ประการ อนุเคราะห์ แล้ว คือ สัมมาทิฏฐิ อันศีลอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสากัจฉาอนุเคราะห์ แล้ว ๑ อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว ๑ สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็น ผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติ เป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรม ๕ ประการนี้แล อนุเคราะห์แล้ว.
เรื่องภพและฌาน
[๔๙๘] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ ภพมีเท่าไร? สา. ภพมี ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ. ก. ความเกิดในภพใหม่ในอนาคต มีได้อย่างไร? สา. ความยินดียิ่งในอารมณ์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกีดกัน มีตัณหาเป็น เครื่องประกอบไว้ ความเกิดในภพใหม่ในอนาคตมีได้อย่างนี้. ก. ความเกิดในภพใหม่ในอนาคต จะไม่มีอย่างไร? สา. เพราะความสิ้นแห่งอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา และเพราะความดับแห่ง ตัณหา อย่างนี้ ความเกิดในภพใหม่ในอนาคต จึงจะไม่มี. [๔๙๙] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ ปฐมฌาน เป็นไฉน? สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ฌานนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปฐมฌาน. ก. ปฐมฌาน มีองค์เท่าไร? สา. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก ๑ วิจาร ๑ ปีติ ๑ สุข ๑ เอกัคคตา ๑ ย่อมเป็นไปแก่ ภิกษุผู้เข้าปฐมฌานมีองค์ ๕ ปฐมฌานมีองค์ ๕ อย่างนี้แล. ก. ปฐมฌาน ละองค์เท่าไร ประกอบด้วยองค์เท่าไร? สา. ปฐมฌานละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าปฐมฌาน ละกาม ฉันท์ได้แล้ว ละพยาบาทได้แล้ว ละถีนมิทธะได้แล้ว ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ละวิจิกิจฉาได้ แล้ว มีวิตก ๑ วิจาร ๑ ปีติ ๑ สุข ๑ เอกัคคตา ๑ เป็นไปอยู่ ปฐมฌานละองค์ ๕ ประกอบด้วย องค์ ๕ อย่างนี้แล.
เรื่องอินทรีย์ ๕
[๕๐๐] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจร ของกันและกัน เมื่ออินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็น โคจรของกันและกัน จะมีอะไรเป็นที่อาศัย และธรรมอะไรรับรู้วิสัยอันเป็นโคจรแห่งอินทรีย์ เหล่านั้น? สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรของกันและกัน เมื่ออินทรีย์ ๕ เหล่านี้ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรของกันและกัน มีใจเป็นที่อาศัย ใจย่อมรับรู้วิสัยอันเป็นโคจรแห่งอินทรีย์เหล่านั้น. [๕๐๑] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ นี้ อาศัยอะไรตั้งอยู่? สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้นั้น คือจักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ อาศัยอายุ (ชีวิตินทรีย์) ตั้งอยู่. ก. อายุ อาศัยอะไรตั้งอยู่? สา. อายุ อาศัยไออุ่น (ไฟที่เกิดแต่กรรม) ตั้งอยู่. ก. ไออุ่น อาศัยอะไรตั้งอยู่? สา. ไออุ่น อาศัยอายุตั้งอยู่. ก. ผมรู้ทั่วถึงภาษิตของพระสารีบุตรผู้มีอายุในบัดนี้เองอย่างนี้ว่า อายุอาศัยไออุ่นตั้งอยู่ และว่าไออุ่นอาศัยอายุตั้งอยู่ แต่ผมจะพึงเห็นความแห่งภาษิตนี้ได้อย่างไร? สา. ถ้าเช่นนั้น ผมจักทำอุปมาแก่คุณ เพราะวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมทราบความ แห่งภาษิตได้แม้ด้วยอุปมา เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันกำลังติดไฟอยู่ แสงสว่างอาศัยเปลว ปรากฏอยู่ เปลวก็อาศัยแสงสว่างปรากฏอยู่ฉันใด อายุอาศัยไออุ่นตั้งอยู่ ไออุ่นก็อาศัยอายุตั้งอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน ก. อายุสังขาร (อายุ ชีวิตินทรีย์) กับเวทนียธรรม (เวทนา) เป็นอันเสมอกัน หรือว่า อายุสังขารกับเวทนียธรรมเป็นคนละอย่าง? สา. อายุสังขารกับเวทนียธรรม ไม่ใช่อันเดียวกัน (ถ้า) อายุสังขารกับเวทนียธรรมเป็น อันเดียวกันแล้ว การออกจากสมาบัติของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็ไม่พึงปรากฏ แต่เพราะ อายุสังขารกับเวทนียธรรมเป็นคนละอย่าง ฉะนั้น การออกจากสมาบัติของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิต นิโรธ จึงปรากฏอยู่. [๕๐๒] ก. ดูกรผู้มีอายุ ในเมื่อธรรมเท่าไรละกายนี้ไป กายนี้ก็ถูกทอดทิ้งนอนนิ่ง เหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา? สา. ดูกรผู้มีอายุ ในเมื่อธรรม ๓ ประการ คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณละกายนี้ไป กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนนิ่ง เหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา. ก. สัตว์ผู้ตายทำกาละไป กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีความแปลกกันอย่างไร? สา. สัตว์ผู้ตายทำกาละไป มีกายสังขาร วจีสังขาร และจิตสังขารดับระงับไป มีอายุ หมดสิ้นไป มีไออุ่นสงบ มีอินทรีย์แตกทำลาย ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีกายสังขาร วจีสังขาร และจิตสังขารดับ ระงับไป แต่มีอายุยังไม่หมดสิ้น มีไออุ่นยังไม่สงบ มีอินทรีย์ ผ่องใส สัตว์ผู้ตายทำกาละไปกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีความแปลกกัน ฉะนี้.
เรื่องปัจจัยเจโตวิมุติ
[๕๐๓] ก. ดูกรผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีเท่าไร? สา. ดูกรผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมี ๔ อย่าง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสในก่อนเสียได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มี ๔ อย่าง ดังนี้แล. ก. ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร? สา. ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่างคือ การไม่มนสิการถึง นิมิตทั้งปวง ๑ การมนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต ๑ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอัน ไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง ดังนี้แล. ก. ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร? สา. ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๓ อย่าง คือการไม่มนสิการถึง นิมิตทั้งปวง ๑ การมนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต ๑ อภิสังขาร (ความกำหนดระยะกาล) ในเบื้องต้น ๑ ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๓ อย่าง ดังนี้แล. ก. ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร? สา. ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่างคือการมนสิการถึงนิมิต ทั้งปวง ๑ การไม่มนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต ๑ ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มี นิมิต มี ๒ อย่าง ดังนี้แล. [๕๐๔] ก. ดูกรผู้มีอายุ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มี อะไรๆ เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิตธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น? สา. ดูกรผู้มีอายุ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีอะไรๆ เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต ปริยายที่บ่งว่าธรรมเหล่านี้ มีอรรถ ต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันก็มี และปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้นก็มี. ก็ปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันเป็นไฉน? ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ มีจิตสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไป สู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไป สู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และมีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน เพื่อประโยชน์ แก่สัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถานทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้ มีจิตสหรคตด้วยกรุณา ... มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา ... มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ที่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน เพื่อประโยชน์ แก่สัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถาน ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้ นี้พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันหาประมาณมิได้. เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงวิญญาณัญจายตน- *ฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่าไม่มีอะไรๆ อยู่ ดังนี้ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ. เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นว่า สิ่งนี้ว่างจากตนบ้าง จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนเอง ดังนี้ นี้พระ ผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง. เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตสมาธิอัน ไม่มีนิมิต เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเจโตวิมุตติมีอารมณ์อันไม่มี นิมิต. ดูกรผู้มีอายุ นี้แลปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน. ก็ปริยายที่บ่งว่า ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้นเป็น ไฉน? ราคะอันทำประมาณ โทสะอันทำประมาณ โมหะอันทำประมาณ ราคะเป็นต้นนั้น อันภิกษุ ผู้ขีณาสพละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้วทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่า เลิศกว่าเจโตวิมุติมี อารมณ์ไม่มีประมาณทั้งหมด เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแล ว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจาก โมหะ. ราคะอันเป็นเครื่องกังวล โทสะอันเป็นเครื่องกังวล โมหะอันเป็นเครื่องกังวล ราคะเป็น ต้นนั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่า เลิศกว่าเจโตวิมุติอันมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ ทั้งหมด. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแล ว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ. ราคะอันทำนิมิต โทสะอันทำนิมิต โมหะอันทำนิมิต ราคะเป็นต้น นั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว ทำไม่ ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่า เลิศกว่าเจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแลว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ. ดูกรผู้มีอายุ นี้แลปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียง พยัญชนะเท่านั้น. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวแก้ปัญหานี้แล้ว ท่านพระมหาโกฏฐิกะชื่นชมยินดีภาษิตของท่าน พระสารีบุตร ฉะนี้แล.
จบ มหาเวทัลลสูตร ที่ ๓
-----------------------------------------------------
๔. จูฬเวทัลลสูตร
การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
[๕๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถานที่ให้เหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น วิสาขอุบาสกเข้าไปหาธรรมทินนาภิกษุณีถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
เรื่องสักกายทิฏฐิ
[๕๐๖] วิสาขอุบาสกครั้นนั่งแล้ว ได้ถามธรรมทินนาภิกษุณีว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระ- *ผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ สักกายะ ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ? ธรรมทินนาภิกษุณีตอบว่า ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ คือรูปูปาทานขันธ์ ๑ เวทนูปาทานขันธ์ ๑ สัญญูปาทานขันธ์ ๑ สังขารูปาทานขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทานขันธ์ ๑ อุปาทาน ขันธ์ ๕ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ. วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของธรรมทินนาภิกษุณีว่า ถูกละพระแม่เจ้า ดังนี้ แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย สักกาย- *สมุทัย ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าสักกายสมุทัย? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหานี้แล พระผู้มีพระ- *ภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ สักกายนิโรธดังนี้ ธรรมอะไร ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความดับด้วยความคลายกำหนัดไม่มีเหลือ ความสละ ความสละ คืน ความปล่อย ความไม่พัวพัน ด้วยตัณหานั้น นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา สักกายนิ- *โรธคามินีปฏิปทา ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความ ตั้งจิตไว้ชอบ ๑ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอันเดียวกัน หรืออุปาทาน เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ หาใช่อันเดียวกันไม่ อุปาทานเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็หาใช่ไม่ ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอุปาทาน ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั้น. [๕๐๗] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สักกายทิฏฐิมีได้อย่างไร? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะไม่ฉลาด ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม ของสัปบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็น ตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปในตนบ้าง ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมตามเห็นเวทนา ... ย่อมตามเห็น สัญญา ... ย่อมตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็น ตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงมีได้. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อย่างไรสักกายทิฏฐิจึงจะไม่มีฯ ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรม ของสัปบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็น ตนว่ามีรูปบ้าง ไม่ตามเห็นรูปในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นเวทนา ... ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา ... ย่อมไม่ตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความ เป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนใน วิญญาณบ้าง อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงจะไม่มี.
เรื่องมรรค ๘ กับขันธ์ ๓
[๕๐๘] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ ไฉน? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะหรือเป็นอสังขตะ? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะ. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ขันธ์ ๓ (กองศีล กองสมาธิ กองปัญญา) พระผู้มีพระภาค ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วย ขันธ์ ๓. ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ขันธ์ ๓ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ส่วนอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ คือ วาจาชอบ ๑ ทำการงาน ชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์.
เรื่องสมาธิและสังขาร
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอย่างไร เป็นสมาธิ ธรรมเหล่าใด เป็นนิมิตของสมาธิ ธรรมเหล่าใด เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การทำให้สมาธิเจริญ เป็นอย่างไร? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว เป็นสมาธิ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนิมิตของสมาธิ สัมมัปปธาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ ความเสพคุ้น ความเจริญ ความ ทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแหละ เป็นการทำให้สมาธิเจริญ. [๕๐๙] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สังขาร มีเท่าไร? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ สังขารเหล่านี้ มี ๓ ประการคือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็กายสังขาร เป็นอย่างไร วจีสังขารเป็นอย่างไร จิตตสังขารเป็น อย่างไร? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เป็นกายสังขาร วิตกและวิจาร เป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา เป็นจิตตสังขาร. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เหตุไร ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า จึงเป็นกายสังขาร วิตกและวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ เป็นธรรมมีในกาย เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า จึงเป็นกายสังขาร บุคคลย่อมตรึก ย่อมตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจา ฉะนั้น วิตกและวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา เป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต ฉะนั้นสัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร.
เรื่องสัญญาเวทยิตนิโรธ
[๕๑๐] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นอย่างไร? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราจัก เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ว่าเรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ว่าเราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว ก็แต่ความคิดอันนำเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น อันท่านให้เกิดแล้วตั้งแต่แรก. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ธรรม คือ กายสังขาร วจี สังขาร จิตตสังขาร อย่างไหน ย่อมดับไปก่อน? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารดับก่อน ต่อจากนั้น กายสังขารก็ดับ จิตตสังขารดับทีหลัง. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นอย่างไร? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มิได้มีความคิดอย่าง- *นี้ว่า เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ว่าเรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติว่าเรา ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว ก็แต่ความคิดอันนำเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น อัน ท่านให้เกิดแล้วแต่แรก. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมคือกายสัง- *ขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร อย่างไหน เกิดขึ้นก่อน. ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิด ขึ้นก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารก็เกิดขึ้น วจีสังขารเกิดขึ้นทีหลัง. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ผัสสะ ๓ ประการ คือ ผัสสะชื่อสุญญตะ (รู้สึกว่าว่าง) ผัสสะชื่ออนิมิตตะ (รู้สึกว่าไม่มีนิมิต) และผัสสะชื่ออัปปณิหิตะ (รู้สึกว่าไม่มีที่ตั้ง) ย่อม ถูกต้องภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ. มีจิตน้อมไปใน ธรรมอะไร โอนไปในธรรมอะไร เอนไปในธรรมอะไร? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มีจิตน้อมไปใน วิเวก โอนไปในวิเวก เอนไปในวิเวก.
เรื่องเวทนา
[๕๑๑] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า เวทนามีเท่าไร? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เวทนานี้มี ๓ ประการ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สุขเวทนาเป็นอย่างไร ทุกขเวทนาเป็นอย่างไร อทุกขมสุขเวทนา เป็นอย่างไร? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขสำราญ อันเป็นไปทางกาย หรือ เป็นไปทางจิต นี่เป็นสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ไม่สำราญ อันเป็นไปทางกาย หรือเป็นไปทางจิต นี่เป็นทุกขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่มิใช่ความสำราญ และมิใช่ความไม่ สำราญ (เป็นส่วนกลางมิใช่สุขมิใช่ทุกข์) อันเป็นไปทางกาย หรือเป็นไปทางจิต นี่เป็น อทุกขมสุขเวทนา. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สุขเวทนา เป็นสุขเพราะอะไร เป็นทุกข์เพราะอะไร? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ สุขเวทนา เป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะแปรไป ทุกขเวทนา เป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่ เป็นสุขเพราะแปรไป อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้ชอบ เป็นทุกข์เพราะรู้ผิด. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อนุสัยอะไร ตามนอนอยู่ในสุขเวทนา อนุสัยอะไร ตามนอน อยู่ในทุกขเวทนา อนุสัยอะไร ตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัย ตามนอนอยู่ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัย ตามนอน อยู่ในทุกขเวทนา อวิชชานุสัยตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ราคานุสัยตามนอนอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมด ปฏิฆานุสัยตามนอน อยู่ในทุกขเวทนาทั้งหมด อวิชชานุสัยตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หรือหนอแล? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัย ตามนอนอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้ ปฏิฆานุสัย ตามนอนอยู่ในทุกขเวทนาทั้งหมด หามิได้ อวิชชานุสัย ตามนอนอยู่ใน อทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอะไรจะพึงละได้ในสุขเวทนา ธรรมอะไร จะพึงละได้ใน ทุกขเวทนา ธรรมอะไรจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัยจะพึงละได้ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัย จะพึงละได้ใน ทุกขเวทนา อวิชชานุสัยจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา. วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ราคานุสัยจะพึงละเสียได้ในสุขเวทนาทั้งหมด ปฏิฆานุสัยจะพึง ละเสียได้ในทุกขเวทนาทั้งหมด อวิชชานุสัยจะพึงละเสียได้ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หรือ หนอแล? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัยจะพึงละเสียได้ในสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้ ปฏิฆานุสัยจะพึงละเสียได้ในทุกขเวทนาทั้งหมด หามิได้ อวิชชานุสัยจะพึงละเสียได้ในอทุกขม- *สุขเวทนาทั้งหมด หามิได้ ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ย่อม ละราคะด้วยปฐมฌานนั้น ราคานุสัย มิได้ตามนอนอยู่ในปฐมฌานนั้น อนึ่ง ภิกษุในพระธรรม วินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นอยู่ว่า เมื่อไร เราจะได้บรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายบรรลุแล้วอยู่ ในบัดนี้ ดังนี้ เมื่อภิกษุนั้นเข้าไปตั้งความปรารถนาในวิโมกข์ทั้งหลายอันเป็นอนุตตรธรรมอย่างนี้ โทมนัสย่อมเกิดขึ้น เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย ท่านละปฏิฆะได้ด้วยความโทมนัสนั้น ปฏิฆานุสัยมิได้ตามนอนอยู่ในความโทมนัสนั้น อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ย่อมละอวิชชาได้ด้วยจตุตถฌานนั้น อวิชชานุสัยมิได้ตามนอนอยู่ในจตุต ฌานนั้น. [๕๑๒] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งสุขเวทนา? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคะเป็นส่วนเปรียบแห่งสุขเวทนา. วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งทุกขเวทนา? ธ. ปฏิฆะเป็นส่วนแห่งเปรียบแห่งทุกขเวทนา. วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งอทุกขมสุขเวทนา? ธ. อวิชชาเป็นส่วนเปรียบแห่งอทุกขมสุขเวทนา. วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งอวิชชา? ธ. วิชชาเป็นส่วนเปรียบแห่งอวิชชา. วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งวิชชา? ธ. วิมุติเป็นส่วนเปรียบแห่งวิชชา. วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งวิมุติ? ธ. นิพพานเป็นส่วนเปรียบแห่งวิมุติ วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งนิพพาน? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ท่านล่วงเลยปัญหาเสียแล้ว ไม่อาจถือเอาส่วนสุดแห่งปัญหา ได้ ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เพราะพรหมจรรย์หยั่งลงในพระนิพพาน มีพระนิพพานเป็นที่ถึงใน เบื้องหน้า มีพระนิพพานเป็นที่สุด ถ้าท่านจำนงอยู่ ก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามเนื้อ ความนี้เถิด พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างใด ท่านพึงทรงจำพระพยากรณ์นั้นไว้ อย่างนั้นเถิด.
วิสาขอุบาสกสรรเสริญธรรมทินนาภิกษุณี
[๕๑๓] ลำดับนั้น วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของธรรมทินนาภิกษุณี แล้ว ลุกจากอาสนะ อภิวาทธรรมทินนาภิกษุณี ทำประทักษิณแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบ ทูลเรื่องที่ตนสนทนาธรรมกถากับธรรมทินนาภิกษุณีให้ทรงทราบทุกประการ. เมื่อวิสาขอุบาสกกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ดูกรวิสาขะ ธรรม ทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หาก ท่านพึงสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา แม้เราก็พึง พยากรณ์เนื้อความนั้น เหมือนที่ธรรมทินนาภิกษุณี พยากรณ์แล้ว เนื้อความแห่งพยากรณ์นั้น เป็นดังนั้นนั่นแล ท่านพึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว วิสาขอุบาสก ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนั้นแล.
จบ จูฬเวทัลลสูตร ที่ ๔
-----------------------------------------------------
๕. จูฬธรรมสมาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมสมาทาน ๔
[๕๑๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่วิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๕๑๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้มี ๔ อย่าง ๔ อย่างเป็นไฉน ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไปก็มี ธรรมสมาทาน ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไปก็มี ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุข เป็นวิบากต่อไปก็มี ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไปก็มี. [๕๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โทษใน กามทั้งหลายมิได้มี สมณพราหมณ์พวกนั้น ย่อมถึงความเป็นผู้ดื่มในกามทั้งหลาย. ย่อมบำเรอ กับพวกนางปริพาชิกาที่เกล้ามวยผมและกล่าวอย่างนี้ว่า ไฉนท่านพระสมณพราหมณ์พวกนั้น เห็นภัยในอนาคตในกามทั้งหลาย จึงกล่าวการละกามทั้งหลาย บัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลาย (อันที่จริง) การสัมผัสที่แขนมีขนอ่อนนุ่มแห่งนางปริพาชิกานี้ นำให้เกิดสุข ดังนี้แล้ว ก็ถึง ความเป็นผู้ดื่มในกามทั้งหลาย. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นถึงความเป็นผู้ดื่มในกามทั้งหลายว่า แล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. เสวยทุกขเวทนา หยาบ เผ็ดร้อน ในที่ที่ตนเกิดนั้น และกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านสมณพราหมณ์พวกนั้น เห็นภัย ในอนาคตในกามทั้งหลายนี่แหละ จึงกล่าวการละกามทั้งหลาย บัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลาย พวกเรานี้ ย่อมเสวยทุกขเวทนาหยาบ เผ็ดร้อน เพราะกามเป็นปัจจัย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ- *เหมือนลูกสุกแห่งเครือเถามาลุวา (ย่านซายหรือย่างซาย) พึงแตกในเดือนท้ายฤดูร้อน. พืชแห่ง เครือเถามาลุวานั้น ตกลงที่โคนต้นสาละต้นใดต้นหนึ่ง เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้น กลัวหวาดเสียว ถึงความสะดุ้ง. พวกอาราม วนเทวดา รุกขเทวดา และพวกเทวดา ที่สิงอยู่ที่ต้นไม้อันเป็นป่าหญ้า และต้นไม้เป็นเจ้าไพร ผู้เป็นมิตรสหาย ญาติสาโลหิต แห่งเทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้นต่างก็พา กันมาปลอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญอย่ากลัวเลย ท่านผู้เจริญอย่ากลัวเลย พืชแห่งเครือเถามาลุวา นั้น บางทีนกยูงพึงกลืนกินเสีย เนื้อพึงเคี้ยวกินเสีย ไฟป่าพึงไหม้เสีย พวกทำงานในป่าพึง ถอนเสีย ปลวกพึงกัดเสีย หรือไม่เป็นพืชต่อไป. แต่พืชแห่งเครือเถามาลุวานั้น นกยูงก็ไม่ กลืนกิน เนื้อก็ไม่เคี้ยวกิน ไฟป่าก็ไม่ไหม้ พวกทำการงานในป่าก็ไม่ถอน ปลวกไม่กัด ยังคง เป็นพืชต่อไป. ถูกเมฆฝนตกรดเข้าแล้วก็งอกขึ้นโดยดี.เป็นเครือเถามาลุวาเล็ก อ่อน มีย่านห้อยย้อย เข้าไปอาศัยต้นสาละนั้น. เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้นจึงกล่าวว่า ไฉนพวกท่าน อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา และเทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้อันเป็นป่าหญ้าและต้นไม้เป็นเจ้าไพร ผู้เป็น มิตรสหาย ญาติสาโลหิต จึงเห็นภัยในอนาคตในเพราะพืชแห่งเครือเถามาลุวา พากันมาปลอบ อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญอย่ากลัวเลย ท่านผู้เจริญอย่ากลัวเลย พืชแห่งเครือเถามาลุวานั้น บางที นกยูงพึงกลืนกินเสีย เนื้อพึงเคี้ยวกินเสีย ไฟป่าพึงไหม้เสีย พวกทำการงานในป่าพึงถอนเสีย ปลวกพึงกัดเสีย หรือไม่เป็นพืชต่อไป เครือเถามาลุวานี้ เล็กอ่อน มีย่านห้อมย้อยอยู่ มีสัมผัส นำความสุขมาให้. เครือเถามาลุวานั้นเข้าพันต้นสาละนั้น. ครั้นเข้าพันแล้ว ทำให้เป็นดังร่มอยู่ ข้างบน ให้แตกเถาอยู่ข้างล่าง ทำลายลำต้นใหญ่ๆ ของต้นสาละนั้นเสีย. เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้น สาละนั้นก็กล่าวอย่างนี้ว่า พวกท่านอารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา และพวกเทวดาที่สิงอยู่ ที่ต้นไม้อันเป็นป่าหญ้าและต้นไม้เป็นเจ้าไพร เป็นผู้มิตรสหาย ญาติสาโลหิต เห็นภัยในอนาคต ในเพราะพืชแห่งเครือเถามาลุวานี้ จึงพากันมาปลอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญอย่ากลัวเลย ท่านผู้ เจริญอย่ากลัวเลย พืชแห่งเครือเถามาลุวานั้น บางทีนกยูงพึงกลืนกินเสีย เนื้อพึงเคี้ยวกินเสีย ไฟป่าพึงไหม้เสีย พวกทำการงานในป่าพึงถอนเสีย ปลวกพึงกัดเสีย หรือไม่เป็นพืชต่อไป เรานั้นเสวยทุกขเวทนาหยาบ เผ็ดร้อน เพราะพืชแห่งเครือเถามาลุวาเป็นเหตุฉันใด. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โทษในกามทั้งหลายมิได้มี จึงถึงความเป็นผู้ดื่มในกามทั้งหลาย บำเรอกับพวกนางปริพาชิกาที่เกล้ามวยผม. และกล่าวอย่างนี้ ว่า ไฉนท่านสมณเหล่านั้น จึงเห็นภัยในอนาคตในกามทั้งหลาย กล่าวการละกามทั้งหลาย บัญญัติ ความกำหนดรู้ในกามทั้งหลายว่า อันที่จริงการสัมผัสที่แขนมีขนอ่อนนุ่มแห่งนางปริพาชิกานี้ นำให้เกิดสุข จึงถึงความเป็นผู้ดื่มในการกามทั้งหลาย. ครั้นถึงความเป็นผู้ดื่มในกามทั้งหลายแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. ย่อมเสวยทุกขเวทนา หยาบ เผ็ดร้อน ในที่ที่ตนเกิดนั้น และกล่าวในที่นั้นอย่างนี้ว่า ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น เห็นภัยในอนาคตในกามทั้งหลายนี้ จึงกล่าวการละกามทั้งหลาย บัญญัติความกำหนดรู้กาม ทั้งหลายว่า พวกเรานี้ ย่อมเสวยทุกขเวทนาหยาบ เผ็ดร้อน เพราะกามเป็นปัจจัย ก็ฉันนั้น เหมือนกันดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่า มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบาก ต่อไป. [๕๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบาก ต่อไป เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริพาชกบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เปลือยกาย ปล่อยมารยาท ดีเสีย [ยืนถ่ายอุจาระ ปัสสาวะ แล้วก็กิน] เช็ดอุจจาระที่ถ่ายด้วยมือ ไม่รับภิกษาตามที่เขา- *เชิญให้รับ ไม่หยุดตามที่เขาเชิญให้หยุดไม่ยินดีภิกษาที่เขานำมาให้ ไม่ยินดีภิกษาที่เขาเจาะจงให้ ไม่ยินดีการนิมนต์ ไม่รับภิกษาที่เขาให้แต่ปากหม้อ ไม่รับภิกษาที่เขาให้แต่ปากกระเช้า ไม่รับ ภิกษาในที่มีธรณี มีสาก หรือมีท่อนไม้คั่นในระหว่าง ไม่รับภิกษาของคน ๒ คนที่กำลังกินอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ของหญิงที่กำลังให้ลูกดื่มนม ของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษา ที่เขานัดกันทำ ในที่ที่เขาเลี้ยงสุนัข ไม่รับภิกษาในที่มีหมู่แมลงวันตอม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมักดองรับภิกษาที่เรือนแห่งเดียว เฉพาะคำเดียวบ้าง รับที่ เรือนสองหลัง เฉพาะสองคำบ้าง ฯลฯ รับที่เรือนเจ็ดหลัง เฉพาะเจ็ดคำบ้าง ให้อัตภาพเป็นไป ด้วยภิกษาอย่างเดียวบ้าง สองอย่างบ้าง ฯลฯ เจ็ดอย่างบ้าง กลืนอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง ฯลฯ เจ็ดวันบ้าง เป็นผู้หมั่นประกอบเนืองๆ ในการกินภัตที่เวียนมาตลอดกึ่งเดือน แม้เช่นนี้ ด้วยประการฉะนี้อยู่ ปริพาชกนั้น กินผักดองกินข้าวฟ่าง กินลูกเดือยกินกากข้าว กินสาหร่าย กินรำ กินข้าวตัง กินข้าวไหม้ กินหญ้า กินโคมัย กินเหง้าไม้และผลไม้ในป่า กินผลไม้ที่หล่นเอง เลี้ยงอัตภาพปริพาชกนั้น ครองผ้าปอ ครองผ้าที่มีวัตถุปนกัน ครองผ้าผี ครองผ้าที่เขา ทิ้งครองผ้าเปลือกไม้ ครองหนังเสือ ครองหนังเสือที่มีเล็บ ครองผ้าคากรอง ครอง- *แผ่นผ้าที่กรองด้วยเปลือกไม้ ครองผ้ากัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์ ครองผ้าที่กรองด้วยขนปีกนกเค้า เป็นผู้ถอนผมและหนวด หมั่นประกอบเนืองๆ ในการถอนผมและหนวด ยืนในที่สูง ห้าม อาสนะเป็นผู้เดินกระโหย่ง ประกอบความเพียรในการกระโหย่ง นอนบนขวาก นอนบนหนาม หมั่นประกอบในการลงน้ำวันละ ๓ ครั้งตามประกอบความหมั่นอันทำร่างกาย ให้ลำบากเดือดร้อน หลายอย่าง เห็นปานนี้เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป. [๕๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้าโดยปรกติ ย่อมเสวย- *ทุกขโทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ เป็นผู้มีโทสะกล้าโดยปรกติ ย่อมเสวยทุกขโทมนัสอันเกิด แต่โทสะเนืองๆ เป็นผู้มีโมหะกล้าโดยปรกติ ย่อมเสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บุคคลนั้นถูกทุกข์บ้าง โทมนัสบ้าง ถูกต้องแล้ว เป็นผู้มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ แต่ ประพฤติพรหมจรรย์บริบูรณ์บริสุทธิ์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็นวิบาก ต่อไป. [๕๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีราคะกล้าโดยปรกติ ย่อมไม่ เสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ เป็นผู้ไม่มีโทสะกล้าโดยปรกติ ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัส อันเกิดแต่โทสะเนืองๆ เป็นผู้ไม่มีโมหะกล้าโดยปรกติ ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่ โมหะเนืองๆ บุคคลนั้นสงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจารมีปีติและสุขอันเกิด แต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ บรรลุตติยฌาน ... แล้วและอยู่ บรรลุจตุตถฌาน ... แล้วและอยู่เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่า มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป: ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานมี ๔ อย่างเหล่านี้แล. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ จูฬธรรมสมาทานสูตร ที่ ๕
-----------------------------------------------------
๖. มหาธรรมสมาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมสมาทาน ๔
[๕๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก- *เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๕๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยมากสัตว์ทั้งหลาย มีความ ปรารถนา มีความพอใจ มีความประสงค์อย่างนี้ว่า โอหนอ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ พึงเสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนาที่น่าใคร่ ที่น่าชอบใจ พึงเจริญยิ่ง ดังนี้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อสัตว์เหล่านั้นมีความปรารถนา มีความพอใจ มีความประสงค์อย่างนี้ ธรรมที่ไม่น่า ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนา ที่น่าใคร่ ที่น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น พวกเธอย่อมเข้าใจเหตุนั้นอย่างไร? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเค้า มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พำนัก ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งแก่พระผู้มี- *พระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงฟังจงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๕๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัป- *บุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ควรคบ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ เมื่อไม่รู้จักธรรมที่ควร เสพ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ควรคบ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ ก็เสพธรรมที่ไม่ ควรเสพ ไม่เสพธรรมที่ควรเสพ คบธรรมที่ไม่ควรคบ ไม่คบธรรมที่ควรคบ เมื่อเสพธรรม ที่ไม่ควรเสพ ไม่เสพธรรมที่ควรเสพ คบธรรมที่ไม่ควรคบ ไม่คบธรรมที่ควรคบ ธรรมที่ไม่น่า ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ก็เจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนาที่น่าใคร่ ที่น่าชอบใจ ก็เสื่อม ไป ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุอะไร? เป็นเพราะปุถุชนมิได้รู้ถูกต้อง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริย- *สาวกผู้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้ฝึกดีแล้วในธรรมของ พระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ได้ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ รู้จักธรรม ที่ควรเสพรู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ควรคบ รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ เมื่อรู้จักธรรมที่ควร- *เสพ รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ควรคบ รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ ก็ไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ เสพธรรมที่ควรเสพ ไม่คบธรรมที่ไม่ควรคบ คบธรรมที่ควรคบ เมื่อไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ เสพธรรมที่ควรเสพ ไม่คบธรรมที่ไม่ควรคบ คบธรรมที่ควรคบ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจก็เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา ที่น่าใคร่ ที่น่าชอบใจ ก็เจริญยิ่ง นั่นเป็นเพราะ เหตุไร? เป็นเพราะอริยสาวกรู้ถูกต้อง. [๕๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้มี ๔ อย่าง ๔ อย่างเป็นไฉน? ธรรมสมา- *ทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไปก็มี ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์ เป็นวิบากต่อไปก็มี ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไปก็มี ธรรมสมาทาน ที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไปก็มี. [๕๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลไม่รู้จักธรรมสมาทาน ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในอวิชชาย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ธรรมสมาทานนี้แล มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป เมื่อไม่รู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทาน นั้น เมื่อเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนา ที่น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป นั่นเป็น เพราะเหตุอะไร? เป็นเพราะบุคคลนั้นไม่รู้ถูกต้อง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลไม่รู้จักธรรมสมาทานที่มีสุข ในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในอวิชชา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ธรรมสมาทานนี้แล มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป เมื่อไม่รู้จักธรรมสมาทานนั้น ไป แล้วในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น เมื่อเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า ชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป นั่นเป็นเพราะเหตุ อะไร? เป็นเพราะบุคคลนั้นไม่รู้ถูกต้อง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลไม่รู้จักธรรมสมาทานที่มีทุกข์ ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในอวิชชา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ธรรมสมาทานนี้แล มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป เมื่อไม่รู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทาน นั้น เมื่อเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป นั่นเป็น เพราะเหตุอะไร? เป็นเพราะบุคคลนั้นไม่รู้ถูกต้อง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลไม่รู้จักธรรมสมาทานที่มีสุข ในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในอวิชชา ย่อมไม่รู้ชัดตามความจริงว่า ธรรม- *สมาทานนี้แล มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป เมื่อไม่รู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้ว ในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น. เมื่อเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า ชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป. นั่นเป็นเพราะเหตุ อะไร? เป็นเพราะบุคคลนั้นไม่รู้ถูกต้อง. [๕๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลรู้จักธรรมสมาทานที่มี ทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในวิชชาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ธรรมสมาทานนี้แล มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป. เมื่อรู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในวิชชา รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น. เมื่อไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า ชอบใจ ย่อมเสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง. นั่นเป็นเพราะ เหตุอะไร? เป็นเพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลรู้จักธรรมสมาทานที่มีสุขใน ปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในวิชชา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ธรรมสมาทาน นี้แล มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป เมื่อรู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในวิชชา รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น. เมื่อไม่เสพธรรม- *สมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อม เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง. นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร? เป็น เพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลรู้จักธรรมสมาทานที่มีทุกข์ใน ปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในวิชชา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ธรรมสมาทาน นี้แล มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป. เมื่อรู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในวิชชา รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น เมื่อไม่เสพธรรม- *สมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อม เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง. นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร? เป็น เพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลรู้จักธรรมสมาทานที่มีสุขใน ปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในวิชชา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ธรรมสมาทาน นี้แล มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป. เมื่อรู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในวิชชา รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น. เมื่อไม่เสพธรรม- *สมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง. นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร? เป็นเพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง. [๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบาก ต่อไป เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนฆ่าสัตว์ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย. เป็นคนถือเอาทรัพย์ ที่เขามิได้ให้ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะอทินนา ทานเป็นปัจจัย เป็นคนประพฤติผิดในกาม พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวย ทุกขโทมนัส เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย เป็นคนพูดเท็จ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วย โทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย. เป็นคนมีวาจาส่อเสียด พร้อมด้วย ทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะปิสุณาวาจาเป็นปัจจัย. เป็นคน มีวาจาหยาบ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะผรุส- *วาจาเป็นปัจจัย เป็นคนพูดเพ้อเจ้อ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกข- *โทมนัส เพราะสัมผัปปลาปะเป็นปัจจัย. เป็นคนมีอภิชฌามาก พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วย โทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะอภิชฌาเป็นปัจจัย เป็นคนมีจิตพยาบาทพร้อมด้วย ทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เป็นคนมี ความเห็นผิด พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัย. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป. [๕๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนฆ่าสัตว์ พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย. เป็นคนถือเอาทรัพย์ ที่เขามิได้ให้ พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะอทินนาทาน- *เป็นปัจจัย. เป็นคนประพฤติผิดในกาม พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุข โสมนัส เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย. เป็นคนพูดเท็จ พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัส บ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย. เป็นคนมีวาจาส่อเสียด พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะปิสุณาวาจาเป็นปัจจัย. เป็นคนมีวาจาหยาบ พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะผรุสวาจาเป็นปัจจัย. เป็น คนพูดเพ้อเจ้อ พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะสัมผัป- *ปลาปะเป็นปัจจัย. เป็นคนมีอภิชฌามาก พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวย- *สุขโสมนัส เพราะอภิชฌาเป็นปัจจัย. เป็นคนมีจิตพยาบาท พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัส บ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เป็นคนมีความเห็นผิด พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตกเขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินินาต นรก. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้เรากล่าวว่า มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป. [๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเว้นขาดจากปาณาติบาต พร้อม ด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากปาณาติบาตเป็น ปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากอทินนาทาน พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวย ทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากอทินนาทานเป็นปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากกาเม- *สุมิจฉาจารเป็นปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากมุสาวาท พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากมุสาวาทเป็นปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากปิสุณาวาจา พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากปิสุณาวาจา เป็นปัจจัย เป็นคนเว้นจากผรุสวาจา พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวย- *ทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากผรุสวาจาเป็นปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ พร้อม ด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็น ปัจจัย. เป็นคนไม่มีอภิชฌามาก พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะอนภิชฌาเป็นปัจจัย. เป็นคนมีจิตไม่พยาบาท พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการไม่พยาบาทเป็นปัจจัย เป็นคนมีความเห็นชอบ พร้อมด้วยทุกข์ บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย. เบื้องหน้าแต่ ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ เรากล่าว ว่า มีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป. [๕๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเว้นขาดจากปาณาติบาต พร้อม ด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากปาณาติบาตเป็น ปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากอทินนาทาน พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุข โสมนัส เพราะการเว้นจากอทินนาทานเป็นปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากกาเมสุมิจฉา- *จารเป็นปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากมุสาวาท พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุข โสมนัส เพราะการเว้นจากมุสาวาทเป็นปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากปิสุณาวาจา พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากปิสุณาวาจา เป็นปัจจัย. เป็นคน เว้นขาดจากผรุสวาจา พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะ การเว้นจากผรุสวาจาเป็นปัจจัย. เป็นคนเว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วย โสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นปัจจัย. เป็นคนไม่มี อภิชฌามาก พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะความไม่มี อภิชฌาเป็นปัจจัย. เป็นคนมีจิตไม่พยาบาท พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อม เสวยสุขโสมนัส เพราะความไม่พยาบาทเป็นปัจจัย. เป็นคนมีความเห็นชอบ พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่า มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานมี ๔ อย่างเหล่านี้แล.
อุปมา ๕ ข้อ
[๕๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนน้ำเต้าขมอันระคนด้วยยาพิษ. บุรุษที่รักชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ มาถึงเข้า ประชุมชนบอกเขาว่าดูกรบุรุษผู้เจริญ น้ำเต้าขมนี้ ระคนด้วยยาพิษ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด น้ำเต้าขมนั้น จักไม่อร่อยแก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นท่านดื่มเข้าแล้วจักถึงตาย หรือจักถึงทุกข์ปางตาย. บุรุษนั้นไม่พิจารณาน้ำ- *เต้าขมนั้นแล้ว ดื่มมิได้วาง. ก็ไม่อร่อย เพราะสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ครั้นดื่มแล้ว พึงถึงตาย หรือพึงถึงทุกข์ปางตาย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมาฉันนั้น. [๕๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนภาชนะน้ำหวานอันน่าดื่ม ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส แต่ระคนด้วยยาพิษ. บุรุษที่รักชีวิต ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ มาถึงเข้า. ประชุมชนก็บอกเขาว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ภาชนะน้ำหวานอันน่าดื่ม ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส แต่ละคนด้วยยาพิษ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด ภาชนะน้ำหวานนั้น จักชอบใจแก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นท่านดื่มเข้าแล้วจักถึงตาย หรือจักถึงทุกข์ปางตาย บุรุษนั้นไม่พิจารณา ภาชนะน้ำหวานนั้นแล้ว ดื่มมิได้วาง ก็ชอบใจทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นดื่มแล้ว พึงถึงตาย หรือพึงถึงทุกข์ปางตาย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ ที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมาฉันนั้น. [๕๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมูตรเน่าอันระคนด้วยยาต่างๆ. บุรุษที่เป็น โรคผอมเหลืองมาถึงเข้า. ประชุมชนบอกเขาว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ มูตรเน่าอันระคนด้วยยาต่างๆ นี้ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด มูตรเน่าจักไม่ชอบใจแก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ก็แต่ ท่านครั้นดื่มเข้าไปแล้ว จักมีสุข. บุรุษนั้นพิจารณาแล้วดื่มมิได้วาง ก็ไม่ชอบใจ ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นดื่มแล้ว ก็มีสุข แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ ที่มีทุกข์ ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมาฉันนั้น. [๕๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อย เขา ระคนเข้าด้วยกัน. บุรุษผู้เป็นโรคลงโลหิตมาถึงเข้า ประชุมชนบอกเขาว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ นมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อยนี้ เขาระคนรวมกันเข้า ท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด ยานั้นจักชอบใจ แก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส และท่านครั้นดื่มเข้าแล้ว จักมีสุข. บุรุษนั้นพิจารณายานั้น แล้ว ดื่มมิได้วาง ก็ชอบใจทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นดื่มเข้าแล้ว ก็มีสุข แม้ฉันใด ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ ที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมา ฉันนั้น. [๕๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสารทสมัยเดือนท้ายแห่งฤดูฝน ในอากาศอันโปร่ง ปราศจากเมฆ ดวงอาทิตย์ลอยอยู่ในท้องฟ้า กำจัดมืดอันมีในอากาศทั้งสิ้นย่อมส่องสว่าง แผดแสง ไพโรจน์ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบาก ต่อไป กำจัดแล้วซึ่งวาทะของประชาชน คือ สมณะ และพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่น ย่อม สว่างรุ่งเรือง ไพโรจน์ ฉันนั้นเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
จบ มหาธรรมสมาทานสูตรที่ ๖
-----------------------------------------------------
๗. วีมังสกสูตร
ว่าด้วยการตรวจดูธรรม
[๕๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้: สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๕๓๖] พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา เมื่อ ไม่รู้วาระจิตของผู้อื่น พึงทำการตรวจดูในตถาคตเพื่อทราบว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัม พุทธเจ้าหรือไม่. ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเค้า มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พำนัก ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งแก่พระผู้มี พระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงฟังจงจำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๕๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอันภิกษุผู้พิจารณา เมื่อไม่ รู้วาระจิตของผู้อื่น พึงตรวจดูในธรรม ๒ ประการ คือ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเศร้าหมองของตถาคต มีอยู่หรือไม่. เมื่อตรวจดูตถาคตนั้น ก็จะรู้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเศร้าหมองของตถาคต มิได้มี เมื่อใด ตรวจดู ตถาคตนั้นรู้อย่างนี้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเศร้าหมองของตถาคต มิได้มี แต่นั้น ก็ตรวจดูตถาคตนั้นต่อไปว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกัน [ดำบ้าง ขาวบ้าง คือเป็นอกุศลบ้าง กุศลบ้าง] ของตถาคต มีอยู่หรือไม่. เมื่อตรวจดูตถาคตนั้นก็จะรู้ว่า ธรรม ที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกันของตถาคต มิได้มี เมื่อใด ตรวจดูตถาคตนั้นรู้อย่างนี้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกันของตถาคต มิได้มี แต่นั้นก็ตรวจดูตถาคตนั้นต่อไป ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันผ่องแผ้วของตถาคต มีอยู่หรือไม่ เมื่อตรวจดูตถาคต นั้นก็จะรู้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันผ่องแผ้วของตถาคต มีอยู่ เมื่อใด ตรวจดูตถาคต นั้นรู้อย่างนี้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันผ่องแผ้วของตถาคตมีอยู่ แต่นั้น ก็ตรวจดู ตถาคตนั้นต่อไปว่า พระศาสดาผู้มีอายุนี้ถึงพร้อมกุศลธรรมนี้ สิ้นกาลนาน หรือว่าพระศาสดา ผู้มีอายุนี้ถึงพร้อมสิ้นกาลนิดหน่อย. เมื่อตรวจดูตถาคตนั้นก็จะรู้ว่า พระศาสดาผู้มีอายุนี้ถึงพร้อม กุศลธรรมนี้สิ้นกาลนาน มิใช่ว่า พระศาสดาผู้มีอายุนี้ถึงพร้อมสิ้นกาลนิดหน่อย. เมื่อใด ตรวจ ดูตถาคตนั้นรู้อย่างนี้ว่า พระศาสดาผู้มีอายุนี้ถึงพร้อมกุศลธรรมนี้สิ้นกาลนาน มิใช่ว่า พระศาสดา ผู้มีอายุนี้ถึงพร้อมสิ้นกาลนิดหน่อย แต่นั้นก็ตรวจดูตถาคตต่อไปว่า ภิกษุผู้มีอายุนี้ถึงความปรากฏ ถึงความมียศแล้ว โทษบางชนิดในโลกนี้ของภิกษุนั้นมีอยู่บ้างหรือไม่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ยังไม่มีโทษบางชนิดในโลกนี้ ชั่วเวลาที่ตนไม่ถึงความปรากฏ ถึงความมียศ แต่เมื่อใด ภิกษุ ถึงความปรากฏ ถึงความมียศแล้ว เมื่อนั้น จึงมีโทษบางชนิดในโลกนี้. ภิกษุผู้พิจารณาเมื่อตรวจ ดูตถาคตนั้นก็รู้ว่า ภิกษุผู้มีอายุนี้ถึงความปรากฏ ถึงความมียศแล้ว มิได้มีโทษบางชนิดในโลกนี้ เมื่อใด ตรวจดูตถาคตนั้นก็รู้อย่างนี้ว่า ภิกษุผู้มีอายุนี้ถึงความปรากฏ ถึงความมียศแล้ว มิได้มี โทษบางชนิดในโลกนี้ แต่นั้น ก็ตรวจดูตถาคตต่อไปว่า ผู้มีอายุนี้ ไม่ประกอบด้วยภัย ท่านผู้มี อายุนี้ หาประกอบด้วยภัยไม่ เพราะมีราคะไปปราศแล้ว ไม่เสพกามทั้งหลาย เพราะสิ้นราคะ เมื่อตรวจดูตถาคตนั้น ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุนี้ ประกอบด้วยความไม่มีภัย หาเป็นผู้ประกอบ ด้วยภัยไม่ เพราะมีราคะไปปราศแล้ว ไม่เสพกามทั้งหลาย เพราะสิ้นราคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากชนเหล่าอื่นพึงถามภิกษุนั้นว่า ก็อาการกิริยาที่ส่อแสดงของท่านผู้มีอายุเป็นอย่างไร ที่เป็นเหตุ ให้ท่านกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุนี้ ไม่ประกอบด้วยภัย ท่านผู้มีอายุนี้ หาประกอบด้วยภัยไม่ เพราะ มีราคะไปปราศแล้ว ไม่เสพกามทั้งหลาย เพราะสิ้นราคะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะ พยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ก็จริงอย่างนั้น ท่านผู้มีอายุนี้ บางทีก็อยู่ในหมู่ บางที ก็อยู่ผู้เดียวในหมู่นั้น พวกที่ดำเนินดีก็มี พวกที่สั่งสอนคณะก็มี พวกที่ดำเนินชั่วก็มี บาง พวกที่ติดอยู่ในอามิสทั้งหลายในโลกนี้ก็มี บางพวกที่ไม่ติดเพราะอามิสในโลกนี้ก็มี ท่านผู้มีอายุ นี้ หาดูหมิ่นบุคคลนั้นด้วยเหตุนั้นไม่. เราได้สดับรับข้อนี้มาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ว่า เราเป็นผู้ไม่ประกอบด้วยภัย เราหาเป็นผู้ประกอบด้วยภัยไม่ เพราะมีราคะไปปราศแล้ว ไม่ เสพกามทั้งหลาย เพราะสิ้นราคะ.
การสอบถาม
[๕๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในพวกภิกษุผู้พิจารณานั้น ภิกษุผู้พิจารณารูปหนึ่งควรสอบ ถามตถาคตต่อไปว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเศร้าหมองของตถาคต มีอยู่หรือไม่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเมื่อจะพยากรณ์ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและ โสตอันเศร้าหมองของตถาคต มิได้มี. ภ. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกัน ของพระตถาคต มีอยู่หรือไม่. พ. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกันของตถาคต มิได้มี. ภ. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตที่ผ่องแผ้วของตถาคต มีอยู่หรือไม่. พ. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตที่ผ่องแผ้วของตถาคต มีอยู่ เราเป็นผู้มีธรรมที่ ผ่องแผ้วนั้นเป็นทาง มีธรรมที่ผ่องแผ้วนั้นเป็นโคจร เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่ใช่เป็นผู้มีตัณหา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาวกควรจะเข้าหาศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ เพื่อฟังธรรม ศาสดาย่อมแสดง ธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำ ส่วนขาว แก่สาวกนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาย่อมแสดงธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำส่วนขาวแก่ภิกษุ ด้วย ประการใดๆ ภิกษุนั้น รู้ยิ่งธรรมบางอย่างในธรรมนั้นด้วยประการนั้นๆ ย่อมถึงความตกลงใจใน ธรรมทั้งหลาย ย่อมเลื่อมใสในศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากชนพวกอื่น พึงถามภิกษุนั้นอีกอย่างนี้ว่า ก็อาการกิริยาที่ส่อแสดงของท่านผู้มีอายุเป็นอย่างไร ที่เป็นเหตุให้ ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัส ดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว. ภิกษุนั้นเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อจะฟังธรรม พระผู้มีพระภาค ย่อมทรงแสดง ธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำส่วนขาวแก่เรานั้น ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มี พระภาค ย่อมทรงแสดงธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำส่วนขาวแก่เราด้วย ประการใดๆ เรารู้ยิ่งธรรมบางอย่างในธรรมนั้นด้วยประการนั้นๆ ถึงแล้วซึ่งความตกลงใจในธรรม ทั้งหลาย เลื่อมใสแล้วในพระศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว. [๕๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ตั้งมั่นแล้วในพระตถาคตมีมูล มีที่อาศัย ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะ เหล่านี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธานี้ เรากล่าวว่า มีเหตุ มีทัสสนะ [โสดาปัตติมรรค] เป็น มูลมั่นคง อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือใครๆ ในโลกไม่พึงให้กวัดแกว่งได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การตรวจดูธรรมในตถาคต ย่อมมีอย่างนี้แล ก็แหละตถาคตอันภิกษุผู้พิจารณา ตรวจดูดีแล้วโดยธรรมเป็นอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดี พระภาษิตของ พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
จบ วีมังสกสูตรที่ ๗
-----------------------------------------------------
๘. โกสัมพิยสูตร
ทรงโปรดภิกษุชาวเมืองโกสัมพี
[๕๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารโฆสิตารามเขตพระนครโกสัมพี. สมัยนั้น พวกภิกษุในเมืองโกสัมพี เกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกัน ด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่ยังกันและกันให้เข้าใจ ไม่ปรารถนาความเข้าใจกัน ไม่ยังกันและกันให้ ปรองดอง ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส พวกภิกษุในเมืองโกสัมพี เกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่ยังกันและกันให้เข้าใจ ไม่ปรารถนาความเข้าใจกัน ไม่ยังกันและกันให้ปรองดอง ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วรับสั่งว่า ดูกรภิกษุ เธอจงมา เธอจงเรียกภิกษุเหล่านั้นมาตามคำของเราว่า พระศาสดาของพวกเรารับสั่งให้หาพวกท่านผู้มีอายุ. ภิกษุรูปนั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้แล้ว เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นแล้ว บอกว่า พระศาสดารับสั่งให้หาท่านผู้มีอายุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับคำภิกษุนั้นว่า อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ ดังนี้ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. [๕๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายได้ยินว่า พวกเธอ เกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่ยังกันและกันให้เข้าใจ ไม่ปรารถนาความเข้าใจกัน ไม่ยังกันและกันให้ปรองดอง ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน จริงหรือ? ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมัยใด พวกเธอ เกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ สมัยนั้น พวกเธอ เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม และเมตตามโนกรรม ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง บ้างหรือหนอ? ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนั้นไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เช่นนี้ก็เป็นอันว่า สมัยใด พวกเธอ เกิด ขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ สมัยนั้นพวกเธอมิได้เข้าไปตั้ง เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม และเมตตามโนกรรมในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า และลับหลัง ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย เมื่อเป็นดังนั้น พวกเธอรู้อะไร เห็นอะไร จึงเกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่ยังกันและกันให้เข้าใจ ไม่ ปรารถนาความเข้าใจกัน ไม่ยังกันและกันให้ปรองดอง ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน ดูกรโมฆ- *บุรุษทั้งหลาย ข้อนั้นนั่นแหละ จักมีเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ แก่เธอทั้งหลายตลอด กาลนาน.
ว่าด้วยสาราณิยธรรม ๖
[๕๔๒] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความ สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน ๖ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมอันประกอบด้วย เมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ ความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน สพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรัก กัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อม เพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน สพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียง กัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีลาภเกิดขึ้นโดยธรรม ได้มาโดยธรรม ที่สุดเป็น ลาภสักว่าอาหารที่เนื่องในบาตร ก็บริโภคโดยไม่เกียดกันไว้เพื่อตน บริโภคเป็นสาธารณะกับ เพื่อนสพรหมจารีผู้มีศีล ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็น พวกเดียวกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีศีลไม่ขาด ไม่เป็นช่อง ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็น ไท อันท่านผู้รู้สรรเสริญ อันตัณหาทิธรรมไม่ครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ถึงความเป็นผู้มีศีล เสมอกันในศีลเช่นนั้นกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้ เป็น เหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อ ความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีทิฏฐิอันไกลจากข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรม อันนำ ออกซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ถึงความเป็นผู้เสมอกันด้วยทิฏฐิในทิฏฐิเช่น นั้นกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึง กัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันเพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำ ความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก เป็นนิยยานิก- *ธรรม นำออกซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ เป็นยอดยึดคุมธรรม ๖ ประการนี้ ที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกันไว้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนยอดเป็นที่สูงสุด เป็นที่ยึดคุมของเรือนยอด ฉันใด ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรม นำออก ซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นยอดยึดคุมธรรม ๖ ประการนี้ ที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน.
ทิฏฐิที่เป็นนิยยานิกธรรม
[๕๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรม นำ ออกซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนต้นไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เรา มีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสใดกลุ้มรุมแล้ว ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง ปริยุฏฐานกิเลสในภายใน นั้นที่เรายังละไม่ได้ มีอยู่หรือหนอ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอัน ปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว มีจิตอันถีนมิทธะกลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐาน กิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว มีจิตอันอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุม แล้วเทียว มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว เป็น ผู้ขวนขวายในการคิดเรื่องโลกนี้ ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว เป็นผู้ขวน ขวายในการคิดเรื่องโลกหน้า ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว และเกิด ขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลส กลุ้มรุมแล้วเทียว ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เรามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสใดกลุ้มรุมแล้ว ไม่ พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง ปริยุฏฐานกิเลสในภายในนั้นที่เรายังละไม่ได้แล้ว มิได้มีเลย จิตเรา ตั้งไว้ดีแล้ว เพื่อตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย. นี้ญาณที่ ๑ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวก ปุถุชน อันภิกษุนั้นบรรลุแล้ว. [๕๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้ ย่อมได้ความระงับเฉพาะตน ย่อมได้ความดับกิเลสเฉพาะตนหรือหนอ? อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้ ย่อมได้ความระงับเฉพาะตน ย่อมได้ความดับกิเลสเฉพาะตน. นี้ญาณที่ ๒ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว. [๕๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราประกอบ ด้วยทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้น มีอยู่หรือ หนอ? อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือพราหมณ์อื่น นอกธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้น มิได้มี. นี้ญาณที่ ๓ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว. [๕๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บุคคลผู้ถึง พร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา นี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ ความออกจากอาบัติเช่นใด ย่อมปรากฏ อริยสาวกย่อม ต้องอาบัติเช่นนั้นบ้างโดยแท้ ถึงอย่างนั้น อริยสาวกนั้นรีบแสดง เปิดเผย ทำให้ตื้น ซึ่งอาบัติ นั้น ในสำนักพระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย ครั้นแสดงเปิดเผย ทำให้ ตื้นแล้ว ก็ถึงความสำรวมต่อไป. เปรียบเหมือนกุมารที่อ่อนนอนหงาย ถูกถ่านไฟ ด้วยมือหรือ ด้วยเท้าเข้าแล้ว ก็ชักหนีเร็วพลัน ฉะนั้น. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อม ด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดา เช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น. นี้ญาณที่ ๔ เป็น อริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว. [๕๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บุคคลผู้ถึง พร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา นี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ อริยสาวกถึงความขวนขวายในกิจใหญ่น้อยที่ควรทำอย่างไร ของเพื่อนสพรหมจารีโดยแท้ ถึงอย่างนั้น ความเพ่งเล็งกล้าในอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และ อธิปัญญาสิกขา ของอริยสาวกนั้นก็มีอยู่ เปรียบเหมือนแม่โคลูกอ่อน ย่อมเล็มหญ้ากินด้วย ชำเลืองดูลูกด้วยฉะนั้น. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอยู่อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบ ด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น. นี้ญาณที่ ๕ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว. [๕๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บุคคลผู้ถึง พร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละนี้ของบุคคลผู้ถึง พร้อมด้วยทิฏฐิ คือ อริยสาวกนั้น เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบัณฑิตแสดงอยู่ ทำให้มีประโยชน์ทำไว้ในใจ กำหนดด้วยจิตทั้งปวง เงี่ยโสตฟังธรรม. อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ ว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น. นี้ญาณ ที่ ๖ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว. [๕๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า บุคคล ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละนี้ของ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ อริยสาวกนั้น เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบัณฑิต แสดงอยู่ ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม. อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบ ด้วยพละเช่นนั้น. นี้ญาณที่ ๗ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้น บรรลุแล้ว. [๕๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาอันอริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการอย่างนี้ ตรวจดูดีแล้ว ด้วยการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วย องค์ ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้เพรียบพร้อมด้วยโสดาปัตติผล ฉะนี้แล. พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดี พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
จบ โกสัมพิยสูตรที่ ๘
-----------------------------------------------------
๙. พรหมนิมันตนิกสูตร
ว่าด้วยพกพรหมมีทิฏฐิอันลามก
[๕๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า. [๕๕๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยหนึ่ง เราอยู่ ที่โคนต้นรังใหญ่ในสุภควัน ใกล้เมืองอุกกัฏฐา. ก็สมัยนั้นแลพกพรหมมีทิฏฐิอันลามกเห็นปาน ฉะนี้ เกิดขึ้นว่า พรหมสถานนี้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา พรหมสถานนี้แล ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แหละเหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์ อย่างยิ่งนอกจากพรหมสถานนี้ไม่มี ดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เรารู้ความปริวิตกแห่งใจ พกพรหมด้วยใจแล้ว จึงหายไปที่โคนต้นรังใหญ่ ในสุภควันใกล้เมืองอุกกัฏฐา ไปปรากฏในพรหม โลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษที่มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พกพรหมได้เห็นเราผู้มาแต่ไกล แล้วได้พูดกะเราว่า ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ เชิญมาเถิด ท่านมาดีแล้ว นานทีเดียวที่ท่านเพิ่งทำปริยายเพื่อจะมาในที่นี้ ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ พรหมสถานนี้ เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา พรหมสถานนี้แลไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แหละเหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์อย่างยิ่ง นอกจากพรหมสถานนี้ไม่มี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะพกพรหมว่า ดูกรท่านผู้เจริญ พกพรหมไปในอวิชชาแล้วหนอ พกพรหมไปในอวิชชาแล้วหนอ เพราะว่าพกพรหมกล่าวสิ่งที่ไม่ เที่ยงนั่นแลว่า เที่ยง กล่าวสิ่งที่ไม่ยั่งยืนนั่นแลว่า ยั่งยืน กล่าวสิ่งที่ไม่มั่นคงนั่นแลว่า มั่นคง กล่าวสิ่งที่ไม่แข็งแรงนั่นแลว่า แข็งแรง กล่าวสิ่งที่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดานั่นแลว่า มีความ ไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา ก็แหละสัตว์ทั้งเกิด ทั้งแก่ ทั้งตาย ทั้งจุติ ทั้งอุบัติอยู่ในพรหมสถานใด พกพรหมก็กล่าวพรหมสถานนั้นอย่างนั้นว่า พรหมสถานนี้แล ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ และกล่าวเหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นอันมีอยู่ว่า เหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์ อย่างยิ่งอื่นไม่มี.
มารเข้าสิงกายพรหม
[๕๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มารผู้ลามกเข้าสิงกายของพรหมปาริสัชชะผู้หนึ่ง แล้ว กล่าวกะเราว่า ดูกรภิกษุๆ อย่ารุกรานพกพรหมนี้เลย อย่ารุกรานพกพรหมนี้เลย ดูกรภิกษุ เพราะว่า พรหมผู้นี้เป็นมหาพรหมเป็นใหญ่ (ปกครองคณะพรหม) อันคณะพรหมไม่ฝ่าฝืนได้ โดยที่แท้เป็นผู้ดูทั่วไป ยังสรรพสัตว์ให้เป็นไปในอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้างโลก นิรมิตโลก เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้แต่งสัตว์ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นบิดาของเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วและกำลังจะ เกิด. ดูกรภิกษุ สมณะและพราหมณ์พวกก่อนท่าน เป็นผู้ติเตียนดิน เกลียดดิน เป็นผู้ติเตียนน้ำ เกลียดน้ำ เป็นผู้ติเตียนไฟ เกลียดไฟ เป็นผู้ติเตียนลม เกลียดลม เป็นผู้ติเตียนสัตว์ เกลียดสัตว์ เป็นผู้ติเตียนเทวดา เกลียดเทวดา เป็นผู้ติเตียนปชาบดี เกลียดปชาบดี เป็นผู้ติเตียนพรหม เกลียดพรหมในโลก (ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา) สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น เมื่อกายแตกขาดจากลมปราณ ต้องไปเกิดในหีนกาย. (จตุราบาย) ดูกรภิกษุ ส่วนสมณพราหมณ์ พวกก่อนท่าน เป็นผู้สรรเสริญดิน ชมเชยดิน เป็นผู้สรรเสริญน้ำ ชมเชยน้ำ เป็นผู้สรรเสริญไฟ ชมเชยไฟ เป็นผู้สรรเสริญลม ชมเชยลม เป็นผู้สรรเสริญสัตว์ ชมเชยสัตว์ เป็นผู้สรรเสริญ เทวดาชมเชยเทวดา เป็นผู้สรรเสริญปชาบดี ชมเชยปชาบดี เป็นผู้สรรเสริญพรหม ชมเชยพรหม สมณพราหมณ์เหล่านั้น เมื่อกายแตกขาดจากลมปราณ ก็ไปเกิดในกายที่ประณีต. (พรหมโลก) ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้น เราจึงขอบอกกะท่านอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ เชิญเถิด ท่านจงทำ ตามคำที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น ท่านจงอย่าฝ่าฝืนคำของพรหมเลย ดูกรภิกษุถ้าท่านจักฝ่าฝืน คำของพรหม. โทษจักมีแก่ท่าน เปรียบเหมือนบุรุษเอาท่อนไม้ตีไล่ศิริที่มาหา หรือเปรียบเหมือน บุรุษผู้จะตกเหวที่ลึก ชักมือและเท้าให้ห่างแผ่นดินเสีย ฉะนั้น. ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ เชิญเถิด ท่านจงทำตามคำที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น ท่านจงอย่าฝ่าฝืนคำของพรหมเลย ดูกรภิกษุท่านย่อม เห็นพรหมบริษัทประชุมกันแล้วมิใช่หรือ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารผู้ลามกย่อมเปรียบเทียบเรากะ- *พรหมบริษัทดังนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะมารผู้ลามก นั้นว่าแน่ะมาร เราย่อมรู้จักท่าน ท่านอย่าเข้าใจว่า พระสมณะไม่รู้จักเรา แน่ะมาร ท่านเป็นมาร พรหมก็ดี พวกพรหมบริษัทก็ดี พวกพรหมปาริสัชชะก็ดี ทั้งหมดนั่นแลอยู่ในมือของท่าน ตกอยู่ในอำนาจของท่าน และท่านมีความดำริว่า แม้สมณะก็ต้องอยู่ในมือของเราต้องตกอยู่ ในอำนาจของเรา ก็แต่ว่า เราไม่ได้อยู่ในมือของท่าน ไม่ได้ตกอยู่ในอำนาจของท่าน.
พกพรหมหายไปจากพระผู้มีพระภาค
[๕๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว พกพรหมได้กล่าวว่า ดูกรท่านผู้ นฤทุกข์ ก็เรากล่าวสิ่งที่เที่ยงนั่นแลว่า เที่ยง กล่าวสิ่งที่มั่นคงนั่นแลว่า มั่นคง กล่าวสิ่งที่ยั่งยืน นั่นแลว่า ยั่งยืน กล่าวสิ่งที่แข็งแรงนั่นแลว่า แข็งแรง กล่าวสิ่งที่ไม่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดา นั่นแลว่า ไม่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดา. ก็แหละสัตว์ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ในพรหมสถานใด เรากล่าวพรหมสถานนั้นแหละว่า พรหมสถานนี้แล ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ และกล่าวเหตุที่ออกไปจากทุกข์อย่างยิ่งอื่น ไม่มีว่า เหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์ อย่างยิ่งอื่นไม่มี. ดูกรภิกษุ สมณะและพราหมณ์พวกที่มีก่อนท่านได้มีแล้วในโลก อายุทั้งสิ้นของ ท่านเท่าไร กรรมที่ทำด้วยตบะของท่านมีเท่านั้น. สมณะและพราหมณ์เหล่านั้นแล พึงรู้ซึ่งเหตุ เป็นที่ออกไปจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นมีอยู่ว่า เหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นมีอยู่ หรือพึงรู้ซึ่ง เหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นไม่มีอยู่ว่า เหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นไม่มีอยู่. ดูกรภิกษุ เพราะเหตุไรเราจึงกล่าวกะท่านอย่างนี้ เพราะว่าท่านจักไม่เห็นเหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์ อย่างยิ่งอื่นเลย และท่านจักเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบาก แห่งความคับแค้นอย่างเดียวเท่านั้น. ดูกรภิกษุ ถ้าแลท่านจักกลืนกินแผ่นดินได้ไซร้ ท่านก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้เรา นอนในที่อยู่ ของเรา เราพึงทำได้ตามประสงค์ เราพึงห้ามได้. ถ้าและท่านจักกลืนกินน้ำ ไฟลม เหล่าสัตว์ เทวดา ปชาบดี พรหมได้ไซร้ ท่านก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้เรา นอนในที่อยู่ของเรา เราพึงทำ ได้ตามประสงค์ เราพึงห้ามได้ ดังนี้. เรากล่าวว่า ดูกรพรหม แม้เราแลย่อมรู้เหตุนี้. ถ้าเราจักกลืน กินแผ่นดินได้ไซร้ เราก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้ท่าน นอนในที่อยู่ของท่าน ท่านพึงทำได้ตาม ประสงค์ ท่านพึงห้ามได้. ถ้าและเราจักกลืนกินน้ำ ไฟ ลม เหล่าสัตว์ เทวดา ปชาบดี พรหม ได้ไซร้ เราก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้ท่าน นอนในที่อยู่ของท่าน ท่านพึงทำได้ตามประสงค์ ท่าน พึงห้ามได้. ดูกรพรหม ใช่แต่เท่านั้น เราย่อมรู้ความสำเร็จ และย่อมรู้อานุภาพของท่านว่า พกพรหมมีฤทธิ์มากอย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมากอย่างนี้ พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้. พกพรหม ถามเราว่า ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ ก็ท่านย่อมรู้ความสำเร็จ และย่อมรู้อานุภาพของเราว่า พกพรหม มีฤทธิ์มากอย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมากอย่างนี้ พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้อย่างไร? เรากล่าวว่า ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมโคจรส่องทิศให้สว่างอยู่เท่าใด อำนาจของท่านย่อมเป็นไปในพันจักรวาลเท่านั้น ท่านย่อมรู้จัก สัตว์ที่เลวและสัตว์ที่ประณีต รู้จักสัตว์ที่มีราคะและสัตว์ที่ไม่มี ราคะ รู้จักจักรวาลนี้และจักรวาลอื่น และรู้จักความมาและ ความไปของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้. ดูกรพรหม เราย่อมรู้ความสำเร็จ และย่อมรู้อานุภาพของท่านอย่างนี้ว่า พกพรหมมีฤทธิ์ มากอย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมากอย่างนี้ พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้. ดูกรพรหม กาย ๓ อย่างอื่นมีอยู่ ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นในกาย ๓ อย่างนั้น เราย่อมรู้ ย่อมเห็นกายเหล่านั้น. ดูกรพรหม กายชื่ออาภัสสระมีอยู่. ท่านเคลื่อนแล้วจากที่ใด มาอุบัติแล้วในที่นี้ ท่านมีสติหลงลืมไปเพราะ ความอยู่อาศัยนานนัก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่รู้ไม่เห็นกายนั้น เราย่อมรู้ ย่อมเห็นกายนั้น. ดูกรพรหม เราเป็นผู้ไม่สม่ำเสมอกับท่านด้วยความรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เราเป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมี แต่ที่ไหน โดยที่แท้ เรานี่แหละเป็นผู้สูงยิ่งกว่าท่าน. ดูกรพรหม กายชื่อสุภกิณหะ กายชื่อเวหัป- *ผละมีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นกายนั้น เราย่อมรู้ ย่อมเห็นกายนั้น. ดูกรพรหม เราเป็น ผู้ไม่สม่ำเสมอกับท่านด้วยความรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เราเป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน โดยที่แท้ เรานี่แหละเป็นผู้สูงยิ่งกว่าท่าน. ดูกรพรหม เรารู้จักดินแลโดยความเป็นดิน รู้จักนิพพานอันสัตว์ เสวยไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน แล้วไม่เป็นดิน ไม่ได้มีแล้วในดิน ไม่ได้มีแล้วแต่ดิน ไม่ได้ มีแล้วว่าดินของเรา ไม่ได้กล่าวเฉพาะดิน. ดูกรพรหมเราเป็นผู้ไม่สม่ำเสมอกับท่านด้วยความรู้ ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เราเป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน โดยที่แท้ เรานี่แหละเป็นผู้สูงกว่าท่าน. ดูกรพรหม เรารู้จักน้ำ ... ดูกรพรหม เรารู้จักไฟ ... ดูกรพรหม เรารู้จักลม ... ดูกรพรหม เรารู้จักเหล่า สัตว์ ... ดูกรพรหม เรารู้จักเทวดา ... ดูกรพรหม เรารู้จักปชาบดี ... ดูกรพรหม เรารู้จักพรหม ... ดูกรพรหม เรารู้จักพวกอาภัสสรพรหม ... ดูกรพรหม เรารู้จักพวกสุภกิณหพรหม ... ดูกรพรหม เรารู้จักพวก เวหัปผลพรหม ... ดูกรพรหม เรารู้จักอภิภูพรหม ... ดูกรพรหม เรารู้จักสิ่งทั้งปวงโดยความเป็นสิ่ง ทั้งปวง รู้จักนิพพานอันสัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง แล้วไม่เป็นสิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีแล้วในสิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีแล้วแต่สิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีแล้วว่าสิ่งทั้งปวงของเรา ไม่ได้กล่าว เฉพาะสิ่งทั้งปวง. ดูกรพรหม เราเป็นผู้ไม่สม่ำเสมอกับท่านด้วยความรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เรา เป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน โดยที่แท้ เรานี่แหละเป็นผู้สูงกว่าท่าน. พกพรหมกล่าวกะเราว่า ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ ถ้าแลเพราะท่านรู้นิพพานที่สัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง ถ้อยคำของท่านอย่าได้ว่างเสียเลย อย่าได้เปล่าเสียเลย. นิพพานอันผู้บรรลุพึงรู้แจ้งได้ เป็นอนิ- *ทัสสนะ (ไม่เห็นได้ด้วยจักษุวิญญาณ) เป็นอนันตะ (ไม่มีที่สุด หรือ หายไปจากความเกิดขึ้นและ ความเสื่อม) มีรัศมีในที่ทั้งปวง อันสัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน โดยความที่น้ำเป็นน้ำ โดยความที่ไฟเป็นไฟ โดยความที่ลมเป็นลม โดยความที่เหล่าสัตว์เป็นเหล่าสัตว์ โดยความที่เทวดา เป็นเทวดา โดยความที่ปชาบดีเป็นปชาบดี โดยความที่พรหมเป็นพรหม โดยความที่เป็นอาภัสสร- *พรหมเป็นอาภัสสรพรหม โดยความที่สุภกิณหพรหมเป็นสุภกิณหพรหม โดยความที่เวหัปผลพรหม เป็นเวหัปผลพรหม โดยความที่อภิภูพรหมเป็นอภิภูพรหม โดยความที่สิ่งทั้งปวง เป็นสิ่งทั้งปวง. พกพรหมกล่าวกะเราว่า ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ มิฉะนั้น บัดนี้เราจะหายไปจากท่าน. เรากล่าวว่า ดูกรพรหม ผิฉะนั้น บัดนี้ ถ้าท่านอาจจะหายไปได้ ก็จงหายไปเถิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พกพรหมกล่าวว่า เราจักหายไปจากพระสมณโคดม เราจักหายไปจากพระสมณโคดม แต่ก็ไม่อาจหายไปจากเราได้โดยแท้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้ กล่าวกะพกพรหมว่า ดูกรพรหมผิฉะนั้น บัดนี้ เราจะหายไปจากท่าน. พกพรหมกล่าวว่า ดูกร ท่านผู้นฤทุกข์ ผิฉะนั้น บัดนี้ ถ้าท่านอาจหายไปได้ ก็จงหายไปเถิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น เราบันดาลอิทธาภิสังขารให้เป็นเหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พรหมก็ดี พวกพรหมบริษัท ก็ดี พวกพรหมปาริสัชชะก็ดี ย่อมได้ยินเสียงเรา แต่มิได้เห็นตัวเรา ดังนี้. เราหายไปแล้ว ได้ กล่าวคาถานี้ว่า:- เราเห็นภัยในภพ และเห็นภพของสัตว์ผู้แสวง หาที่ปราศจากภพแล้ว ไม่กล่าวยกย่องภพ อะไรเลย ทั้งไม่ยังนันทิให้เกิดขึ้นด้วย ดังนี้. [๕๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พรหมก็ดี พวกพรหมบริษัทก็ดี พวกพรหมปาริสัชชะ ก็ดี ได้มีความแปลกประหลาดอัศจรรย์จิตว่า ดูกรท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ แปลกประหลาดหนอ พระสมณ- *โคดม มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ก่อนแต่นี้พวกเราไม่ได้เห็น ไม่ได้ยินสมณะหรือพราหมณ์อื่น ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เหมือนพระสมณโคดมนี้ ผู้ออกผนวชแต่ศากยสกุล ถอนภพพร้อม ทั้งรากแห่งหมู่สัตว์ ผู้รื่นรมย์ยินดีในภพ เมาในภพ.
มารเข้าสิงกายพรหม
[๕๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มารผู้ลามก เข้าสิงกายพรหมปาริสัชชะผู้หนึ่งแล้ว กล่าวกะเราว่า ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ ถ้าท่านรู้จักอย่างนี้ ตรัสรู้อย่างนี้ ก็อย่าแนะนำ อย่าแสดงธรรม อย่าทำความยินดี กะพวกสาวกและพวกบรรพชิตเลย. ดูกรภิกษุ สมณะและพราหมณ์พวกก่อนท่าน ผู้ปฏิญญาว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลก สมณะและพราหมณ์พวกนั้น แนะนำ แสดงธรรม ทำความยินดี กะพวกสาวกและพวกบรรพชิต ครั้นกายแตกขาดลมปราณ ก็ไปเกิด ในหีนกาย. ส่วนสมณะและพราหมณ์พวกก่อนท่าน ผู้ปฏิญญาว่าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ- *เจ้าในโลก สมณะและพราหมณ์พวกนั้น ไม่แนะนำ ไม่แสดงธรรม ไม่ทำความยินดี กะพวก สาวกบรรพชิต ครั้นกายแตกขาดลมปราณก็ไปเกิดในปณีตกาย. ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้น เราจึง บอกกะท่านอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ เชิญท่านเป็นผู้มักน้อย ตามประกอบความอยู่สบายใน ชาตินี้ อยู่เถิด เพราะการไม่บอกเป็นความดี ท่านอย่าสั่งสอนสัตว์อื่นๆ เลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราจึงกล่าวว่า ดูกรมารผู้ลามก เรารู้จักท่าน ท่านอย่าเข้าใจว่า พระสมณะ ไม่รู้จักเรา ท่านเป็นมาร ท่านหามีความอนุเคราะห์ด้วยจิตเกื้อกูลไม่ จึงกล่าวกะเราอย่างนี้ ท่าน ไม่มีความอนุเคราะห์ด้วยจิตเกื้อกูลจึงกล่าวกะเราอย่างนี้. ท่านมีความดำริว่า พระสมณโคดม จักแสดงธรรมแก่ชนเหล่าใด ชนเหล่านั้น จักล่วงวิสัยของเราไป. ก็พวกสมณะและพราหมณ์ นั้น มิได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปฏิญญาว่า เราทั้งหลาย เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ดูกร มารผู้ลามก เราแลเป็นสัมมาสัมพุทธะ ย่อมปฏิญญาว่า เราเป็นสัมมาสัมพุทธะ. ดูกรมารผู้ลามก ตถาคตแม้เมื่อแสดงธรรมแก่พวกสาวก ก็เป็นเช่นนั้น แม้เมื่อไม่แสดงธรรมแก่พวกสาวก ก็เป็น เช่นนั้น ตถาคต แม้เมื่อแนะนำพวกสาวก ก็เป็นเช่นนั้น แม้เมื่อไม่แนะนำพวกสาวกก็เป็นเช่นนั้น นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะอาสวะเหล่าใดอันให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวน- *กระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ มีชาติ ชรา มรณะ ต่อไป อาสวะเหล่านั้น ตถาคตละเสียแล้ว มีรากเหง้า อันถอนขึ้นแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาล แล้วทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไป เป็นธรรมดา เหมือนต้นตาลมียอดถูกตัดเสียแล้วไม่อาจงอกงามอีกได้ ฉะนั้น. ไวยากรณภาษิตนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว โดยมารมิได้เรียกร้อง และโดยพรหมเชื้อเชิญ ดังนี้ เพราะฉะนั้น ไวยากรณภาษิตนี้ จึงมีชื่อว่าพรหมนิมันตนิกสูตร ฉะนี้แล.
จบ พรหมนิมันตนิกสูตร ที่ ๙
-----------------------------------------------------
๑๐. มารตัชชนียสูตร
ว่าด้วยการคุกคามมาร
[๕๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มิคทายวัน ในเภสกลาวันเขตเมืองสุงสุมาร คีระ ในภัคคชนบท. สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ถูกมารผู้ลามกเข้าไปในท้องในไส้ ได้มีความดำริว่า ท้องเราเป็นดังว่ามีก้อนหินหนักๆ และเป็นเช่นกะทออันเต็มด้วยถั่วหมัก เพราะ เหตุอะไรหนอ จึงลงจากจงกรมแล้วเข้าไปสู่วิหาร นั่งอยู่บนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นนั่งแล้ว ได้ใส่ใจ ถึงมารที่ลามกด้วยอุบายอันแยบคายเฉพาะตน. [๕๕๘] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้เห็นมารผู้ลามก เข้าไปในท้องในไส้แล้ว ครั้นแล้ว จึงเรียกว่า ดูกรมารผู้ลามก ท่านจงออกมา ท่านจงออกมา ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคตและ สาวกของพระตถาคตเลย วิเหสนกรรมนั้น อย่าได้มีเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่ท่าน ตลอดกาลนาน. ลำดับนั้น มารมีความดำริว่า สมณะนี้ไม่รู้และไม่เห็นเรา จึงกล่าวว่า ดูกรมารผู้ลามก ท่านจงออกมา ท่านจงออกมา ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคตและสาวกของพระตถาคตเลย วิเหสนกรรมนั้น อย่าได้มีเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่ท่านตลอดกาลนาน ดังนี้ แล้ว จึงดำริว่า แม้สมณะที่เป็นศาสดายังไม่พึงรู้จักเราได้เร็วไว ก็สมณะที่เป็นสาวกไฉน จักรู้จักเรา ได้. ในขณะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้บอกว่า ดูกรมารผู้ลามก เรารู้จักท่านแม้ด้วยเหตุนี้ แล ท่านอย่าเข้าใจว่า สมณะนี้ไม่รู้จักเรา ท่านเป็นมาร ท่านมีความดำริว่า สมณะนี้ไม่รู้และไม่ เห็นเรา จึงกล่าวว่า ดูกรมารผู้ลามก ท่านจงออกมา ฯลฯ ก็สมณะที่เป็นสาวกไฉน จักรู้จักเรา. ลำดับนั้น มารมีความดำริว่า สมณะนี้รู้จักและเห็นเรา จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรมารผู้ลามก ท่านจงออกมา ฯลฯ วิเหสนกรรมนั้น อย่าได้มีเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่ท่านตลอด กาลนาน ดังนี้ แล้วจึงออกจากปากท่านพระมหาโมคคัลลานะ แล้วยืนอยู่ที่ข้างบานประตู. [๕๕๙] ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เห็นมารผู้ลามกยืนอยู่ที่ข้างบานประตู ครั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ดูกรมารผู้ลามก เราเห็นท่านแม้ที่ข้างบานประตูนั้น ท่านอย่าเข้าใจว่า สมณะนี้ไม่ เห็นเรา ท่านนั้นยืนอยู่แล้วที่ข้างบานประตู. ดูกรมารผู้ลามก เรื่องเคยมีแล้ว เราเป็นมารชื่อทูสี มีน้องหญิงชื่อกาลี ท่านเป็นบุตรน้องหญิงของเรานั้น ท่านนั้นได้เป็นหลานชายของเรา. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลก. พระองค์มีคู่พระมหาสาวกชื่อวิธุระและชื่อสัญชีวะเป็นคู่เจริญเลิศ. พระสาวกของพระผู้มีพระภาค พระนามว่ากกุสันธะอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีประมาณเท่าใด ในพระสาวกมีประมาณเท่านั้น ไม่มีองค์ใดที่จะสม่ำเสมอด้วยท่านพระวิธุระในทางธรรมเทศนา. ด้วยเหตุนี้ ท่านพระวิธุระจึงมี นามเกิดขึ้นว่า วิธุระ วิธุระ. ส่วนท่านพระสัญชีวะ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนต้นไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง เปล่าก็ดี ย่อมเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธด้วยความลำบากเล็กน้อย. ดูกรมารผู้ลามก เรื่องเคยมีแล้ว ท่านพระสัญชีวะนั่งเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง. พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยง ปศุสัตว์ พวกคนไถนา และพวกคนเดินทาง ได้เห็นท่านพระสัญชีวะนั่งเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วได้ปรึกษากันว่า ท่านผู้เจริญ นี่น่าอัศจรรย์แปลกประหลาด หนอ พระสมณะนี้นั่งทำกาละเสียแล้ว มิฉะนั้น พวกเราจงเผาท่านเถิด. ครั้งนั้น คน เหล่านั้นจึงหาหญ้าไม้ และโคมัยมากองสุมกายท่านพระสัญชีวะ เอาไฟจุดเผาแล้วหลีกไป. เมื่อล่วงราตรีนั้นแล้ว ท่านพระสัญชีวะออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ก็สลัดจีวร เวลาเช้า นุ่งห่ม แล้วถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต. พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวกคนไถนา และพวกคนเดินทาง ได้เห็นท่านพระสัญชีวะเที่ยวบิณฑบาตแล้ว ก็ปรึกษากันว่า ท่านผู้เจริญ นี่น่าอัศจรรย์ แปลกประหลาดหนอ พระสมณะนี้นั่งทำกาละแล้ว พระสมณะนี้นั้น กลับมีสัญญาอยู่แล้ว. ด้วยเหตุนี้ ท่านพระสัญชีวะจึงได้มีชื่อเกิดขึ้นว่า สัญชีวะ สัญชีวะ. [๕๖๐] ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแหละ ทูสีมารมีความดำริว่า เราไม่รู้จักความมาและ ความไปของภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านี้ ถ้ากระไร เราพึงดลใจพวกพราหมณ์และคฤหบดีว่า มาเถิด พวกท่านจงด่า บริภาษ เสียดสี เบียดเบียน พวกภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ถ้าไฉน ภิกษุเหล่านั้นถูกพวกท่านด่า บริภาษ เสียดสี เบียดเบียนอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยอาการที่ ทูสีมารพึงได้ช่อง. ครั้งนั้น ทูสีมารก็ดลใจพวกพราหมณ์และคฤหบดีตามดำรินั้น พวกพราหมณ์และคฤหบดี ถูกทูสีมารดลใจแล้ว ก็ด่า บริภาษ เสียดสี เบียดเบียน พวกภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมว่า ภิกษุเหล่านี้ เป็นสมณะหัวโล้น เป็นคฤหบดี เป็นค่าง เป็นผู้เกิดแต่หลังเท้าของพรหม พูดว่า พวกเราเจริญฌาน พวกเราเจริญฌาน เป็นผู้คอตก ก้มหน้า เกียจคร้าน ย่อมรำพึง ซบเซา หงอยเหงา. เหมือนนกเค้าจ้องหาหนูที่กิ่งต้นไม้ และเหมือนสุนัขจิ้งจอกจ้องหาปลาใกล้ฝั่งน้ำ และเหมือนแมวจ้องหาหนูที่ที่ต่อเรือนอันรุงรัง และกองหยากเหยื่อ และเหมือนลาที่ปลดต่างแล้ว ต่างก็รำพึง ซบเซา เหงาหงอยอยู่ฉะนั้น. ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้น มนุษย์เหล่าใดทำกาละไป มนุษย์เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โดยมาก. [๕๖๑] ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงพระนามว่ากกุสันธะ เป็นพระ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วรับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวก พราหมณ์และคฤหบดีถูกทูสีมารดลใจชักชวนว่า มาเถิด พวกท่านจงด่า บริภาษ เสียดสี เบียดเบียน พวกภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ถ้าไฉน ภิกษุเหล่านั้นถูกพวกท่านด่า บริภาษ เสียดสี เบียดเบียนอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยอาการที่ทูสีมารพึงได้ช่อง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาเถิด พวกเธอจงมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่เถิด แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันกว้างขวาง เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลก มีสัตว์ทั้งมวล โดยความมี ตนทั่วไป ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้เถิด. มีจิตสหรคตด้วยกรุณา ... มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา ... มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่เถิด แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา อันกว้าง เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลก มีสัตว์ทั้งมวล โดยความมีตนทั่วไป ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้เถิด. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายอันพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง สั่งสอน ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนต้นไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ก็มี จิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันกว้างขวาง เป็นใหญ่ หาประมาณ มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกมีสัตว์ทั้งมวล โดยความมีตนทั่วไป ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางอยู่ ดังนี้. มีจิตสหรคตด้วยกรุณา ... มีจิตสหคตด้วยมุทิตา ... มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา อันกว้างขวาง เป็นใหญ่ หาประมาณ มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกมีสัตว์ทั้งมวล โดยความมีตนทั่วไป ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางอยู่ ดังนี้. [๕๖๒] ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ทูสีมารมีความดำริดังนี้ว่า เราทำอยู่แม้ถึงอย่างนี้แล ก็มิได้รู้ความมาหรือความไปของภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านี้เลย ถ้ากระไร เราพึงชักชวน พวกพราหมณ์และคฤหบดีว่า เชิญท่านทั้งหลายมา สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมกันเถิด แม้ไฉน เมื่อภิกษุเหล่านั้นอันท่านทั้งหลาย สักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยประการที่ทูสีมารพึงได้ช่อง. ดูกร มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ทูสีมารชักชวนพราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นว่า เชิญท่านทั้งหลายมา สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมกันเถิด แม้ไฉน เมื่อภิกษุ เหล่านั้นอันท่านทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยประการ ที่ทูสีมารพึงได้ช่อง ดังนี้. ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น ถูกทูสีมาร ชักชวนแล้ว พากันสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม. ดูกรมารผู้ ลามก สมัยนั้นแล มนุษย์เหล่าใดกระทำกาละไป มนุษย์เหล่านั้น เมื่อกายแตกตายไป ย่อม เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์โดยมาก. [๕๖๓] ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคพระนามว่า กกุสันธะ ผู้เป็นพระ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกพราหมณ์ และคฤหบดีอันทูสีมารชักชวนว่า เชิญท่านทั้งหลายมาสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมกันเถิด แม้ไฉน เมื่อภิกษุเหล่านั้นอันท่านทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยประการที่ทูสีมารพึงได้ช่อง ดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เชิญท่านทั้งหลายจงพิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความ สำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยงอยู่เถิด. ดูกร มารผู้ลามก ภิกษุเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนต้นไม้ก็ดี ไปสู่เรือน ว่างเปล่าก็ดี ก็พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความ สำคัญในโลกทั้งปวง ว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวง ว่าเป็นของไม่เที่ยงอยู่. [๕๖๔] ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคพระนามว่า กกุสันธะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครองสบง แล้วทรงบาตรและจีวร มีท่านพระวิธุระเป็น ปัจฉาสมณะ เสด็จเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต. ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ทูสีมารเข้าสิงเด็ก คนหนึ่ง แล้วเอาก้อนหินขว้างที่ศีรษะท่านพระวิธุระศีรษะแตก. ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ท่านพระวิธุระมีศีรษะแตกเลือดไหลอยู่ เดินตามเสด็จพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ ผู้เป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไปข้างหลังๆ. ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค พระนามว่ากกุสันธะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงชำเลืองดูเหมือนช้างชายตาดู ด้วยตรัสว่า ทูสีมารนี้มิได้รู้ประมาณเลย. ดูกรมารผู้ลามก ก็แหละทูสีมารเคลื่อนแล้วจากที่นั้น และเข้าถึงมหานรก พร้อมด้วยพระกิริยาที่ทรงชำเลืองดู. [๕๖๕] ดูกรมารผู้ลามก ก็มหานรกนั้นแลมีชื่อ ๓ อย่าง ชื่อฉผัสสายตนิกะก็มี ชื่อสังกุสมาหตะก็มี ชื่อปัจจัตตเวทนียะก็มี. ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล พวกนายนิรยบาล เข้ามาหาเราแล้ว บอกว่าเมื่อใดแล หลาวเหล็กกับหลาวเหล็กมารวมกันที่กลางหทัยของท่าน เมื่อนั้น ท่านพึงรู้ว่า เราไหม้อยู่ในนรกพันปีแล้ว. ดูกรมารผู้ลามก เรานั้นแล หมกไหม้อยู่ใน มหานรกนั้นหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี และหมกไหม้อยู่ในอุสสทนรกแห่งมหานรก นั้นแล เสวยทุกขเวทนาหนักกว่าก่อนอีกหมื่นปี. เรานั้นมีกายเห็นปานนี้คือ มีศีรษะเหมือนศีรษะ มนุษย์ก็มี เหมือนศีรษะปลาก็มี.
อวสานคาถา
[๕๖๖] ทูสีมารประทุษร้ายพระสาวกชื่อวิธุระ และพระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐ พระนามว่ากกุสันธะ แล้วไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นไร ทูสีมาร ประทุษร้ายพระสาวกชื่อวิธุระ และพระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐพระนามว่า กกุสันธะ แล้วไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นนี้ คือ มีหลาวเหล็ก ร้อยหนึ่ง ล้วนให้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุใดเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักนรกนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์ อย่างหนัก วิมานทั้งหลายตั้งอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทร มีความตั้งอยู่ ตลอดกัป มีสีเหมือนแก้วไพฑูรย์ มีความรุ่งเรือง มีรัศมีโชติช่วง เป็น ประภัสสร พวกนางอัปสรมีวรรณะต่างๆ เป็นอันมาก ฟ้อนรำอยู่ที่วิมาน เหล่านั้น ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักวิมานนั้น มาร ประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก ภิกษุใดแล อัน พระพุทธเจ้าทรงเตือนแล้ว เมื่อภิกษุสงฆ์เห็นอยู่ ยังปราสาทของมิคาร- *มารดาให้ไหวด้วยปลายนิ้วเท้า ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อม รู้จักเหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก ภิกษุใดเข้มแข็งด้วยกำลังฤทธิ์ ยังเวชยันตปราสาท ให้ไหวด้วยปลาย นิ้วเท้า และยังพวกเทวดาให้สังเวช ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักเหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์ อย่างหนัก ภิกษุใดทูลสอบถามท้าวสักกะในเวชยันตปราสาทว่า ดูกรท่าน ผู้มีอายุ ท่านย่อมรู้ความน้อมจิตไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาบ้างหรือ ท้าว- สักกะถูกถามปัญหาแล้ว พยากรณ์แก่ภิกษุนั้นตามควรแก่กถา ภิกษุใด เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักเหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก ภิกษุใด ย่อมสอบถามพรหม ณ ที่ใกล้ สุธรรมาสภาว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทิฏฐิของท่านในวันนี้ และทิฏฐิของท่าน มีในวันก่อน ท่านย่อมเห็นทิฏฐินั้นล่วงไปแล้ว และรัศมีเป็นประภัสสร ในพรหมโลกบ้างหรือ พรหมพยากรณ์แก่ภิกษุนั้นตามลำดับ โดยควรแก่ กถาว่า ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ ข้าพเจ้าไม่มีทิฏฐินั้น และทิฏฐิในวันก่อน ข้าพเจ้าเห็นทิฏฐินั้นล่วงไปแล้ว และเห็นรัศมีเป็นประภัสสรในพรหมโลก (ฉะนั้น) วันนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวว่า เราเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน ได้อย่างไร ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักเหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุ เช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก ภิกษุใดได้กระทบยอดภูเขามหาเนรุด้วย ชมพูทวีปด้วย ทวีปของชาวปุพพวิเทหะด้วย พวกนรชนผู้อยู่ในแผ่นดิน [ชาวอมรโคยานทวีป และชาวอุตตรกุรุทวีป] ด้วยวิโมกข์ ภิกษุใดเป็น สาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้เหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อม ประสบทุกข์อย่างหนัก ก็คนพาลมาเข้ากองไฟที่กำลังลุกโชน ย่อม เดือดร้อนอยู่ว่า ไฟย่อมไม่คิดจะเผาเรา แต่เราย่อมเผาตนผู้เป็นคนพาลเอง ดูกรมาร ท่านเบียดเบียนพระตถาคตแล้วจักเผาตัวเอง ดังคนพาลที่ถูก ไฟเผา ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรมาร ท่านเบียดเบียนพระตถาคตแล้ว ต้อง ประสบบาปมิใช่บุญ ท่านอย่าสำคัญว่า บาปไม่ให้ผลแก่เราหรือหนอ การกชนที่สั่งสมบาป ย่อมโอดครวญตลอดกาลนาน ดูกรมาร ท่าน เบื่อหน่ายพระพุทธเจ้า อย่าได้ทำความหวัง [ซึ่งความพินาศ] ในภิกษุ ทั้งหลายเลย ภิกษุได้คุกคามมารในเภสกลาวัน ด้วยประการฉะนี้ ลำดับ นั้น มารนั้นมีความเสียใจได้หายไปในที่นั้น ฉะนี้แล.
จบมารตัชชนียสูตร ที่ ๑๐
จบจูฬยมกวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สาเลยยกสูตร ๒. เวรัญชกสูตร ๓. มหาเวทัลลสูตร ๔. จูฬเวทัลลสูตร ๕. จูฬธรรมสมาทานสูตร ๖. มหาธรรมสมาทานสูตร ๗. วีมังสกสูตร ๘. โกสัมพิยสูตร ๙. พรหมนิมันตนิกสูตร ๑๐. มารตัชชนียสูตร ฯ
จบมูลปัณณาสก์
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๘๐๔๑-๑๐๔๕๘ หน้าที่ ๓๓๐-๔๓๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8041&Z=10458&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17], [18], [19], [max20]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=12&siri=38              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=440              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [440-566] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=12&item=440&items=127              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=8&A=5435              The Pali Tipitaka in Roman :- [440-566] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=12&item=440&items=127              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=8&A=5435              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_12              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i440-e1.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.038.than.html https://suttacentral.net/mn38/en/sujato https://suttacentral.net/mn38/en/horner https://suttacentral.net/mn38/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :