ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
ธาตุสังยุตต์
ทุติยวรรคที่ ๒
๑. สัตติมสูตร
[๓๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน- *อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุเหล่านี้มี ๗ ประการ ธาตุ ๗ ประการเป็นไฉน คือ อาภาธาตุ สุภาธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๗ ประการเหล่านี้แล ครั้นพระผู้มี- *พระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ อาภาธาตุ สุภาธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ และสัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ ธาตุเหล่านี้แต่ละอย่าง อาศัยอะไรจึงปรากฏได้ ฯ [๓๕๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ อาภาธาตุอาศัยความมืด จึงปรากฏได้ สุภาธาตุอาศัยความไม่งามจึงปรากฏได้ อากาสานัญจายตนธาตุอาศัย รูปจึงปรากฏได้ วิญญาณัญจายตนธาตุอาศัยอากาสานัญจายตนะจึงปรากฏได้ อากิญจัญญายตนธาตุอาศัยวิญญาณัญจายตนะจึงปรากฏได้ เนวสัญญานาสัญญายตน ธาตุอาศัยอากิญจัญญายตนะจึงปรากฏได้ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุอาศัยนิโรธจึง ปรากฏได้ ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาภาธาตุ สุภาธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ ธาตุเหล่านี้แต่ละอย่าง บุคคลพึงบรรลุเป็นสมาบัติ อย่างไร ฯ [๓๕๔] พ. ดูกรภิกษุ อาภาธาตุ สุภาธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ ธาตุเหล่านี้แต่ละอย่าง บุคคลพึง บรรลุเป็นสัญญาสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ บุคคลพึงบรรลุเป็น สังขาราวเสสสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ บุคคลพึงบรรลุเป็นนิโรธสมาบัติ ฯ
จบสูตรที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๓๙๕๒-๓๙๘๐ หน้าที่ ๑๖๕-๑๖๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=3952&Z=3980&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=90              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=352              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [352-354] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=16&item=352&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=3384              The Pali Tipitaka in Roman :- [352-354] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=16&item=352&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=3384              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i352-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn14/sn14.011.than.html https://suttacentral.net/sn14.11/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :