ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
โอฆวรรคที่ ๑๓
โอฆสูตร
โอฆะ ๔
[๓๓๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอฆะ ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน? ได้ แก่โอฆะคือกาม ๑ โอฆะคือภพ ๑ โอฆะคือทิฏฐิ ๑ โอฆะคืออวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอฆะ ๔ อย่างนี้แล. [๓๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโอฆะ ๔ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๑
โยคสูตร
โยคะ ๔
[๓๓๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน? ได้ แก่โยคะคือกาม ๑ โยคะคือภพ ๑ โยคะคือทิฏฐิ ๑ โยคะคืออวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ อย่างนี้แล. [๓๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโยคะ ๔ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๒
อุปาทานสูตร
อุปาทาน ๔
[๓๓๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน? ได้แก่อุปาทานคือกาม ๑ อุปาทานคือทิฏฐิ ๑ อุปาทานคือศีลและพรต ๑ อุปาทานคืออัตตวาทะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างนี้แล. [๓๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทาน ๔ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๓
คันถสูตร
คันถะ ๔
[๓๓๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คันถะ ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน? ได้แก่กายคันถะคืออภิชฌา ๑ กายคันถะคือพยาบาท ๑ กายคันถะคือสีลัพพตปรามาส ๑ กาย คันถะคืออิทังสัจจา ๑- ภินิเวส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คันถะ ๔ อย่างนี้แล. [๓๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละคันถะ ๔ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๔
อนุสยสูตร
อนุสัย ๗
[๓๔๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ อย่างนี้ ๗ อย่างเป็นไฉน? ได้แก่อนุสัยคือกามราคะ ๑ อนุสัยคือปฏิฆะ ๑ อนุสัยคือทิฏฐิ ๑ อนุสัยคือวิจิกิจฉา ๑ อนุสัย คือมานะ ๑ อนุสัยคือภวราคะ ๑ อนุสัยคืออวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ อย่างนี้แล. [๓๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอนุสัย ๗ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๕
@๑. ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง
กามคุณสูตร
กามคุณ ๕
[๓๔๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน? คือ รูปที่พึงรู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียง ที่พึงรู้ด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้ด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้ด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างนี้แล. [๓๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละกามคุณ ๕ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๖
นิวรณสูตร
นิวรณ์ ๕
[๓๔๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน? คือ กามฉันทนิวรณ์ ๑ พยาบาทนิวรณ์ ๑ ถีนมิทธนิวรณ์ ๑ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑ วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ อย่างนี้แล. [๓๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละนิวรณ์ ๕ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๗
อุปาทานขันธสูตร
อุปาทานขันธ์ ๕
[๓๔๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน? ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป ๑ อุปาทานขันธ์คือเวทนา ๑ อุปาทานขันธ์คือสัญญา ๑ อุปาทานขันธ์ คือสังขาร ๑ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้แล. [๓๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๘
โอรัมภาคิยสูตร
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
[๓๔๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน? คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่างนี้แล. [๓๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุ ควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๙
อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๑
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕
[๓๕๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน? คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล. [๓๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล อริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อัน อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐
อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๒
ว่าด้วยวิธีกำจัดอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕
[๓๕๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน? คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล. [๓๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล อริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญ สัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อม เจริญสัมมาสมาธิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญ สัมมาทิฏฐิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๑
จบ โอฆวรรคที่ ๑๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร ๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นิวรณสูตร ๘. อุปาทานขันธสูตร ๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิย- *สูตรที่ ๑ ๑๑. อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๒
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๒๐๒๒-๒๑๔๓ หน้าที่ ๘๗-๙๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=2022&Z=2143&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=73              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=333              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [333-354] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=333&items=22              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=4410              The Pali Tipitaka in Roman :- [333-354] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=333&items=22              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=4410              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/19i333-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn46/sn46.001.than.html https://suttacentral.net/sn45.171/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.171/en/bodhi https://suttacentral.net/sn45.172/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.172/en/bodhi https://suttacentral.net/sn45.173/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.173/en/bodhi https://suttacentral.net/sn45.174/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.174/en/bodhi https://suttacentral.net/sn45.175/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.175/en/bodhi https://suttacentral.net/sn45.176/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.176/en/bodhi https://suttacentral.net/sn45.177/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.177/en/bodhi https://suttacentral.net/sn45.178/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.178/en/bodhi https://suttacentral.net/sn45.179/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.179/en/bodhi https://suttacentral.net/sn45.180/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.180/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :