ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
โศภนวรรคที่ ๒
[๒๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประทุษร้ายบริษัท ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้ทุศีล มีธรรมอันลามกชื่อว่าประทุษร้ายบริษัท ภิกษุณีผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ชื่อว่าประทุษร้ายบริษัท อุบาสกผู้ทุศีล มีธรรม อันลามก ชื่อว่าประทุษร้ายบริษัท อุบาสิกาผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ชื่อว่า ประทุษร้ายบริษัท ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล เป็นผู้ประทุษร้าย บริษัท ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทำบริษัทให้งาม ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ชื่อว่าผู้ทำบริษัทให้งาม ภิกษุณีผู้มีศีล มีธรรม อันงาม ชื่อว่าผู้ทำบริษัทให้งาม อุบาสกผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ชื่อว่าผู้ทำบริษัท ให้งาม อุบาสิกาผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ชื่อว่าผู้ทำบริษัทให้งาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทำบริษัทให้งาม ๔ จำพวกนี้แล ฯ [๒๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ มิจฉาทิฐิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑ สัมมา- *ทิฐิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือน ถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ ฯ [๒๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกเชิญมา ประดิษฐานไว้ในสวรรค์ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑ ความเป็นคนกตัญญูกตเวที ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ ฯ [๒๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ เป็นคนฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ ฯลฯ เป็นผู้งดเว้นจากการ ฆ่าสัตว์ ๑ งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ ฯ [๒๑๕] เป็นผู้มีความเห็นผิด ๑ ดำริผิด ๑ เจรจาผิด ๑ ทำการงาน ผิด ๑ ฯลฯ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ๑ ดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ ทำการงาน ชอบ ๑ ฯ [๒๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้มีอาชีพผิด ๑ พยายามผิด ๑ ระลึกผิด ๑ ตั้งใจไว้ผิด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้มีอาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึก ชอบ ๑ ตั้งใจไว้ชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ นี้แล เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ ฯ [๒๑๗] เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าได้เห็น ๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง ๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๑ เป็นผู้มักกล่าว สิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้ ๑ ฯลฯ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง ๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ ทราบ ๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ไม่รู้ว่าไม่ได้รู้ ๑ ฯ [๒๑๘] เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง ๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๑ เป็นผู้มักกล่าว สิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้ ๑ ฯลฯ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น ๑ เป็นผู้มักกล่าว สิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง ๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๑ เป็นผู้มักกล่าว สิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้ ๑ ฯ [๒๑๙] เป็นคนไม่มีศรัทธา ๑ เป็นคนทุศีล ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ ฯลฯ เป็นคนมีศรัทธา ๑ เป็นคนมีศีล ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ ฯ [๒๒๐] เป็นคนไม่มีศรัทธา ๑ เป็นคนทุศีล ๑ เป็นคนเกียจคร้าน ๑ มีปัญญาทราม ๑ ฯลฯ เป็นคนมีศรัทธา ๑ เป็นคนมีศีล ๑ เป็นผู้ปรารภ ความเพียร ๑ มีปัญญา ๑ ฯ
จบโศภนวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๖๐๗๓-๖๑๓๓ หน้าที่ ๒๕๙-๒๖๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=6073&Z=6133&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=138              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=211              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [211-220] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=21&item=211&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=10074              The Pali Tipitaka in Roman :- [211-220] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=21&item=211&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=10074              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i211-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i211-e2.php# https://suttacentral.net/an4.211/en/sujato https://suttacentral.net/an4.212/en/sujato https://suttacentral.net/an4.213/en/sujato https://suttacentral.net/an4.214/en/sujato https://suttacentral.net/an4.215/en/sujato https://suttacentral.net/an4.216/en/sujato https://suttacentral.net/an4.217/en/sujato https://suttacentral.net/an4.218/en/sujato https://suttacentral.net/an4.219/en/sujato https://suttacentral.net/an4.220/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :