ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
สุทธัฏฐกสูตรที่ ๔
[๔๑๑] คนพาลผู้ประกอบด้วยทิฐิ สำคัญเอาเองว่าเราได้เห็นบุคคล ผู้บริสุทธิ์เป็นบุคคลผู้ยิ่งใหญ่หาโรคมิได้ ความหมดจดด้วยดี ย่อมมีได้แก่นรชนด้วยการเห็น เมื่อคนพาลนั้นสำคัญเอาเอง อย่างนี้ รู้ว่า ความเห็นนั้นเป็นความเห็นยิ่ง แม้เป็นผู้เห็น บุคคลผู้บริสุทธิ์เนืองๆ ก็ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็น มรรคญาณ ถ้าว่าความบริสุทธิ์ย่อมมีได้แก่นรชนด้วยการเห็น หรือนรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยมรรค อันไม่บริสุทธิ์อย่าง อื่นจากอริยมรรค นรชนผู้เป็นอย่างนี้ย่อมบริสุทธิ์ไม่ได้เลย ก็คนมีทิฐิ ย่อมกล่าวยกย่องความเห็นนั้นของคนผู้กล่าว อย่างนั้น พราหมณ์ไม่กล่าวความบริสุทธิ์โดยมิจฉาทิฐิญาณ อย่างอื่นจากอริยมรรคญาณ ที่เกิดขึ้นในเพราะรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง ศีล พรต และในเพราะอารมณ์ที่ได้ทราบ พราหมณ์นั้นไม่ติดอยู่ในบุญและบาป ละความเห็นว่าเป็นตน เสียได้ ไม่กระทำในบุญและบาปนี้ ชนผู้ประกอบด้วยทิฐิ เป็นผู้กล่าวความบริสุทธิ์โดยทางมรรคอย่างอื่นเหล่านั้น ละ ศาสดาเบื้องต้นเสีย อาศัยศาสดาอื่น อันตัณหาครอบงำ ย่อมข้ามธรรมเป็นเครื่องข้องไม่ได้ ชื่อว่าถือเอาธรรมนั้น ด้วย สละธรรมนั้นด้วย เปรียบเหมือนวานรจับและปล่อย กิ่งไม้ที่ตรงหน้าเสียเพื่อจับกิ่งอื่น ฉะนั้น สัตว์ผู้ข้องอยู่ ในกามสัญญา สมาทานวัตรเองแล้ว ไปเลือกหาศาสดาดี และเลว ส่วนพระขีณาสพผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน ผู้มีความรู้แจ้ง ตรัสรู้ธรรมด้วยเวทคือมรรคญาณ ย่อมไม่ ไปเลือกหาศาสดาดีและเลว พระขีณาสพนั้นครอบงำมาร และเสนาในธรรมทั้งปวง คืออารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ ได้เห็น ได้ฟัง หรือได้ทราบ ใครๆ จะพึงกำหนดพระขีณาสพ ผู้บริสุทธิ์ ผู้เห็นความบริสุทธิ์ เป็นผู้มีหลังคาคือกิเลสอัน เปิดแล้ว ผู้เที่ยวไปอยู่ ด้วยการกำหนดด้วยตัณหาและทิฐิ อะไรในโลกนี้ พระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนดด้วย ตัณหาหรือด้วยทิฐิ ย่อมไม่กระทำตัณหาและทิฐิไว้ใน เบื้องหน้า พระขีณาสพเหล่านั้นย่อมไม่กล่าวว่า ความบริสุทธิ์ ล่วงส่วนด้วยอกิริยาทิฐิและสัสสตทิฐิ ท่านสละกิเลสเครื่อง ยึดมั่นและเครื่องร้อยรัดอันเนื่องอยู่ในจิตสันดานได้แล้วย่อม ไม่กระทำความหวังในโลกไหนๆ พราหมณ์ผู้ล่วงแดนกิเลสได้ ไม่มีความยึดถือวัตถุหรืออารมณ์อะไร เพราะได้รู้หรือเพราะ ได้เห็นเป็นผู้ไม่มีความยินดีด้วยราคะ เป็นผู้ปราศจากราคะ ไม่กำหนัดแล้ว พราหมณ์นั้น ไม่มีความยึดถือวัตถุและ อารมณ์อะไรๆ ว่าสิ่งนี้เป็นของยิ่งในโลกนี้ ฉะนี้แล ฯ
จบสุทธัฏฐกสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๐๐๓๘-๑๐๐๗๖ หน้าที่ ๔๓๕-๔๓๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=10038&Z=10076&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=269              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=411              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [411] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=411&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=8077              The Pali Tipitaka in Roman :- [411] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=411&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=8077              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i408-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.4.04.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.4.04.irel.html https://suttacentral.net/snp4.4/en/mills https://suttacentral.net/snp4.4/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :