บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
มงคลสูตรที่ ๔ [๓๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เทวดาตนหนึ่ง เมื่อ--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๔๓.
ปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีอันงดงามยิ่ง ทำพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง ไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า [๓๑๘] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิด มงคลทั้งหลาย ขอพระองค์ได้โปรดตรัสอุดมมงคล ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การอยู่ในประเทศอันสม ควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันทำไว้แล้วในกาลก่อน ๑ การ ตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาษิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การบำรุงมารดาบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การ- งานอันไม่อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ทาน ๑ การ ประพฤติธรรม ๑ การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มี โทษ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การงดเว้นจากบาป ๑ ความ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทในธรรมทั้ง หลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความเคารพ ๑ ความ ประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑ ความกตัญญู ๑ การฟังธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การ สนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การกระทำนิพพาน ให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดมมงคล จิตของผู้ใดอันโลกธรรม ทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๔๔.
ปราศจากธุลี เป็นจิตเกษม นี้เป็นอุดมมงคล เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัย ในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯจบมงคลสูตรที่ ๔ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๗๘๒๕-๗๘๕๗ หน้าที่ ๓๔๒-๓๔๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=7825&Z=7857&pagebreak=1 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=243 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=317 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [317-318] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=317&items=2 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=1484 The Pali Tipitaka in Roman :- [317-318] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=317&items=2 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=1484 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i314-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.2.04.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.2.04.soni.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.2.04.piya.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.2.04.nara.html https://suttacentral.net/snp2.4/en/brahmali https://suttacentral.net/snp2.4/en/sujato
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]