ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
ปัญหาปุจฉกะ
[๗๓๗] ฌาน ๔ คือ ๑. ภิกษุ ในศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ๒. บรรลุทุติยฌาน อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะ วิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ๓. เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มี สติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ซึ่งเป็นฌานที่ พระอริยะเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ๔. บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่
ติกมาติกาปุจฉา-ทุกมาติกาปุจฉา
บรรดาฌาน ๔ ฌานไหนเป็นกุศล ฌานไหนเป็นอกุศล ฌานไหนเป็น อัพยากฤต ฯลฯ ฌานไหนเป็นสรณะ ฌานไหนเป็นอรณะ
ติกมาติกาวิสัชนา
[๗๓๘] ฌาน ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี ฌาน ๓ เว้นสุข- *เวทนาที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสุขเวทนาสัมปยุต จตุตถฌาน เว้นอทุกขม- *สุขเวทนาที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฌาน ๔ เป็น วิปากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี ฌาน ๔ เป็น อุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี ฌาน ๔ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกะก็มี ปฐมฌาน เว้นวิตกวิจารที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสวิตักกสวิจาระ ฌาน ๓ เป็นอวิตักกอวิจาระ ฌาน ๒ เว้นปีติที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นปีติสหคตะ ฌาน ๓ เว้นสุขที่เกิดขึ้น ในฌานนี้เสีย เป็นสุขสหคตะ จตุตถฌาน เว้นอุเบกขาที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นอุเบกขาสหคตะ ฌาน ๔ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ ฌาน ๔ เป็น เนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ฌาน ๔ เป็นอาจยคามีก็มี เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี ฌาน ๔ เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็น เนวเสกขนาเสกขะก็มี ฌาน ๔ เป็นมหัคคตะก็มี เป็นอัปปมาณะก็มี ฌาน ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณา- *รัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่าเป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี จตุตถฌาน เป็นปริตตารัมมณะ ก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น ปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะ แม้เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี ฌาน ๔ เป็นมัชฌิมะก็มี เป็นปณีตะก็มี ฌาน ๔ เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี ฌาน ๓ ไม่เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าว ไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี จตุตถฌาน เป็นมัคคา- *รัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคา- *รัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี ฌาน ๔ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี ฌาน ๔ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็น ปัจจุบันก็มี ฌาน ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตา- *รัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ จตุตถฌาน เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็น อนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตา- *รัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี ฌาน ๔ เป็น อัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี ฌาน ๓ เป็นพหิทธา- *รัมมณะ จตุตถฌาน เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็น อัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอัชฌัตตารัมมณะ แม้เป็น พหิทธารัมมณะ แม้เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี ฌาน ๔ เป็นอนิทัสสน- *อัปปฏิฆะ
ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๗๓๙] ฌาน ๔ เป็นเหตุ ฌาน ๔ เป็นสเหตุกะ ฌาน ๔ เป็นเหตุ- *สัมปยุต ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นแต่สเหตุกนเหตุ ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นแต่เหตุสัมปยุตตนเหตุ ฌาน ๔ เป็น นเหตุสเหตุกะ
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
ฌาน ๔ เป็นสัปปัจจยะ ฌาน ๔ เป็นสังขตะ ฌาน ๔ เป็นอนิทัสสนะ ฌาน ๔ เป็นอัปปฏิฆะ ฌาน ๔ เป็นอรูป ฌาน ๔ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระ ก็มี ฌาน ๔ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
ฌาน ๔ เป็นโนอาสวะ ฌาน ๔ เป็นสาสวะก็มี เป็นอนาสวะก็มี ฌาน ๔ เป็นอาสววิปปยุต ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ ฌาน ๔ เป็นสาสว- *โนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสาสวโนอาสวะก็มี ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ ฌาน ๔ เป็นอาสว- *วิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี
๔,๕,๖,๗,๘,๙,๑๐,๑๑,๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
ฌาน ๔ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนคันถะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนโยคะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโน- *นีวรณะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นสารัมมณะ ฌาน ๔ เป็นโนจิตตะ ฌาน ๔ เป็นเจตสิกะ ฌาน ๔ เป็นจิตตสัมปยุต ฌาน ๔ เป็นจิตต- *สังสัฏฐะ ฌาน ๔ เป็นจิตตสมุฏฐานะ ฌาน ๔ เป็นจิตตสหภู ฌาน ๔ เป็นจิตตานุ ปริวัตติ ฌาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ ฌาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน- *สหภู ฌาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ ฌาน ๔ เป็นพาหิระ ฌาน ๔ เป็นนอุปาทา ฌาน ๔ เป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี ฌาน ๔ เป็น นอุปาทานะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
[๗๔๐] ฌาน ๔ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ ฌาน ๔ เป็นนภาวนาปหา- *ตัพพะ ฌาน ๔ เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะ ฌาน ๔ เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ปฐมฌาน เว้นวิตกที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสวิตักกะ ฌาน ๓ เป็นอวิตักกะ ปฐมฌาน เว้นวิจารที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสวิจาระ ฌาน ๓ เป็นอวิจาระ ฌาน ๒ เว้นปีติที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสียเป็นสัปปีติกะ ฌาน ๒ เป็นอัปปีติกะ ฌาน ๒ เว้นปีติที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นปีติสหคตะ ฌาน ๒ เป็นนปีติสหคตะ ฌาน ๓ เว้นสุขที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสุขสหคตะ จตุตถฌาน เป็นนสุขสหคตะ จตุตถฌาน เว้นอุเบกขาที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นอุเปกขาสหคตะ ฌาน ๓ เป็น นอุเปกขาสหคตะ ฌาน ๔ เป็นนกามาวจร ฌาน ๔ เป็นรูปาวจรก็มี เป็นนรูปา- *วจรก็มี ฌาน ๓ เป็นนอรูปาวจร จตุตถฌาน เป็นอรูปาวจรก็มี เป็นนอรูปาวจร ก็มี ฌาน ๔ เป็นปริยาปันนะก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี ฌาน ๔ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี ฌาน ๔ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี ฌาน ๔ เป็นสอุตตระ ก็มี เป็นอนุตตระก็มี ฌาน ๔ เป็นอรณะ ฉะนี้แล
ปัญหาปุจฉกะ จบ
ฌานวิภังค์ จบบริบูรณ์

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๘๘๘๙-๘๙๗๙ หน้าที่ ๓๘๔-๓๘๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=8889&Z=8979&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=50              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=737              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [737-740] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=35&item=737&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=9443              The Pali Tipitaka in Roman :- [737-740] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=35&item=737&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=9443              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb12/en/thittila#pts-s638

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :