ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์
สุตตันตภาชนีย์
[๗๔๑] อัปปมัญญา ๔ คือ ๑. ภิกษุในศาสนานี้ แผ่เมตตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็เช่นเดียวกันนี้ แผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตวโลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่ ๒. แผ่กรุณาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็ อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้อง- *ขวาง ก็เช่นเดียวกันนี้ แผ่กรุณาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตวโลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก หมู่เหล่า อยู่ ๓. แผ่มุทิตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็อย่าง นั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็เช่นเดียว กันนี้ แผ่มุทิตาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตวโลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่ ๔. แผ่อุเบกขาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็ อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็เช่น เดียวกันนี้ แผ่อุเบกขาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี พยาบาท ไปยังสัตวโลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่
เมตตาอัปปมัญญานิเทศ
[๗๔๒] ก็ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังสัตว์ทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นบุคคลคนหนึ่งผู้เป็น ที่รักใคร่ชอบใจแล้ว พึงรักใคร่ ฉะนั้น [๗๔๓] ในบทเหล่านั้น เมตตา เป็นไฉน การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโต- *วิมุตติ อันใด นี้เรียกว่าเมตตา จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่าจิต จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยเมตตานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เมตตาจิต คำว่า ทิศหนึ่ง ได้แก่ ทิศบูรพา หรือทิศปัศจิม หรือทิศอุดร หรือ ทิศทักษิณ หรือทิศเบื้องสูง หรือทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง หรือทิศต่างๆ บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่ คำว่า ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น มีอธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ก็ ฉันนั้น ทิศที่ ๓ ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๔ ก็ฉันนั้น ทิศเบื้องสูงก็ฉันนั้น ทิศเบื้องต่ำก็ ฉันนั้น ทิศเบื้องขวางก็ฉันนั้น ทิศต่างๆ ก็ฉันนั้น คำว่า สัตวโลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า มีอธิบายว่า คำว่า สัตวโลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า นั้น เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั่วทั้งหมดไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้ คำว่า เมตตาจิต มีอธิบายว่า ในบทเหล่านั้น เมตตา เป็นไฉน การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโต- *วิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า เมตตา จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยเมตตานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เมตตาจิต บทว่า ไพบูลย์ มีอธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึง เรียกว่า อยู่
กรุณาอัปปมัญญานิเทศ
[๗๔๔] ก็ภิกษุแผ่กรุณาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุแผ่กรุณาจิตไปยังสัตว์ทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นบุคคลคนหนึ่งผู้ตก ทุกข์ได้ยากแล้ว พึงสงสาร ฉะนั้น [๗๔๕] ในบทเหล่านั้น กรุณา เป็นไฉน การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสารในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโต- *วิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า กรุณา จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยกรุณานี้ ด้วยเหตุนั้น จึง เรียกว่า กรุณาจิต คำว่า ทิศหนึ่ง ได้แก่ทิศบูรพา หรือทิศปัศจิม หรือทิศอุดร หรือทิศ- *ทักษิณ หรือทิศเบื้องสูง หรือทิศเบื้องต่ำ หรือทิศเบื้องขวาง หรือทิศต่างๆ บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่ คำว่า ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น มีอธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ก็ ฉันนั้น ทิศที่ ๓ ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๔ ก็ฉันนั้น ทิศเบื้องสูงก็ฉันนั้น ทิศเบื้องต่ำ ก็ฉันนั้น ทิศเบื้องขวางก็ฉันนั้น ทิศต่างๆ ก็ฉันนั้น คำว่า สัตวโลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า มีอธิบายว่า คำว่า สัตวโลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า นั้น เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั่วทั้งหมด ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้ คำว่า กรุณาจิต มีอธิบายว่า ในบทเหล่านั้น กรุณา เป็นไฉน การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสารในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโต- *วิมุตติ อันใดนี้เรียกว่า กรุณา จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยกรุณานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กรุณาจิต บทว่า ไพบูลย์ มีอธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึง เรียกว่า อยู่
มุทิตาอัปปมัญญานิเทศ
[๗๔๖] ก็ภิกษุแผ่มุทิตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุแผ่มุทิตาจิตไปยังสัตว์ทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นบุคคลคนหนึ่งผู้เป็น ที่รักใคร่ชอบใจแล้ว พึงพลอยยินดี ฉะนั้น [๗๔๗] ในบทเหล่านั้น มุทิตา เป็นไฉน การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดีในสัตว์ทั้งหลาย มุทิตาเจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยมุทิตานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มุทิตาจิต คำว่า ทิศหนึ่ง ได้แก่ ทิศบูรพา หรือปัศจิม หรือทิศอุดร หรือทิศทักษิณ หรือทิศเบื้องสูง หรือทิศเบื้องต่ำ หรือทิศเบื้องขวาง หรือทิศต่างๆ บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึง เรียกว่า อยู่ คำว่า ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น มีอธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ก็ ฉันนั้น ทิศที่ ๓ ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๔ ก็ฉันนั้น ทิศเบื้องสูงก็ฉันนั้น ทิศเบื้องต่ำ ก็ฉันนั้น ทิศเบื้องขวางก็ฉันนั้น ทิศต่างๆ ก็ฉันนั้น คำว่า สัตวโลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่ เหล่า มีอธิบายว่า คำว่า สัตวโลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่ เหล่า นั้น เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั่วทั้งหมด ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือ มิได้ คำว่า มุทิตาจิต มีอธิบายว่า ในบทเหล่านั้น มุทิตา เป็นไฉน การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดีในสัตว์ทั้งหลาย มุทิตาเจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยมุทิตานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มุทิตาจิต บทว่า ไพบูลย์ มีอธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่
อุเบกขาอัปปมัญญานิเทศ
[๗๔๘] ก็ภิกษุแผ่อุเบกขาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุแผ่อุเบกขาจิตไปยังสัตว์ทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นบุคคลหนึ่งผู้เป็น ที่ชอบใจก็ไม่ใช่ ไม่เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ แล้วพึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา ฉะนั้น [๗๔๙] ในบทเหล่านั้น อุเบกขา เป็นไฉน การวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความวางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย อุเบกขาเจโต- *วิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยอุเบกขานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อุเบกขาจิต คำว่า ทิศหนึ่ง ได้แก่ ทิศบูรพา หรือทิศปัศจิม หรือทิศอุดร หรือ ทิศทักษิณ หรือทิศเบื้องสูง หรือทิศเบื้องต่ำ หรือทิศเบื้องขวาง หรือทิศต่างๆ บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึง เรียกว่า อยู่ คำว่า ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น มีอธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๓ ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๔ ก็ฉันนั้น ทิศเบื้องสูงก็ฉันนั้น ทิศเบื้องต่ำก็ฉันนั้น ทิศเบื้องขวางก็ฉันนั้น ทิศต่างๆ ก็ฉันนั้น คำว่า สัตวโลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า มีอธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า นั้น เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั่วทั้งหมดไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้ คำว่า อุเบกขาจิต มีอธิบายว่า อุเบกขา เป็นไฉน การวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความวางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย อุเบกขา- *เจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่าจิต จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยอุเบกขานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อุเบกขาจิต บทว่า ไพบูลย์ มีอธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่
สุตตันตภาชนีย์ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๘๙๘๐-๙๑๔๒ หน้าที่ ๓๘๘-๓๙๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=8980&Z=9142&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=51              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=741              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [741-749] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=35&item=741&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=9549              The Pali Tipitaka in Roman :- [741-749] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=35&item=741&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=9549              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb13/en/thittila

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :