ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
อภิธรรมภาชนีย์
[๗๕๐] อัปปมัญญา ๔ คือ ๑. เมตตา ๒. กรุณา ๓. มุทิตา ๔. อุเบกขา
เมตตากุศลฌาน จตุกกนัย
[๗๕๑] ในอัปปมัญญา ๔ นั้น เมตตา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ประกอบ ด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่ รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา เมตตา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานที่ สหรคตด้วยเมตตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่ สัมปยุตด้วยเมตตา เมตตา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติ ได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วย นามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุต ด้วยเมตตา
เมตตากุศลฌาน ปัญจกนัย
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ประกอบ ด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่ รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานที่ สหรคตด้วยเมตตา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ใน สมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุต ด้วยเมตตา ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุตติยฌาน ที่สหรคตด้วยเมตตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโต- *วิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติ ได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วย นามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วย เมตตา
กรุณากุศลฌาน จตุกกนัย
[๗๕๒] กรุณา เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ประกอบ ด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่ สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา กรุณา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌาน ที่สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโต- *วิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา กรุณา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติ ได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วย นามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา
กรุณากุศลฌาน ปัญจกนัย
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ประกอบ ด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยา ที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌาน ที่สหรคตด้วยกรุณา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ใน สมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุตติยฌานที่ สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโต- *วิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติได้ อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วย นามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา
มุทิตากุศลฌาน จตุกกนัย
[๗๕๓] มุทิตา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่ พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา มุทิตา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌาน ที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา มุทิตา เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติ ได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วย นามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโต- *วิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา
มุทิตากุศลฌาน ปัญจกนัย
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่ พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานที่ สหรคตด้วยมุทิตา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ใน สมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่ สัมปยุตด้วยมุทิตา ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุตติยฌาน ที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติได้ อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วย นามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโต- *วิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา
อุเบกขากุศลฌาน
[๗๕๔] อุเบกขา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุจตุตถฌาน ที่สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ โสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด การวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความวางเฉย อุเบกขาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยอุเบกขา

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๙๑๔๓-๙๒๙๐ หน้าที่ ๓๙๕-๔๐๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=9143&Z=9290&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=52              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=750              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [750-754] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=35&item=750&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=9623              The Pali Tipitaka in Roman :- [750-754] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=35&item=750&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=9623              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb13/en/thittila#pts-s682

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :