ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร
เสด็จพระนครราชคฤห์ครั้งแรก
[๕๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไป โดยมรรคาอันจะไปสู่พระนครราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่จำนวน ๑๐๐๐ รูป ล้วนเป็นปุราณชฎิล. เสด็จจาริกโดยลำดับถึงพระนครราชคฤห์แล้ว. ทราบว่า พระองค์ ประทับอยู่ใต้ต้นไทรชื่อสุประดิษฐเจดีย์ ในสวนตาลหนุ่ม เขตพระนครราชคฤห์นั้น.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๑.

[๕๗] พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้ทรงสดับข่าวถนัดแน่ว่า พระสมณโคดม ศากยบุตรทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จพระนครราชคฤห์โดยลำดับ ประทับอยู่ใต้ต้นไทร ชื่อสุประดิษฐเจดีย์ ในสวนตาลหนุ่ม เขตพระนครราชคฤห์ ก็แลพระกิตติศัพท์อันงามของท่าน พระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรง เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงทราบโลก ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพ และมนุษย์ ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรง ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย เห็นปานนั้น เป็นความดี. หลังจากนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงแวดล้อมด้วยพราหมณ์คหบดีชาว มคธ ๑๒ นหุต เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นถึงจึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ส่วนพราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุต นั้นแล บางพวก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มี พระภาค ครั้นผ่านการทูลปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประคองอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง บางพวกประกาศนามและโคตรในสำนักพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้งนั้น พราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุตนั้นได้มี ความดำริว่า พระมหาสมณะประพฤติพรหมจรรย์ในท่านอุรุเวลกัสสป หรือว่าท่านอุรุเวลกัสสป ประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความดำริในใจของ พราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุตนั้น ด้วยพระทัยของพระองค์ ได้ตรัสกะท่านพระอุรุเวลกัสสป ด้วยพระคาถาว่า ดังนี้:- ดูกรท่านผู้อยู่ในอุรุเวลามานาน เคยเป็นอาจารย์สั่งสอนหมู่ชฎิลผู้ผอม เพราะกำลังพรต ท่านเห็นเหตุอะไร จึงยอมละเพลิงเสียเล่า? ดูกรกัสสป เราถามเนื้อความนี้กะท่าน ท่านละเพลิงที่บูชาเสียทำไมเล่า?

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๒.

ท่านพระอุรุเวลกัสสปทูลตอบว่า ยัญทั้งหลายกล่าวยกย่องรูปเสียงและรสที่น่าปรารถนา และสตรีทั้งหลาย ข้าพระพุทธเจ้ารู้ว่านั่นเป็นมลทินในอุปธิทั้งหลายแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงไม่ ยินดี ในการเซ่นสรวง ในการบูชา. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรกัสสป ก็ใจของท่านไม่ยินดีแล้วในอารมณ์ คือรูป เสียงและรสเหล่านั้น ดูกรกัสสป ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ใจของท่านยินดีในสิ่งไรเล่า ในเทวโลก หรือมนุษยโลก ท่านจงบอกข้อนั้นแก่เรา? ท่านพระอุรุเวลกัสสปทูลตอบว่า ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นทางอันสงบ ไม่มีอุปธิ ไม่มีกังวล ไม่ติดอยู่ในกามภพ ไม่มีภาวะเป็นอย่างอื่น ไม่ใช่ธรรมที่ผู้อื่นแนะให้บรรลุ เพราะฉะนั้น จึงไม่ ยินดีในการเซ่นสรวง ในการบูชา [๕๘] ลำดับนั้น ท่านพระอุรุเวลกัสสปลุกจากอาสนะ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ซบ เศียรลงที่พระบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวก, พระผู้มีพระภาคเป็น พระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวก พระพุทธเจ้าข้า. ลำดับนั้น พราหมณ์คหบดีชาวมคธ ทั้ง ๑๒ นหุต นั้น ได้มีความเข้าใจว่า ท่านพระ อุรุเวลกัสสปประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความ ปริวิตกแห่งจิตของพราหมณ์คหบดีชาวมคธทั้ง ๑๒ นหุตนั้น ด้วยพระทัยของพระองค์แล้ว ทรง แสดงอนุปุพพิกถา คือทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้า หมองของกามทั้งหลายและอานิสงส์ในความออกจากกาม. เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พวก เขามีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศ พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่พราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๑ นหุต ซึ่งมีพระเจ้า พิมพิสารเป็นประมุข ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น. พราหมณ์คหบดีอีก ๑ นหุต แสดงตนเป็นอุบาสก. [๕๙] ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้ทรงเห็นธรรมแล้ว ได้ทรงบรรลุ ธรรมแล้ว ได้ทรงรู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว ทรงมีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ทรงข้ามความสงสัยได้แล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๓.

ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ทรงถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องทรงเชื่อผู้อื่นในคำสอน ของพระศาสดา ได้ทูลพระวาจานี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ครั้งก่อน เมื่อหม่อมฉันยังเป็นราชกุมาร ได้มีความปรารถนา ๕ อย่าง บัดนี้ ความปรารถนา ๕ อย่างนั้น ของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๒๑๖-๑๒๗๖ หน้าที่ ๕๐-๕๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=1216&Z=1276&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=4&siri=17              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=56              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [56-59] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=4&item=56&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=575              The Pali Tipitaka in Roman :- [56-59] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=4&item=56&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=575              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i001-e.php#topic22 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/brahmali#pli-tv-kd1:22.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/horner-brahmali#Kd.1.21.5

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :