ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
จะแสดงธรรมท่ามกลางสงฆ์ต้องได้รับอาราธนาก่อน
[๑๖๘] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ไม่ได้รับอาราธนา แสดงธรรมในท่ามกลางสงฆ์. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ได้รับอาราธนา ไม่พึงแสดงธรรมในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดแสดง ต้อง อาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระแสดงธรรมเอง หรือให้อาราธนาผู้อื่นแสดง.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๘๔.

ถามพระวินัยท่ามกลางสงฆ์ต้องได้รับสมมติก่อน
[๑๖๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ยังไม่ได้รับสมมติ ถามพระวินัยในท่ามกลางสงฆ์. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังไม่ได้รับสมมติ ไม่พึงถามวินัยในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดถาม ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ได้รับสมมติแล้ว ถามวินัยในท่ามกลางสงฆ์ได้.
วิธีสมมติเป็นผู้ถาม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงสมมติอย่างนี้. ตนเองสมมติตนก็ได้ ภิกษุอื่นสมมติ ภิกษุอื่นก็ได้. อย่างไรเล่า ชื่อว่าตนเองสมมติตน? ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติตน
พระสงฆ์เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้า ขอถามพระวินัยต่อผู้มีชื่อนี้. อย่างนี้ ชื่อว่าตนเองสมมติตน. อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุอื่นสมมติภิกษุอื่น? ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติผู้อื่น
พระสงฆ์เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ขอผู้มีชื่อนี้ ถามพระวินัยต่อผู้มิชื่อนี้. อย่างนี้ ชื่อว่าภิกษุอื่นสมมติภิกษุอื่น.
ถามพระวินัยต้องตรวจดูบริษัทก่อน
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ได้รับสมมติแล้ว ถามพระวินัยในท่ามกลางสงฆ์. พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้น คุกคามจะฆ่าเสีย. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๘๕.

พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ แม้ที่ได้รับสมมติแล้ว ตรวจดูบริษัท พิจารณาดูบุคคลแล้วจึงถามวินัยในท่ามกลางสงฆ์. สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ยังไม่ได้รับสมมติ วิสัชนาพระวินัยในท่ามกลางสงฆ์. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยังไม่ได้รับสมมติ ไม่พึงวิสัชนาวินัยในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดวิสัชนา ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุที่ได้รับสมมติแล้ว วิสัชนาวินัยในท่ามกลางสงฆ์.
วิธีสมมติเป็นผู้วิสัชนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุพึงสมมติอย่างนี้. ตนเองสมมติตนก็ได้ ภิกษุอื่นสมมติ ภิกษุอื่นก็ได้. อย่างไรเล่า ชื่อว่าตนเองสมมติตน? ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติตน
พระสงฆ์เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้า อันผู้มีชื่อนี้ถามถึงพระวินัยแล้ว ขอวิสัชนา. อย่างนี้ ชื่อว่าตนเองสมมติตน. อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุอื่นสมมติภิกษุอื่น? ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติผู้อื่น
พระสงฆ์เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ผู้มีชื่อนี้ อันผู้มีชื่อนี้ถามถึงพระวินัยแล้ว ขอวิสัชนา. อย่างนี้ ชื่อว่าภิกษุอื่นสมมติภิกษุอื่น.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๘๖.

วิสัชนาพระวินัยต้องตรวจดูบริษัทก่อน
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ได้รับสมมติแล้ว วิสัชนาพระวินัยในท่าม กลางสงฆ์. พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้น คุกคามจะฆ่าเสีย. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ภิกษุแม้ที่ได้รับสมมติแล้ว ตรวจดูบริษัท พิจารณาดูบุคคลก่อน จึงวิสัชนาวินัย ในท่ามกลางสงฆ์.
โจทก์ต้องขอโอกาสต่อจำเลย
[๑๗๐] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์โจทภิกษุผู้มิได้ทำโอกาสด้วยอาบัติ. ภิกษุ- *ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงโจทภิกษุผู้มิได้ทำโอกาสด้วยอาบัติ รูปใดโจท ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โจทก์ขอให้จำเลยทำโอกาส ด้วยคำว่า ขอท่านจงทำ โอกาส ผมใคร่จะกล่าวกะท่าน ดังนี้ แล้วจึงโจทด้วยอาบัติ.
ก่อนโจทต้องพิจารณาดูบุคคล
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ขอให้พระฉัพพัคคีย์ทำโอกาสแล้ว โจทด้วย อาบัติ. พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้น คุกคามจะฆ่าเสีย. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้โจทแม้เมื่อจำเลยทำโอกาสแล้ว พิจารณาดูบุคคลก่อน จึงโจทด้วยอาบัติ.
ก่อนขอโอกาสต้องพิจารณาดูบุคคล
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์คิดว่า ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ขอให้พวกเราทำโอกาส ก่อนดังนี้ จึงรีบขอให้ภิกษุทั้งหลายที่บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ ทำโอกาสในอธิกรณ์ที่ไม่เป็นเรื่อง ไม่มีเหตุ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุ- *ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงขอให้ภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ ทำโอกาส ในอธิกรณ์ที่ไม่เป็นเรื่อง ไม่มีเหตุ รูปใดขอให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พิจารณาดูบุคคลก่อน จึงขอให้ทำโอกาส.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๔๔๘๑-๔๕๕๕ หน้าที่ ๑๘๓-๑๘๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=4481&Z=4555&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=4&siri=59              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=168              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [168-170] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=4&item=168&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3018              The Pali Tipitaka in Roman :- [168-170] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=4&item=168&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3018              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i147-e.php#topic15.5 https://suttacentral.net/pli-tv-kd2/en/brahmali#pli-tv-kd2:15.6.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd2/en/horner-brahmali#Kd.2.15.5

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :