ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๗ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
             [๔๘๗] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
             คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม แล้วพิจารณากุศลนั้น
             บุคคลพิจารณากุศลทั้งหลาย ที่สั่งสมไว้ดีแล้วในก่อน
             บุคคลออกจากฌาน แล้วพิจารณาฌาน
             พระเสขะ พิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน
             พระเสขะ ออกจากมรรค พิจารณามรรค
             พระเสขะ หรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งกุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
             บุคคลรู้จิตของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยกุศลจิต ด้วยเจโตปริยญาณ
             อากาสานัญจายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนกุศล โดยอารัมมณปัจจัย
             อากิญจัญญายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล โดยอารัมมณปัจจัย
             อากิญจัญญายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล โดยอารัมมณปัจจัย
             กุศลขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมุปคญาณ และอนาคตังสญาณ โดยอารัมมณปัจจัย
             [๔๘๘] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
             คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม แล้วยินดี เพลิดเพลินซึ่งกุศล
นั้น เพราะปรารภกุศลนั้น มี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส เกิดขึ้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๒๘.

บุคคลยินดีเพลิดเพลิน ซึ่งกุศลทั้งหลายที่ตนสั่งสมไว้แล้วในก่อน เพราะปรารภกุศล นั้น มี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส เกิดขึ้น บุคคลออกจากฌานแล้ว ยินดีเพลิดเพลินซึ่งฌาน เพราะปรารภฌานนั้น มี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ เกิดขึ้น สำหรับท่านผู้มีวิปฏิสาร เมื่อฌานเสื่อมแล้ว มีโทมนัส เกิดขึ้น [๔๘๙] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระอรหันต์ออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค พิจารณาถึงธรรมที่สั่งสมไว้ดีแล้ว ในก่อน พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งกุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา รู้ซึ่งจิต ของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยกุศลจิต ด้วยเจโตปริยญาณ พระเสขะ หรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งกุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก เกิดขึ้น บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งกุศล เพราะปรารภกุศลนั้น มี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส เกิดขึ้น เมื่อกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิต อันเป็นวิบาก เกิดขึ้น อากาสานัญจายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนวิบาก และกิริยา โดย อารัมมณปัจจัย อากิญจัญญายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก และกิริยา โดย อารัมมณปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมุปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย [๔๙๐] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งราคะ เพราะปรารภราคะนั้น มี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส เกิดขึ้น บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งทิฏฐิ เพราะปรารภทิฏฐินั้น มี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส เกิดขึ้น เพราะปรารภวิจิกิจฉา มีวิจิกิจฉา ทิฏฐิ อุทธัจจะ และโทมนัส เกิดขึ้น เพราะปรารภอุทธัจจะ มีอุทธัจจะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา และโทมนัส เกิดขึ้น เพราะปรารภโทมนัส มีโทมนัส ทิฏฐิ วิจิกิจฉา และอุทธัจจะ เกิดขึ้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๒๙.

[๔๙๑] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระเสขะพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิด มาแล้วแต่ก่อนๆ พระเสขะหรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งอกุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ เป็นอนัตตา รู้จิตของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยอกุศลจิต ด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมุปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย [๔๙๒] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระอรหันต์พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว รู้กิเลสที่เคย เกิดขึ้น มาแล้ว แต่ก่อนๆ พิจารณาเห็นแจ้งอกุศลธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา รู้จิตของบุคคล ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยอกุศลจิต ด้วยเจโตปริยญาณ พระเสขะหรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งอกุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่ออกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก เกิดขึ้น บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งอกุศล เพราะปรารภอกุศลนั้น มี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส เกิดขึ้น เมื่ออกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก เกิดขึ้น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมุปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย [๔๙๓] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระอรหันต์พิจารณาผลจิต พิจารณาพระนิพพาน พระนิพพาน เป็นปัจจัยแก่ผลจิต และอาวัชชนจิต โดยอารัมมณปัจจัย พระอรหันต์พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งจักขุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๐.

พระอรหันต์เห็นซึ่งรูปด้วยทิพจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของท่าน ผู้มี ความพร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนกิริยา เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนกิริยา โดยอารัมมณปัจจัย อากิญจัญญายตนกิริยา เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา โดยอารัมมณปัจจัย รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โดยอารัมมณปัจจัย สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยอารัมมณ- *ปัจจัย ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิ- *วาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย [๔๙๔] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระเสขะทั้งหลายพิจารณาผลจิต พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และมรรค โดยอารัมมณปัจจัย พระเสขะหรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งจักขุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา โดยความ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพพจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของท่าน ผู้มี ความพร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิ- *วาสานุสสติญาณ และอนาคตังสญาณ โดยอารัมมณปัจจัย [๔๙๕] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลินซึ่งจักษุ เพราะปรารภจักษุนั้น มีราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส เกิดขึ้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๑.

บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา เพราะปรารภสิ่งเหล่านั้น มีราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส เกิดขึ้น [๔๙๖] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม แล้วกระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา บุคคลกระทำกุศลทั้งหลายที่สั่งสมไว้แล้วแต่ก่อนๆ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา บุคคลออกจากฌานแล้ว กระทำฌานให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา พระเสขะทั้งหลาย กระทำโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา กระทำ โวทานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา พระเสขะทั้งหลาย ออกจากมรรคแล้ว กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่กุศลที่เป็นอธิบดีเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๔๙๗] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียวคือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถ- *กรรมแล้วกระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำกุศล นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มีราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น บุคคลกระทำกุศลทั้งหลาย ที่สั่งสมไว้แล้วแต่ก่อนๆ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มี ราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น บุคคลออกจากฌาน แล้วกระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิด- *เพลิน เพราะกระทำฌานนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มีราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๒.

[๔๙๘] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่พระอรหันต์ออกจากมรรคแล้วกระทำมรรคให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่กุศลที่เป็นอธิบดีเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดย อธิปติปัจจัย กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่กุศลที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอธิปติปัจจัย [๔๙๙] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่บุคคลกระทำราคะ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มี ราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น กระทำทิฏฐิให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำทิฏฐินั้นให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น มี ราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่อกุศลที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๕๐๐] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่กุศลธรรมที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่จิตต- *สมุฏฐานรูป โดยอธิปติปัจจัย [๕๐๑] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม โดย อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตตาธิปติ ได้แก่อกุศลที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- *ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอธิปติปัจจัย [๕๐๒] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอธิปติปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๓.

มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอรหันต์กระทำผลจิตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์หนักแน่น แล้วพิจารณา นิพพานเป็นปัจจัยแก่ผลจิต โดยอธิปติปัจจัย ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่อัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ที่เป็นอธิบดี เป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอธิปติปัจจัย [๕๐๓] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่พระเสขะ กระทำผลจิตให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และมรรค โดยอธิปติปัจจัย [๕๐๔] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียวคือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่บุคคลกระทำจักษุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำจักษุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มีราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น บุคคลกระทำโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และขันธ์ที่อัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำโสตะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มี ราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น [๕๐๕] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ กุศลขันธ์ที่เกิดขึ้นก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอนันตรปัจจัย [๕๐๖] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอนันตรปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๔.

คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ๑- มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล อนุโลมญาณของพระเสขะ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล ของพระอริยบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผล สมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย [๕๐๗] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ กุศลขันธ์ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดหลังๆ โดยอนันตร- *ปัจจัย [๕๐๘] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ อกุศล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ [๕๐๙] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตกิริยา และอัพยากตวิบากที่เกิดหลังๆ ภวังคจิต เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ อนุโลมญาณของพระอรหันต์ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา ของพระอรหันต์ผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผล สมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย [๕๑๐] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย โดยอนันตรปัจจัย [๕๑๑] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย โดยอนันตรปัจจัย [๕๑๒] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยสมนันตรปัจจัย คือ กุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดหลังๆ โดย สมนันตรปัจจัย @๑. คือวิบาก ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๕.

อนุโลมญาณ เป็นปัจจัยแก่โคตรภู โดยสมนันตรปัจจัย อนุโลมญาณ เป็นปัจจัยแก่โวทาน โดยสมนันตรปัจจัย โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยสมนันตรปัจจัย โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยสมนันตรปัจจัย [๕๑๓] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยสมนันตรปัจจัย คือ กุศล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดยสมนันตรปัจจัย มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล โดยสมนันตรปัจจัย อนุโลมของพระเสขะทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยสมนันตรปัจจัย เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลของพระอริยบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ ผลสมาบัติ โดยสมนันตรปัจจัย [๕๑๔] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยสมนันตรปัจจัย คือ กุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ที่เกิดหลังๆ โดย สมนันตรปัจจัย [๕๑๕] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยสมนันตรปัจจัย คือ อกุศล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดยสมนันตรปัจจัย [๕๑๖] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยสมนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาที่เกิดหลังๆ โดยสมนันตรปัจจัย ภวังคจิต เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ โดยสมนันตรปัจจัย กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดยสมนันตรปัจจัย อนุโลมญาณของพระอรหันต์ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยสมนันตรปัจจัย เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาของพระอรหันต์ผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยสมนันตรปัจจัย [๕๑๗] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยสมนันตรปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๖.

คือ อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย โดยสมนันตรปัจจัย [๕๑๘] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมโดยสมนันตรปัจจัย คือ อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย โดยสมนันตรปัจจัย [๕๑๙] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยสหชาตปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๑ โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยสหชาตปัจจัย [๕๒๐] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยสหชาตปัจจัย คือ กุศลขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาตปัจจัย [๕๒๑] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยสหชาต- *ปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาต- *ปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาตปัจจัย [๕๒๒] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยสหชาตปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยสหชาตปัจจัย [๕๒๓] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยสหชาตปัจจัย คือ อกุศลขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาตปัจจัย [๕๒๔] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดย- *สหชาตปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดย สหชาตปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาตปัจจัย [๕๒๕] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยสหชาตปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๗.

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และ- *จิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ โดยสหชาตปัจจัย หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูปหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป โดยสหชาตปัจจัย พาหิรมหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ โดย สหชาตปัจจัย มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๑ ที่เป็นอาหารสมุฏฐาน เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่ มหาภูตรูป ๒ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๑ ที่เป็นอุตุสมุฏฐาน เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่- *มหาภูตรูป ๒ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป โดยสหชาตปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๘.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่ มหาภูตรูป ๒ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูปทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป สหชาตปัจจัย [๕๒๖] กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดย สหชาตปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล และมหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดย สหชาตปัจจัย [๕๒๗] อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยสหชาตปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศลและมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาตปัจจัย [๕๒๘] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอัญญมัญญปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัญญมัญญปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยอัญญมัญญปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัญญมัญญปัจจัย [๕๒๙] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอัญญมัญญปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัญญมัญญปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยอัญญมัญญปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัญญมัญญปัจจัย [๕๓๐] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอัญญมัญญปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดย- *อัญญมัญญปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยอัญญมัญญปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่- *ขันธ์ ๒ โดยอัญญมัญญปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ โดยอัญญมัญญปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และหทยวัตถุ โดยอัญญมัญญปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ โดยอัญญมัญญปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๙.

ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ โดยอัญญมัญญปัจจัย หทยวัตถุ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ทั้งหลาย โดยอัญญมัญญปัจจัย มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยอัญญมัญญปัจจัย มหาภูตรูป ๓ เป็น ปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดยอัญญมัญญปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ โดย- *อัญญมัญญปัจจัย พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ ๑- สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยอัญญมัญญ- *ปัจจัย มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดยอัญญมัญญปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัย แก่มหาภูตรูป ๒ โดยอัญญมัญญปัจจัย [๕๓๑] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยนิสสยปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๑ โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยนิสสยปัจจัย [๕๓๒] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยนิสสยปัจจัย คือ กุศลขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสยปัจจัย [๕๓๓] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยนิสสย- *ปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสย- *ปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสยปัจจัย [๕๓๔] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยนิสสยปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยนิสสยปัจจัย [๕๓๕] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยนิสสยปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสยปัจจัย @๑. ตามนัยแห่งข้อ ๕๒๔ ซึ่งว่าด้วยสหชาตปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๐.

[๕๓๖] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยนิสสย- *ปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสย- *ปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสยปัจจัย [๕๓๗] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยนิสสยปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และ จิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป โดย นิสสยปัจจัย ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป โดย นิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ หทยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย โดย นิสสยปัจจัย มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยนิสสยปัจจัย มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัย แก่มหาภูตรูป ๑ โดยนิสสยปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ โดยนิสสยปัจจัย มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป โดย นิสสยปัจจัย พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยนิสสยปัจจัย มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดยนิสสยปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่ มหาภูตรูป ๒ โดยนิสสยปัจจัย มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป โดยนิสสยปัจจัย จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โดยนิสสยปัจจัย โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๑.

ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยนิสสยปัจจัย หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา โดย นิสสยปัจจัย [๕๓๘] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยนิสสยปัจจัย คือ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย โดยนิสสยปัจจัย [๕๓๙] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยนิสสยปัจจัย คือ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย โดยนิสสยปัจจัย [๕๔๐] กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยนิสสย- *ปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลและหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๒ โดยนิสสยปัจจัย [๕๔๑] กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดย นิสสยปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นกุศล และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน- *รูป โดยนิสสยปัจจัย [๕๔๒] อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยนิสสย- *ปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยนิสสยปัจจัย [๕๔๓] อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดย นิสสยปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๒.

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน- *รูป โดยนิสสยปัจจัย [๕๔๔] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม กระทำกุศลนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา บุคคลกระทำกุศลทั้งหลายที่สั่งสมไว้ดีแล้วแต่ก่อน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา บุคคลออกจากฌาน กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา พระเสขะทั้งหลาย กระทำโคตรภู ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา กระทำ โวทาน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา พระเสขะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว พิจารณา ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่กุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศล ขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดหลังๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู โดยอุปนิสสยปัจจัย อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน โดยอุปนิสสยปัจจัย โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลอาศัยศรัทธา แล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำ อุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้ เกิดขึ้นยังอภิญญาให้ เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น บุคคลอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา แล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติ ให้เกิดขึ้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๓.

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งทุติยฌาน เป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งตติยฌาน เป็นปัจจัยแก่ตติยฌาน โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งจตุตถฌาน เป็นปัจจัยแก่จตุตถฌาน โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งอากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่อากาสานัญจายตนะ โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย บริกรรมแห่งวิญญาณัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งอากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่อากิญจัญญายตนะ โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดย อุปนิสสยปัจจัย ปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน โดยอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ จตุตตถฌาน เป็นปัจจัยแก่อากาสานัญจายตนะ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่ วิญญาณัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่อกิญจัญญายตนะ อากิญจัญญายตนะ เป็น ปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งทิพจักษุ เป็นปัจจัยแก่ทิพจักษุ โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งทิพโสตธาตุ เป็นปัจจัยแก่ทิพโสตธาตุ โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งอิทธิวิธญาณ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งเจโตปริยญาณ เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นปัจจัยแก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ โดย อุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งยถากัมมุปคญาณ เป็นปัจจัยแก่ยถากัมมุปคญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งอนาคตังสญาณ เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย ทิพจักษุ เป็นปัจจัยแก่ทิพจักษุ โดยอุปนิสสยปัจจัย ทิพโสตธาตุ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๔.

อิทธิวิธญาณ เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย เจโตปริยญาณ เป็นปัจจัยแก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นปัจจัยแก่ยถากัมมุปคญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย ยถากัมมุปคญาณ เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งจตุตถมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย ปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย ทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย ตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย พระเสขะทั้งหลาย อาศัยมรรคแล้ว ยังสมาบัติที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น เข้าซึ่งสมาบัติ ที่เกิดขึ้นแล้ว พิจารณาเห็นแจ้งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มรรค เป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณ- *ปฏิสัมภิทา และแก่ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ ของพระเสขะทั้งหลาย โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย [๕๔๕] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ที่เป็นอารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม กระทำกุศลนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำกุศลนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มีราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น บุคคลกระทำกุศลทั้งหลายที่สั่งสมไว้ดีแล้วแต่ก่อนๆ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มีราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น บุคคลออกจากฌาน แล้วกระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำฌานนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มีราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น ที่เป็นปกตูปนิสสยา ได้แก่บุคคลอาศัยศรัทธา ถือมานะ ทิฏฐิ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๕.

บุคคลอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา แล้วถือมานะ ทิฏฐิ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และแก่ความปรารถนา โดยอุปนิสสยปัจจัย [๕๔๖] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสย ได้แก่พระอรหันต์ออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่กุศล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดยอุปนิสสยปัจจัย มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล อนุโลมของพระเสขะทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานา- *สัญญายตนกุศลของพระอริยบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลอาศัยศรัทธา แล้วทำตนให้เดือดร้อน ทำให้ตน เร่าร้อน เสวยทุกข์ มีการแสวงหาเป็นมูล บุคคลอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา แล้วทำตนให้เดือดร้อน ทำตนให้เร่าร้อน ย่อมเสวยทุกข์ มีการแสวงหาเป็นมูล ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่ผล สมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย กุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบาก โดยอุปนิสสยปัจจัย พระอรหันต์ อาศัยมรรค ยังกิริยาสมบัติที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น เข้าถึงกิริยาสมบัติที่ เกิดขึ้น แล้วพิจารณาสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มรรค เป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิ- *สัมภิทา และแก่ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะของพระอรหันต์ โดยอุปนิสสยปัจจัย มรรค เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย [๕๔๗] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสย ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลกระทำราคะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำราคะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มี ราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๖.

บุคคลกระทำทิฏฐิให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วเพลิดเพลินยินดี เพราะกระทำ ทิฏฐิให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มี ราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่อกุศลขันธ์ที่เกิดขึ้นก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ ที่เกิดหลังๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลอาศัยราคะแล้วฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ ไม่ได้ให้ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำการ ปล้นในเรือนหลังหนึ่ง คอยดักอยู่ทางเปลี่ยว คบหาทาระของชายอื่น ทำการฆ่าชาวบ้าน ทำการ ฆ่าชาวนิคม ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ยังโลหิตพระตถาคตให้ห้อด้วยจิตประทุษร้าย ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน บุคคลอาศัยโทสะแล้ว ฯลฯ บุคคลอาศัยโมหะ มานะ ทิฏฐิ และความปรารถนา แล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ให้แตกกัน ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และแก่ความปรารถนา โดยอุปนิสสยปัจจัย [๕๔๘] ปาณาติบาต เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต โดยอุปนิสสยปัจจัย ปาณาติบาต เป็นปัจจัยแก่อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท และแก่มิจฉาทิฏฐิ โดยอุปนิสสยปัจจัย อทินนาทาน เป็นปัจจัยแก่อทินนาทาน โดยอุปนิสสยปัจจัย อทินนาทาน เป็นปัจจัยแก่กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ฯลฯ มิจฉาทิฏฐิ และแก่ ปาณาติบาต โดยอุปนิสสยปัจจัย พึงผูกให้เป็นจักกเปยยาล [๕๔๙] กาเมสุมิจฉาจาร เป็นปัจจัยแก่กาเมสุมิจฉาจาร โดยอุปนิสสยปัจจัย กาเมสุมิจฉาจาร เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่อทินนาทาน โดยอุปนิสสยปัจจัย มุสาวาท เป็นปัจจัยแก่มุสาวาท โดยอุปนิสสยปัจจัย มุสาวาท เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่กาเมสุมิจฉาจาร โดยอุปนิสสยปัจจัย ปิสุณาวาจา เป็นปัจจัยแก่ปิสุณาวาจา โดยอุปนิสสยปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๗.

ปิสุณาวาจา เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่มุสาวาท โดยอุปนิสสยปัจจัย ผรุสวาจา เป็นปัจจัยแก่ผรุสวาจา โดยอุปนิสสยปัจจัย ผรุสวาจา เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่ปิสุณาวาจา โดยอุปนิสสยปัจจัย สัมผัปปลาปะ เป็นปัจจัยแก่สัมผัปปลาปะ โดยอุปนิสสยปัจจัย สัมผัปปลาปะ เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่ผรุสวาจา โดยอุปนิสสยปัจจัย อภิชฌา เป็นปัจจัยแก่อภิชฌา โดยอุปนิสสยปัจจัย อภิชฌา เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่สัมผัปปลาปะ โดยอุปนิสสยปัจจัย พยาบาท เป็นปัจจัยแก่พยาบาท โดยอุปนิสสยปัจจัย พยาบาท เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่อภิชฌา โดยอุปนิสสยปัจจัย มิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิ โดยอุปนิสสยปัจจัย มิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท โดยอุปนิสสยปัจจัย [๕๕๐] มาตุฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มาตุฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่ปิตุฆาตกรรม อรหันตฆาตกรรม โรหิรุปาทกรรม สังฆเภทกรรม และแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิ โดยอุปนิสสยปัจจัย ปิตุฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่ปิตุฆาตกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย ปิตุฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่อรหันตฆาตกรรม โรหิรุปาทกรรม สังฆเภทกรรม นิยตมิจฉาทิฏฐิ และมาตุฆาตกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย อรหันตฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่อรหันตฆาตกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย อรหันตฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่โรหิรุปาทกรรม ฯลฯ ปิตุฆาตกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย โรหิรุปาทกรรม เป็นปัจจัยแก่โรหิรุปาทกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย โรหิรุปาทกรรม เป็นปัจจัยแก่สังฆเภทกรรม ฯลฯ อรหันตฆาตกรรม โดยอุปนิสสย ปัจจัย สังฆเภทกรรม เป็นปัจจัยแก่สังฆเภทกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย สังฆเภทกรรม เป็นปัจจัยแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ โรหิรุปาทกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย นิยตมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิ โดยอุปนิสสยปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๘.

นิยตมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม ปิตุฆาตกรรม อรหันตฆาตกรรม โรหิรุปาทกรรม และแก่สังฆเภทกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย พึงกระทำให้เป็นจักกเปยยาล [๕๕๑] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลอาศัยราคะแล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญา- *ให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น บุคคลอาศัยโทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนาแล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญา ให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ราคะโทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา โดยอุปนิสสยปัจจัย บุคคลฆ่าสัตว์ เพื่อจะลบล้างผลแห่งปาณาติบาตนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล กระทำ อุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น บุคคลถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว เพื่อจะลบล้างผลของอทินนาทานนั้น จึงให้ ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น บุคคลกล่าวเท็จแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของมุสาวาทนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น บุคคลกล่าวคำส่อเสียดแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของปิสุณาวาจานั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น บุคคลคำหยาบแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของผรุสวาทนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น บุคคลกล่าวคำเพ้อเจ้อแล้ว เพื่อจะลบล้างผลสัมผัปปลาปะนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยัง- *สมาบัติให้ เกิดขึ้น บุคคลตัดที่ต่อแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๙.

บุคคลปล้นไม่ให้เหลือแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น บุคคลทำการปล้นในเรือนหลังหนึ่งแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น บุคคลคอยดักอยู่ในทางเปลี่ยวแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น บุคคลคบหาทาระของชายอื่นแล้ว เพื่อจะลบล้างผลกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยัง- *สมาบัติให้ เกิดขึ้น บุคคลกระทำการฆ่าชาวบ้านแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น บุคคลฆ่าชาวนิคมแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล กระทำ อุโบลถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น บุคคลฆ่ามารดาแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของมาตุฆาตนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม บุคคลฆ่าบิดาแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของปิตุฆาตนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล กระทำ อุโบสถกรรม บุคคลฆ่าพระอรหันต์แล้ว เพื่อจะลบล้างผลของอรหันตฆาตนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม บุคคลยังโลหิตพระตถาคตให้ห้อด้วยจิตประทุษร้ายแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของโลหิตุป- *บาทนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม บุคคลทำลายสงฆ์ให้แตกกันแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของสังฆเภทนั้น จึงให้ทานศีล สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม [๕๕๒] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕๐.

มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่อกุศลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดยอุปนิสสยปัจจัย ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลอาศัยราคะแล้ว ทำตนให้เดือดร้อน ทำตนให้ เร่าร้อน ย่อมเสวยทุกข์ มีการแสวงหาเป็นมูล บุคคลอาศัยโทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนาแล้ว ทำตนให้เดือดร้อน ทำตนให้เร่าร้อน ย่อมเสวยทุกข์ มีการแสวงหาเป็นมูล ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์- *ทางกาย และผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบาก โดยอุปนิสสยปัจจัย [๕๕๓] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่พระอรหันต์กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา นิพพานเป็นปัจจัยแก่ผล โดยอุปนิสสยปัจจัย ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาที่เกิดหลังๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย ภวังคจิต เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ อนุโลมญาณของพระอรหันต์ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาของพระอริยบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผล สมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่สุขทางกาย เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และ ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติ โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕๑.

อุตุเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย โภชนะ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติ โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์- *ทางกาย และผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย ผลสมาบัติ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย พระอรหันต์อาศัยสุขทางกาย ยังกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น เข้าถึงกิริยาสมาบัติ ที่ เกิดขึ้น แล้ว พิจารณาสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระอรหันต์อาศัยทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ ยังกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้น แล้วพิจารณาสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา [๕๕๔] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่พระเสขะทั้งหลาย กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่าง- *หนักแน่น แล้วพิจารณา กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล โดยอุปนิสสยปัจจัย ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ โดยแก่บุคคลอาศัยสุขทางกาย แล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญา ให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น บุคคลอาศัยทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ แล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำ อุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้ เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา โดยอุปนิสสยปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕๒.

[๕๕๕] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลกระทำจักษุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำจักษุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มีราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น บุคคลกระทำโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว ยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำโสตะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มี ราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย โดย อุปนิสสยปัจจัย ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลอาศัยสุขทางกาย แล้วฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เขา ไม่ได้ให้ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ปล้น ในเรือนหลังหนึ่ง คอยดักในทางเปลี่ยว คบหาทาระของชายอื่น ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ยังโลหิตพระตถาคตให้ห้อด้วยจิตประทุษร้าย ทำสงฆ์ให้ แตกกัน บุคคลอาศัยทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ แล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำสงฆ์ให้ แตกกัน สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา โดยอุปนิสสยปัจจัย [๕๕๖] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็น อารัมมณปุเรชาต ได้แก่พระอรหันต์พิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระอรหันต์พิจารณาโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕๓.

พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โดยปุเรชาตปัจจัย สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยปุเรชาต- *ปัจจัย ที่เป็น วัตถุปุเรชาต ได้แก่จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โดยปุเรชาตปัจจัย โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยปุเรชาตปัจจัย หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา โดยปุเรชาตปัจจัย [๕๕๗] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็น อารัมมณปุเรชาต ได้แก่พระเสขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นจักษุ โดยความ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระเสขะหรือปุถุชนพิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระเสขะหรือปุถุชนพิจารณาเห็นรูปด้วยทิพจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ ที่เป็น วัตถุปุเรชาต ได้แก่หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย โดยปุเรชาต- *ปัจจัย [๕๕๘] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็น อารัมมณปุเรชาต ได้แก่บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ เพราะปรารภจักษุนั้น มี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลยินดีเพลิดเพลินโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ เพราะปรารภโสตะเป็นต้นนั้น มี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส เกิดขึ้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕๔.

ที่เป็น วัตถุปุเรชาต ได้แก่หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย โดยปุเรชาต- *ปัจจัย [๕๕๙] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยปัจฉาชาตปัจจัย คือ กุศลขันธ์ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย [๕๖๐] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยปัจฉาชาตปัจจัย คือ อกุศลขันธ์ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย [๕๖๑] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยปัจฉาชาตปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัย แก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย [๕๖๒] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอาเสวนปัจจัย คือ กุศลขันธ์ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ที่เกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอาเสวนปัจจัย [๕๖๓] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอาเสวนปัจจัย คือ กุศลขันธ์ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ที่เกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย [๕๖๔] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอาเสวนปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตกิริยาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตกิริยาที่เกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย [๕๖๕] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยกัมมปัจจัย คือ กุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยกัมมปัจจัย [๕๖๖] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ที่เป็น สหชาต ได้แก่กุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยกัมมปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕๕.

ที่เป็น นานาขณิก ได้แก่กุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์และกฏัตตารูป โดย กัมมปัจจัย [๕๖๗] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยกัมมปัจจัย คือ กุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยกัมมปัจจัย [๕๖๘] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยกัมมปัจจัย คือ อกุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยกัมมปัจจัย [๕๖๙] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ที่เป็น สหชาต ได้แก่อกุศลเจตนาเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยกัมมปัจจัย ที่เป็น นานาขณิก ได้แก่กุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และกฏัตตารูป โดยกัมมปัจจัย [๕๗๐] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยกัมม- *ปัจจัย คือ อกุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยกัมมปัจจัย [๕๗๑] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยกัมมปัจจัย คือ เจตนาที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ- *กฏัตตารูป โดยกัมมปัจจัย เจตนา เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ โดยกัมมปัจจัย [๕๗๒] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยวิปากปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยวิปากปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่- *ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยวิปากปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕๖.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป โดยวิปากปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป โดยวิปากปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป โดยวิปากปัจจัย ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ โดยวิปากปัจจัย [๕๗๓] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ อาหารที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยอาหารปัจจัย [๕๗๔] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ อาหารที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยอาหารปัจจัย [๕๗๕] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยอาหาร- *ปัจจัย คือ อาหารที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดย อาหารปัจจัย [๕๗๖] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ อาหารที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยอาหารปัจจัย [๕๗๗] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ อาหารที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยอาหารปัจจัย [๕๗๘] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดย- *อาหารปัจจัย คือ อาหารที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดย อาหารปัจจัย [๕๗๙] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ อาหารที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อาหารที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ กฏัตตารูป โดยอาหารปัจจัย กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ โดยอาหารปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕๗.

[๕๘๐] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอินทริยปัจจัย คือ อินทรีย์ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยอินทริยปัจจัย [๕๘๑] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอินทริยปัจจัย คือ อินทรีย์เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยอินทริยปัจจัย [๕๘๒] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยอินทริย- *ปัจจัย คือ อินทรีย์ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดย อินทริยปัจจัย [๕๘๓] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอินทริยปัจจัย คือ อินทรีย์ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยอินทริยปัจจัย [๕๘๔] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอินทริยปัจจัย คือ อินทรีย์ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยอินทริยปัจจัย [๕๘๕] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดย- *อินทริยปัจจัย คือ อินทรีย์ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดย อินทริยปัจจัย [๕๘๖] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอินทริยปัจจัย คือ อินทรีย์ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอินทริยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ- *กฏัตตารูป โดยอินทริยปัจจัย จักขุนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โดยอินทริยปัจจัย โสตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ โดยอินทริยปัจจัย ฆานินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ โดยอินทริยปัจจัย ชิวหินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ โดยอินทริยปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕๘.

กายินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยอินทริยปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป โดยอินทริยปัจจัย [๕๘๗] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยฌานปัจจัย คือ องค์ฌานที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยฌานปัจจัย [๕๘๘] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยฌานปัจจัย คือ องค์ฌานที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยฌานปัจจัย [๕๘๙] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยฌานปัจจัย คือ องค์ฌานที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดย ฌานปัจจัย [๕๙๐] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยฌานปัจจัย คือ องค์ฌานที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยฌานปัจจัย [๕๙๑] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยฌานปัจจัย คือ องค์ฌานที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยฌานปัจจัย [๕๙๒] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยฌาน- *ปัจจัย คือ องค์ฌานที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดย ฌานปัจจัย [๕๙๓] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยฌานปัจจัย คือ องค์ฌานที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยฌานปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ องค์ฌานที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ กฏัตตารูป โดยฌานปัจจัย [๕๙๔] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยมัคคปัจจัย คือ องค์มรรคที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยมัคคปัจจัย [๕๙๕] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยมัคคปัจจัย คือ มรรคที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยมัคคปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕๙.

[๕๙๖] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยมัคค- *ปัจจัย คือ องค์แห่งมรรคที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยมัคคปัจจัย [๕๙๗] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยมัคคปัจจัย คือ องค์มรรคที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยมัคคปัจจัย [๕๙๘] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยมัคคปัจจัย คือ องค์มรรคที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยมัคคปัจจัย [๕๙๙] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยมัคค- *ปัจจัย คือ องค์มรรคที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดย มัคคปัจจัย [๖๐๐] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยมัคคปัจจัย คือ องค์มรรคที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยมัคคปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ องค์มรรคที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ กฏัตตารูป โดยมัคคปัจจัย [๖๐๑] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยสัมปยุตตปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยสัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยสัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยสัมปยุตตปัจจัย [๖๐๒] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยสัมปยุตตปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยสัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยสัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยสัมปยุตตปัจจัย [๖๐๓] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยสัมปยุตตปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดย สัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยสัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่- *ขันธ์ ๒ โดยสัมปยุตตปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๐.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยสัมปยุตต- *ปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยสัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยสัมปยุตตปัจจัย [๖๐๔] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ที่เป็น สหชาต ได้แก่ขันธ์ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยวิปปยุตต- *ปัจจัย ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ขันธ์ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดย วิปปยุตตปัจจัย [๖๐๕] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ที่เป็น สหชาต ได้แก่ขันธ์ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดย วิปปยุตตปัจจัย ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ขันธ์ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดย วิปปยุตตปัจจัย [๖๐๖] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต ที่เป็น สหชาต ได้แก่ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่ จิตตสมุฏฐานรูป โดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป โดยวิปปยุตต- *ปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ โดยวิปปยุตตปัจจัยหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็น ปุเรชาต ได้แก่จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โดยวิปปยุตตปัจจัย โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ โดยวิปปยุตตปัจจัย ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆาน- *วิญญาณ โดยวิปปยุตตปัจจัย ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ โดยวิปปยุตตปัจจัย กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยวิปปยุตตปัจจัย หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา โดยวิปปยุตตปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๑.

ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย [๖๐๗] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ โดยวิปปยุตต- *ปัจจัย [๖๐๘] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่หทยวัตถุเป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ โดยวิปปยุตต- *ปัจจัย [๖๐๙] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอัตถิปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๑ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย [๖๑๐] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ที่เป็น สหชาต ได้แก่กุศลขันธ์ เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่กุศลขันธ์ เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย [๖๑๑] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยอัตถิปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย [๖๑๒] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอัตถิปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๑ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย [๖๑๓] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ที่เป็น สหชาต ได้แก่อกุศลขันธ์ เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๒.

ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่อกุศลขันธ์เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย [๖๑๔] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยอัตถิ- *ปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล ที่เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิ ปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย [๖๑๕] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทริย ที่เป็น สหชาต ได้แก่ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ โดยอัตถิปัจจัย หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่ มหาภูตรูป ๑ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป ที่เป็นจิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูป โดยอัตถิปัจจัย พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป ที่เป็นจิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูป โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็น ปุเรชาต ได้แก่พระอรหันต์พิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระอรหันต์พิจารณาโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๓.

พระอรหันต์ เห็นรูปด้วยทิพพจักษุ พระอรหันต์ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่ โสตวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็น ปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็น อาหาร ได้แก่กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็น อินทริย ได้แก่รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป โดยอัตถิปัจจัย [๖๑๖] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่พระเสขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นจักษุ โดยความ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระเสขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระเสขะหรือปุถุชน เห็นรูปด้วยทิพพจักษุ พระเสขะหรือปุถุชน ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย [๖๑๗] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่บุคคลยินดีเพลิดเพลิน ซึ่งจักษุเพราะปรารภ ซึ่ง จักษุนั้น มีราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลยินดีเพลิดเพลินโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ เพราะปรารภโสตะ เป็นต้นนั้น มีราคะ ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น หทยวัตถุ เป็นปัจจัย แก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๔.

[๖๑๘] กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ที่เป็น สหชาต ได้แก่ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลและหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดย อัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย [๖๑๙] กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอัตถิ ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต อาหารปัจฉาชาต อินทริยปัจฉาชาต ที่เป็น สหชาต ได้แก่กุศลขันธ์และมหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดย อัตถิปัจจัย ที่เป็น อาหารปัจฉาชาต ได้แก่กุศลขันธ์และกวฬิงการหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นอินทริยปัจฉาชาต ได้แก่กุศลขันธ์และรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป โดยอัตถิปัจจัย [๖๒๐] อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ที่เป็น สหชาต ได้แก่ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย [๖๒๑] อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดย อัตถิปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต อาหารปัจฉาชาต อินทริยปัจฉาชาต ที่เป็น สหชาต ได้แก่อกุศลขันธ์และมหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็น อาหารปัจฉาชาต ได้แก่อกุศลขันธ์และกวฬิงการหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๕.

ที่เป็น อินทริยปัจฉาชาต ได้แก่อกุศลขันธ์และรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ กฏัตตารูป โดยอัตถิปัจจัย [๖๒๒] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยนัตถิปัจจัย คือ กุศลขันธ์ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ที่เกิดหลังๆ โดยนัตถิปัจจัย ฯลฯ พึงให้พิสดารเหมือนอย่างอนันตรปัจจัย [๖๒๓] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยวิคตปัจจัย คือ กุศลขันธ์ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ที่เกิดหลังๆ โดยวิคตปัจจัย ฯลฯ พึงให้พิสดารเหมือนอย่างอนันตรปัจจัย [๖๒๔] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอวิคตปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอวิคตปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๓ โดยอวิคตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอวิคตปัจจัย พึงให้พิสดารเหมือนอย่างอัตถิปัจจัย
ปัญหาวารวิภังค์ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๐ บรรทัดที่ ๕๘๐๕-๖๗๗๒ หน้าที่ ๒๒๗-๒๖๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=40&A=5805&Z=6772&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=40&siri=43              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=40&i=487              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [487-624] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=40&item=487&items=138              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=11291              The Pali Tipitaka in Roman :- [487-624] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=40&item=487&items=138              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=11291              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_40

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :