ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑๐ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
ปัญหาวาร
[๙๙] ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ปฏิสนธิ. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่จิต และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ปฏิสนธิ. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เป็นเจตสิก โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายและจิต และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลายโดยเหตุปัจจัย ปฏิสนธิ. [๑๐๐] ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยอารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก เกิดขึ้น
พึงถามถึงมูล
จิต ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก เกิดขึ้น.
พึงถามถึงมูล
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก เกิดขึ้น. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลาย พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่เจตสิก โดย ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น จิต เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ บุคคลรู้ซึ่งจิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดย เจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลาย พิจารณานิพพาน มีคำอธิบายเหมือนกับข้อความตามบาลีข้างต้น จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ที่ไม่ใช่เจตสิก โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ บุคคลรู้ซึ่งขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่เจตสิก โดยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณแก่ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดย อารัมมณปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณานิพพาน มีคำอธิบายเหมือนกับข้อความตามบาลีข้างต้น. จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่เจตสิก โดยความเป็น ของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น จิต และ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพจักขุ. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอารัมมณปัจจัย โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยอารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต เกิดขึ้น.
พึงถามถึงมูล
จิต ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต เกิดขึ้น.
พึงถามถึงมูล
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต เกิดขึ้น [๑๐๑] ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยอารัมมณปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก ทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว เกิดขึ้น. ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย.
พึงถามถึงมูล
ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ จิต ทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิกให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่นแล้ว เกิดขึ้น ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัย แก่จิต และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย.
พึงถามถึงมูล
ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต ทำขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นเจตสิกให้หนักแน่นแล้ว เกิดขึ้น ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่อธิปติธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย และจิต และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดยอธิปติปัจจัย. มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะทั้งหลายทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว พิจารณา นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล โดยอธิปติปัจจัย จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลทำขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่เจตสิกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง จิต ทำจักขุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว เกิดขึ้น. ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่จิต และจิต สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะทั้งหลายทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ มีคำอธิบายเหมือนกับข้อความตามบาลีข้างต้น. จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลทำขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่เจตสิกให้หนักแน่น ย่อม ยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะทำจักขุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิเกิดขึ้น ฯลฯ ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดย อธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะทั้งหลาย นิพพาน ฯลฯ มีคำอธิบายเหมือนกับ ข้อความตามบาลีข้างต้น. บุคคลทำขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่เจตสิกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อมยินดี ย่อม เพลิดเพลินยิ่ง เพราะทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และ จิต เกิดขึ้น. ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดย อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ มี ๓ นัย เป็นอารัมมณาธิปติอย่างเดียว. [๑๐๒] ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิกที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย.
พึงถามถึงมูล
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิกที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่จิตที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย.
พึงถามถึงมูล
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิกที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิกที่เกิด หลังๆ และจิต โดยอนันตรปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดยอนันตรปัจจัย คือ จิตที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่จิตที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่ผลสมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยอนันตรปัจจัย พึงกระทำเป็น ๓ นัย ดังที่กล่าวมา พึงยังคำอธิบายให้บริบูรณ์ เหมือนกับข้อความตาม บาลีข้างต้น ไม่มีแตกต่างกัน. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดย อนันตรปัจจัย มี ๓ นัย อาวัชชนะก็ดี วุฏฐานะก็ดี ไม่มี. เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย มี ๙ นัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย มี ๙ นัย เหมือน กับปฏิจจวาร เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ นัย เหมือนกับปฏิจจวาร เป็นปัจจัยโดย นิสสยปัจจัย มี ๙ นัย เหมือนกับปัจจยวาร. [๑๐๓] ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นเจตสิก โดยอุปนิสสยปัจจัย.
พึงถามถึงมูล มี ๓ นัย
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก อันเป็นที่เข้าไปอาศัย เป็นปัจจัยแก่จิต โดยอุปนิสสยปัจจัย.
พึงถามถึงมูล มี ๓ นัย
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิกอันเป็นที่เข้าไปอาศัย เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต โดยอุปนิสสยปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัย ฤดู ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ จิต แล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ฤดู ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ จิต เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ปัญญา แก่ราคะ ฯลฯ แก่ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัย ฤดู ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ จิต แล้วให้ทาน มี ๓ นัย มีคำอธิบายเหมือนกับข้อความตามบาลีข้างต้น ไม่มีแตกต่างกัน. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ นัย. [๑๐๔] ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นจักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความ เป็นของไม่เที่ยง ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น จิต เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ. ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะเป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิต โดยปุเรชาตปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นจักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความ เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ. ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วย จักขุวิญญาณ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก โดย ปุเรชาตปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดย ปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นจักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความ เป็นของไม่เที่ยง ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น จิต และสัมปยุตต- *ขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ. ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดย ปุเรชาตปัจจัย. [๑๐๕] ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดยปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดยปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดย ปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ. [๑๐๖] ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยอาเสวนปัจจัย. [๑๐๗] ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ เจตนาเจตสิก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่ เจตนาเจตสิก เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ เจตนาเจตสิก เป็นปัจจัยแก่จิต และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่ เจตนาเจตสิก เป็นปัจจัยแก่วิบากจิต และกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดย กัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ เจตนาเจตสิก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิต และจิตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่ เจตนาเจตสิก เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ทั้งหลาย และจิต และกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. [๑๐๘] ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยวิปากปัจจัย มี ๙ นัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย มี ๙ นัย เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย มี ๙ นัย เป็นปัจจัยโดย ฌานปัจจัย มี ๓ นัย เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย มี ๓ นัย เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ นัย. [๑๐๙] ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ จิตเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ จิต เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย จิต เป็นปัจจัยแก่ หทัยวัตถุ โดยวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิต โดยวิปปยุตตปัจจัย. ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โดยวิปปยุตตปัจจัย กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตโดยวิปปยุตตปัจจัย. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ จิต เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น เจตสิก โดยวิปปยุตตปัจจัย. ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก โดยวิปปยุตตปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดย วิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น เจตสิก และจิต โดยวิปปยุตตปัจจัย. ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดย วิปปยุตตปัจจัย. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดย วิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ฯลฯ. [๑๑๐] ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยอัตถิปัจจัย มี ๑ นัย เหมือนกับปฏิจจวาร. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดย อัตถิปัจจัย มี ๑ นัย เหมือนกับปฏิจจวาร. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์ ฯลฯ. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ จิต เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก โดยอัตถิปัจจัย ใน ปฏิสนธิขณะ จิต ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก โดยอัตถิปัจจัย. ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาหทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เหมือนกับปุเรชาต ไม่มีแตกต่างกัน. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดย อัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ จิต เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ จิต ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต โดย อัตถิปัจจัย. ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาหทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เหมือนกับปุเรชาต ไม่มีแตกต่างกัน. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดย อัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ ๑ ที่เป็นเจตสิก และหทัยวัตถุ และจิต เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นเจตสิก และหทัยวัตถุ และจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ พึงทำทั้ง ๒ นัย. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดย อัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ เป็น ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต และมหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต โดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ พึงทำทั้ง ๓ นัย. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เป็น ปุเรชาต โดยอัตถิปัจจัย. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต และกพฬิงการาหาร เป็น ปัจจัยแก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต และรูปชีวิตินทรีย์ เป็น ปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรม ที่ไม่ใช่เจตสิก โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๒ และจักขุวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ และกายายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และกายวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ขันธ์ ๑ ที่เป็นเจตสิก และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิต โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ พึงทำทั้ง ๒ นัย. [๑๑๑] ในเหตุปัจจัย มีวาระ ๓ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๙ ในอธิปติปัจจัย มี " ๙ ในอนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสหชาตปัจจัย มี " ๙ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๙ ในนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๓ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๓ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๙ ในกัมมปัจจัย มี " ๓ ในวิปากปัจจัย มีวาระ ๙ ในอาหารปัจจัย มี " ๙ ในอินทริยปัจจัย มี " ๙ ในฌานปัจจัย มี " ๓ ในมัคคปัจจัย มี " ๓ ในสัมปยุตตปัจจัย มี " ๕ ในวิปปยุตตปัจจัย มี " ๕ ในอัตถิปัจจัย มี " ๙ ในนัตถิปัจจัย มี " ๙ ในวิคตปัจจัย มี " ๙ ในอวิคตปัจจัย มี " ๙ [๑๑๒] ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยอารัมมณปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย กัมมปัจจัย. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดย อารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย กัมมปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดย อารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปุเรชาตปัจจัย. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดย อารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดย อารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรม ที่ไม่ใช่เจตสิก โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย. [๑๑๓] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยทั้งปวง มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มี " ๙. [๑๑๔] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มีวาระ ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัย มีวาระ ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยทั้งปวง กับเหตุปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๓. [๑๑๕] ในอารัมมณปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๙ ในอธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙.
พึงกระทำอนุโลมมาติกา.
ในอวิคตปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๙.
เจตสิกทุกะ.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓ บรรทัดที่ ๑๔๕๒-๑๘๐๙ หน้าที่ ๕๗-๗๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=43&A=1452&Z=1809&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=43&siri=11              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [99-115] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=43&item=99&items=17              The Pali Tipitaka in Roman :- [99-115] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=43&item=99&items=17              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_43

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :