ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ จุลวรรค ภาค ๑
ทำกรรมไม่ตามปฏิญาณ
[๖๐๘] สมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทำกรรม คือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยส กรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่ตามปฏิญาณ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพ- *พัคคีย์จึงได้ทำกรรมคือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่ตามปฏิญาณเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พระฉัพพัคคีย์ทำกรรม คือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่ตามปฏิญาณ จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมคือ ตัชชนียกรรมก็ดี นิยสกรรมก็ดี ปัพพาชนียกรรมก็ดี ปฏิสารณียกรรมก็ดี อุกเขปนียกรรมก็ดี อันภิกษุไม่พึงทำ แก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่ตามปฏิญาณ รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม
[๖๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การทำตามปฏิญาณที่ไม่เป็นธรรมอย่างนี้แล ที่เป็นธรรมอย่างนี้ การทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรมอย่างไร ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจท- *เธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติปาราชิก ผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติสังฆาทิเสส การปรับอย่างนี้ ชื่อว่า ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจท- *เธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติปาราชิก ผมต้องอาบัติถุลลัจจัย สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติถุลลัจจัย การปรับอย่างนี้ ชื่อว่า ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติปาราชิก ผมต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาจิตตีย์ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่า ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติปาราชิก ผมต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจท- *เธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติปาราชิก ผมต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุกกฏ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตาม ปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจท- *เธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติปาราชิก ผม- *ต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุพภาสิต การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตาม ปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ... ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย ... ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ... ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ... ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ... ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจท- *เธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่าคุณผมมิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ผม- *ต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาราชิก การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิ- *ญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจท- *เธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติสังฆาทิเสส การปรับอย่างนี้ ชื่อว่า ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจท- *เธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ผมต้องอาบัติถุลลัจจัย สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติถุลลัจจัย การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตาม ปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจท- *เธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ผมต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาจิตตีย์ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตาม ปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจท- *เธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ผมต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ การปรับอย่างนี้ ชื่อ- *ว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์ หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติ ทุพภาสิต ผมต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุกกฏ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม ฯ
ทำตามปฏิญาณเป็นธรรม
[๖๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การทำตามปฏิญาณเป็นธรรมอย่างไร ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ถูกละ คุณ ผมต้องอาบัติ ปาราชิก สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาราชิก การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณ เป็นธรรม ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ... ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย ... ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ... ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ... ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ... ภิกษุต้องอาบัติทุพภาษิต สงฆ์ หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ถูกละคุณ ผมต้องอาบัติ ทุพภาสิต สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุพภาสิต การปรับ อย่างนี้ ชื่อว่าทำตาม ปฏิญาณเป็นธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ทำตามปฏิญาณเป็นธรรม ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๘๒๙๓-๘๓๘๐ หน้าที่ ๓๕๑-๓๕๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=6&A=8293&Z=8380&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=6&siri=50              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=608              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [608-610] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=6&item=608&items=3              The Pali Tipitaka in Roman :- [608-610] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=6&item=608&items=3              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/brahmali#pli-tv-kd14:7.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/horner-brahmali#BD.5.109

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :