ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัย ๘ ประการ
[๔๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ มี ๘ อย่างเหมือนกันแล ที่พวกภิกษุพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ๘ อย่าง เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรลุ่มลึกลาดลงไปโดยลำดับ มิใช่ลึกมาแต่เดิมเลย สิกขาตามลำดับ กิริยาตามลำดับ ปฏิปทาตามลำดับ ใน ธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน มิใช่แทงตลอดอรหัตผลมาแต่เดิมเลย ข้อที่สิกขาตาม ลำดับ กิริยาตามลำดับ ปฏิปทาตามลำดับ ในธรรมวินัยนี้ มิใช่แทงตลอดอรหัตผล มาแต่เดิมเลย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๑ ที่ภิกษุ ทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ [๔๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรตั้งอยู่ตามธรรมดา ไม่ล้นฝั่ง สาวกทั้งหลายของเราก็เหมือนกัน ไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติ แล้วแก่สาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราไม่ล่วง ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต แม้นี้ ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๒ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็น แล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ [๔๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรไม่ร่วมกับซากศพที่ ตายแล้ว ซากศพที่ตายแล้วใดมีอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทรย่อมนำซากศพที่ตาย แล้วนั้นไปสู่ฝั่ง ซัดขึ้นบกโดยพลัน บุคคลนั้นใดเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก มี ความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปิดบังการกระทำ มิใช่สมณะปฏิญาณว่า เป็นสมณะ มิใช่พรหมจารีปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน โชกชุ่มด้วย กิเลส ผู้เศร้าหมอง ก็เหมือนกัน สงฆ์ย่อมไม่ร่วมกับบุคคลนั้น ย่อมประชุมกัน ยกเธอเสียโดยพลัน ถึงแม้เธอนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอ ชื่อว่าไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ไกลจากเธอ ข้อที่บุคคลนั้นใด เป็นผู้ทุศีล มีธรรม ลามก มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปิดบังการกระทำ มิใช่สมณะ ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่พรหมจารีปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน โชกชุ่ม ด้วยกิเลส ผู้เศร้าหมอง สงฆ์ย่อมไม่ร่วมกับบุคคลนั้น ย่อมประชุมกันยกเธอเสีย โดยพลัน ถึงแม้เธอนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอชื่อว่าไกล จากสงฆ์ และสงฆ์ก็ไกลจากเธอ แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๓ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ [๔๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่บางสาย คือ แม่น้ำ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลถึงมหาสมุทรแล้วย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึงซึ่งอันนับว่ามหาสมุทรทีเดียว วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ก็เหมือนกัน ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศ แล้ว ย่อมละชื่อและตระกูลเดิมเสีย ถึงซึ่งอันนับว่า สมณะเชื้อสายพระ ศากยบุตรทีเดียว ข้อที่วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและตระกูล เดิมเสีย ถึงซึ่งอันนับว่าสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทีเดียว แม้นี้ก็เป็นความ อัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๔ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากัน ชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ [๔๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำบางสายในโลกที่ไหลไป ย่อมไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความพร่องหรือความ เต็มของมหาสมุทรย่อมไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น ภิกษุจำนวนมากก็เหมือนกัน ถ้า แม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพาน ธาตุย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น ข้อที่ภิกษุจำนวนมาก ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๕ ที่ ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ [๔๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรสเค็มรสเดียว ธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน มีวิมุตติรส รสเดียว ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีวิมุตติรส รสเดียว แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๖ ที่ภิกษุทั้งหลายพบ เห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ [๔๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรัตนะมาก มี รัตนะมิใช่ชนิดเดียว รัตนะในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต ธรรมวินัย นี้ก็เหมือนกัน มีรัตนะมาก มีรัตนะมิใช่อย่างเดียว รัตนะในธรรมวินัยนั้นเหล่านี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้อที่ธรรมวินัยนี้ มีรัตนะมาก มีรัตนะมิใช่อย่างเดียว รัตนะ ในธรรมวินัยนั้นเหล่านี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ... อริยมรรคมีองค์ ๘ แม้นี้ก็เป็น ความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๗ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ [๔๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของ สัตว์ใหญ่ๆ สัตว์ใหญ่ๆ ในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ ปลาติมิ ... อสูร นาค คนธรรพ์ มีอยู่ในมหาสมุทร มีลำตัวตั้งร้อยโยชน์ก็มี สองร้อยโยชน์ก็มี สามร้อย โยชน์ก็มี สี่ร้อยโยชน์ก็มี ห้าร้อยโยชน์ก็มี ธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน เป็นที่อยู่ อาศัยของคนใหญ่ๆ คนใหญ่ๆ ในธรรมวินัยนั้นเหล่านี้ คือ โสดาบัน ผู้ปฏิบัติเพื่อ ทำให้แจ้งซึงโสดาปัตติผล สกิทาคามี ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกิทาคามิผล อนาคามี ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล อรหันต์ ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็น อรหันต์ ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่อาศัยของคนใหญ่ๆ คนใหญ่ๆ ในธรรมวินัย นั้นเหล่านี้ คือ โสดาบัน ... ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๘ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากันชื่นชมใน ธรรมวินัยนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ ๘ ประการนี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ [๔๖๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทาน ในเวลานั้น ว่าดังนี้
อุทานคาถา
สิ่งที่ปิดไว้ ย่อมรั่วได้ สิ่งที่เปิด ย่อมไม่รั่ว เพราะฉะนั้น จงเปิดสิ่งที่ปิด เช่นนี้ สิ่งที่เปิดนั้นจักไม่รั่ว ฯ [๔๖๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจักไม่ทำอุโบสถ จักไม่แสดงปาติโมกข์ ตั้งแต่บัดนี้ไป พวกเธอพึงทำอุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ตถาคตจะพึงทำ อุโบสถ แสดงปาติโมกข์ในบริษัทผู้ไม่บริสุทธิ์ นั้นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุมีอาบัติ ไม่พึงฟังปาติโมกข์ รูปใดฟัง ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้งดปาติโมกข์ แก่ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวฟังปาติโมกข์

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๕๔๖๐-๕๕๔๔ หน้าที่ ๒๒๖-๒๒๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=5460&Z=5544&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=74              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=449              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [457-466] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=7&item=457&items=10              The Pali Tipitaka in Roman :- [457-466] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=7&item=457&items=10              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd19/en/brahmali#pli-tv-kd19:1.3.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd19/en/horner-brahmali#Kd.19.1.3

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :