บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
หมวด ๔ ว่าด้วยการต้องและออกจากอาบัติเป็นต้น [๙๖๕] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยวาจาของตน ออกด้วยวาจาของผู้อื่น มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยวาจาของผู้อื่น ออกด้วยวาจาของตน มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยวาจาของตน ออกด้วยวาจาของตน มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยวาจาของผู้อื่น ออกด้วยวาจาของผู้อื่น. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยกาย ออกด้วยวาจา มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยวาจา ออกด้วยกาย มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยกาย ออกด้วยกาย มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยวาจา ออกด้วยวาจา. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุหลับแล้ว จึงต้อง ตื่นแล้ว จึงออก มีอยู่ อาบัติ ภิกษุตื่นแล้ว จึงต้อง หลับแล้ว จึงออก มีอยู่ อาบัติ ภิกษุหลับแล้ว จึงต้อง หลับแล้ว จึงออก มีอยู่ อาบัติ ภิกษุตื่นแล้ว จึงต้อง ตื่นแล้ว จึงออก. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ตั้งใจ จึงต้อง ตั้งใจ จึงออก มีอยู่ อาบัติ ภิกษุตั้งใจ จึงต้อง ไม่ตั้งใจ จึงออก มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ตั้งใจ จึงต้อง ไม่ตั้งใจ จึงออก มีอยู่ อาบัติ ภิกษุตั้งใจ จึงต้อง ตั้งใจ จึงออก. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องอยู่ จึงแสดง แสดงอยู่ จึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องอยู่ จึงออก ออกอยู่ จึงต้อง. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยกรรม ออกด้วยสิ่งมิใช่กรรม มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยสิ่งมิใช่กรรม ออกด้วยกรรม มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยกรรม ออกด้วยกรรม มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยสิ่งมิใช่กรรม ออกด้วยสิ่งมิใช่กรรม.ว่าด้วยอนริยโวหารเป็นต้น [๙๖๖] โวหารอันไม่ประเสริฐ มี ๔ คือ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่เห็นว่าเห็น ๑ ความ กล่าวในสิ่งที่ไม่ได้ยินว่าได้ยิน ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่ทราบว่าทราบ ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่รู้ ว่ารู้ ๑. โวหารอันประเสริฐ มี ๔ คือ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่เห็นว่าไม่เห็น ๑ ความกล่าวใน สิ่งที่ไม่ได้ยินว่าไม่ได้ยิน ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่ทราบว่าไม่ทราบ ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่รู้ว่า ไม่รู้ ๑. โวหารอันไม่ประเสริฐแม้อื่นอีก ๔ คือ ความกล่าวในสิ่งที่เห็นว่าไม่เห็น ๑ ความ กล่าวในสิ่งที่ได้ยินว่าไม่ได้ยิน ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ทราบว่าไม่ทราบ ๑ ความกล่าวในสิ่งที่รู้ว่า ไม่รู้ ๑. โวหารอันประเสริฐ มี ๔ คือ ความกล่าวในสิ่งที่เห็นว่าเห็น ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ ได้ยินว่าได้ยิน ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ทราบว่าทราบ ๑ ความกล่าวในสิ่งที่รู้ว่ารู้ ๑. ปาราชิกของภิกษุ ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๔. ปาราชิกของภิกษุณี ไม่ทั่วไปกับภิกษุ มี ๔. บริขารมี ๔ คือ มีอยู่ บริขารควรรักษา คุ้มครอง นับว่าเป็นสมบัติของเรา ควรใช้ สอย ๑ มีอยู่ บริขารควรรักษา คุ้มครอง แต่ไม่นับว่าเป็นสมบัติของเรา ควรใช้สอย ๑ มีอยู่ บริขารควรรักษา คุ้มครอง แต่ไม่นับว่าเป็นสมบัติของเรา ไม่ควรใช้สอย ๑ มีอยู่ บริขารไม่ควร รักษา ไม่ควรคุ้มครอง ไม่นับว่าเป็นสมบัติของเรา ไม่ควรใช้สอย ๑.ว่าด้วยการต้องและออกจากอาบัติเป็นต้น [๙๖๗] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องต่อหน้า ออกลับหลัง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องลับหลัง ออกต่อหน้า มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องต่อหน้า ออกต่อหน้า มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องลับหลัง ออกลับหลัง. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่รู้อยู่ จึงต้อง รู้อยู่ จึงออก มีอยู่ อาบัติ ภิกษุรู้อยู่ จึงต้อง ไม่รู้อยู่ จึงออก มีอยู่ อาบัติ ภิกษุรู้อยู่ จึงต้อง รู้อยู่ จึงออก มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่รู้อยู่ จึงต้อง ไม่รู้อยู่ จึงออก.ว่าด้วยการอาบัติเป็นต้น [๙๖๘] ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๔ คือ ต้องด้วยกาย ๑ ต้องด้วยวาจา ๑ ต้องด้วย กายและวาจา ๑ ต้องด้วยกรรมวาจา ๑. ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๔ คือ ในท่ามกลางสงฆ์ ๑ ในท่ามกลางคณะ ๑ ในสำนักบุคคล ๑ เพราะเพศเปลี่ยนแปลง ๑. ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๔ คือ ออกด้วยกาย ๑ ออกด้วยวาจา ๑ ออกด้วยกาย ด้วยวาจา ๑ ออกด้วยกรรมวาจา ๑. ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๔ คือ ในท่ามกลางสงฆ์ ๑ ในท่ามกลางคณะ ๑ ในสำนักบุคคล ๑ เพราะเพศเปลี่ยนแปลง ๑. ภิกษุละเพศอันเดิม ตั้งอยู่ในเพศสตรี อันเกิด ณ ภายหลังพร้อมกับการได้เพศ ใหม่ วิญญัติย่อมระงับไป บัญญัติย่อมดับไป. ภิกษุณีละเพศสตรีอันเป็นเพศเดิม ตั้งอยู่ในเพศบุรุษอันเกิด ณ ภายหลังพร้อมกับการ ได้เพศใหม่ วิญญัติย่อมระงับไป บัญญัติย่อมดับไป. การโจทมี ๔ คือ โจทด้วยศีลวิบัติ ๑ โจทด้วยอาจารวิบัติ ๑ โจทด้วยทิฏฐิวิบัติ ๑ โจทด้วยอาชีววิบัติ ๑. ปริวาสมี ๔ คือ ปฏิจฉันนปริวาส ๑ อัปปฏิจฉันนปริวาส ๑ สุทธันตปริวาส ๑ สโมธานปริวาส ๑. มานัตมี ๔ คือ ปฏิจฉันนมานัต ๑ อัปปฏิจฉันนมานัต ๑ ปักขมานัต ๑ สโมธาน- *มานัต ๑. รัตติเฉทของมานัตตจาริกภิกษุมี ๔ คือ อยู่ร่วม ๑ อยู่ปราศ ๑ ไม่บอก ๑ ประพฤติ ในคณะอันหย่อน ๑. พระบัญญัติที่ทรงยกขึ้นแสดงเองมี ๔. ของที่รับประเคนไว้ฉันมี ๔ คือ ยาวกาลิก ๑ ยามกาลิก ๑ สัตตาหกาลิก ๑ ยาว- *ชีวิก ๑. ยามหาวิกัฏมี ๔ คือ คูถ ๑ มูตร ๑ เถ้า ๑ ดิน ๑. กรรมมี ๔ คือ อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑ ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถ- *กรรม ๑. กรรมแม้อื่นอีก ๔ คือ กรรมเป็นวรรคโดยอธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียงโดยอธรรม ๑ กรรมเป็นวรรคโดยธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม ๑. วิบัติมี ๔ คือ ศีลวิบัติ ๑ อาจารวิบัติ ๑ ทิฏฐิวิบัติ ๑ อาชีววิบัติ ๑. อธิกรณ์มี ๔ คือ วิวาทาธิกรณ์ ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ๑ อาปัตตาธิกรณ์ ๑ กิจจาธิกรณ์ ๑. ผู้ประทุษร้ายบริษัทมี ๔ คือ ภิกษุผู้ทุศีล มีธรรมทราม เป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท ๑ ภิกษุณีผู้ทุศีล มีธรรมทราม เป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท ๑ อุบาสกผู้ทุศีล มีธรรมทราม เป็นผู้ประทุษ ร้ายบริษัท ๑ อุบาสิกาผู้ทุศีล มีธรรมทราม เป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท ๑. ผู้งามในบริษัทมี ๔ คือ ภิกษุผู้มีศีล มีธรรมงาม เป็นผู้งามในบริษัท ๑ ภิกษุณีผู้มีศีล มีธรรมงาม เป็นผู้งามในบริษัท ๑ อุบาสกผู้มีศีล มีธรรมงาม เป็นผู้งามในบริษัท ๑ อุบาสิกา ผู้มีศีล มีธรรมงาม เป็นผู้งามในบริษัท ๑.ว่าด้วยพระอาคันตุกะเป็นต้น [๙๖๙] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาคันตุกะต้อง ภิกษุเจ้าถิ่น ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุเจ้าถิ่นต้อง ภิกษุอาคันตุกะ ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาคันตุกะและภิกษุเจ้าถิ่น ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุเจ้าถิ่น ไม่ต้อง. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุผู้เตรียมไป ต้อง ภิกษุเจ้าถิ่น ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุเจ้าถิ่น ต้อง ภิกษุผู้เตรียมไป ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุผู้เตรียมไป และภิกษุเจ้าถิ่น ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุผู้เตรียมไป และภิกษุเจ้าถิ่น ไม่ต้อง.ว่าด้วยสิกขาบทมีวัตถุต่างกันเป็นต้น [๙๗๐] ความที่สิกขาบท มีวัตถุต่างกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีอาบัติต่างกัน ไม่มี ความที่สิกขาบทมีอาบัติต่างกันมีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน ไม่มี ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน และมีอาบัติต่างกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน และมีอาบัติต่างกัน ไม่มีเลย. ความที่สิกขาบทมีวัตถุเป็นสภาคกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีอาบัติเป็นสภาคกัน ไม่มี ความที่สิกขาบทมีอาบัติเป็นสภาคกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุเป็นสภาคกัน ไม่มี ความที่สิกขาบทมีวัตถุเป็นสภาคกัน และมีอาบัติเป็นสภาคกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุเป็นสภาคกัน และมีอาบัติเป็นสภาคกัน ไม่มีเลย.ว่าด้วยพระอุปัชฌาย์ต้องอาบัติเป็นต้น [๙๗๑] มีอยู่ อาบัติ พระอุปัชฌาย์ต้อง สัทธิวิหาริกไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ สัทธิวิหาริกต้อง พระอุปัชฌาย์ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ พระอุปัชฌาย์และสัทธิวิหาริก ต้อง มีอยู่ อาบัติ พระอุปัชฌาย์และสัทธิวิหาริก ไม่ต้อง. มีอยู่ อาบัติ พระอาจารย์ต้อง อันเตวาสิกไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ อันเตวาสิกต้อง พระอาจารย์ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ พระอาจารย์และอันเตวาสิกต้อง มีอยู่ อาบัติ พระอาจารย์และอันเตวาสิกไม่ต้อง.ว่าด้วยปัจจัยแห่งการขาดพรรษาเป็นต้น [๙๗๒] การขาดพรรษาไม่ต้องอาบัติมีปัจจัย ๔ คือ สงฆ์แตกกัน ๑ มีพวกภิกษุ ประสงค์จะทำลายสงฆ์ ๑ มีอันตรายแก่ชีวิต ๑ มีอันตรายแก่พรหมจรรย์ ๑. วจีทุจริตมี ๔ คือ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑. วจีสุจริตมี ๔ คือ พูดจริง ๑ พูดไม่ส่อเสียด ๑ พูดคำสุภาพ ๑ พูดพอประมาณ ๑.ว่าด้วยถือเอาทรัพย์เป็นต้น [๙๗๓] มีอยู่ ภิกษุถือเอาทรัพย์เอง ต้องอาบัติหนัก ใช้ผู้อื่น ต้องอาบัติเบา มีอยู่ ภิกษุถือเอาทรัพย์เอง ต้องอาบัติเบา ใช้ผู้อื่น ต้องอาบัติหนัก มีอยู่ ภิกษุถือเอาทรัพย์เองก็ดี ใช้ผู้อื่นก็ดี ต้องอาบัติหนัก มีอยู่ ภิกษุถือเอาทรัพย์เองก็ดี ใช้ผู้อื่นก็ดี ต้องอาบัติเบา. มีอยู่ บุคคลควรอภิวาท แต่ไม่ควรลุกรับ มีอยู่ บุคคลควรลุกรับ แต่ไม่ควรอภิวาท มีอยู่ บุคคลควรอภิวาทและควรลุกรับ มีอยู่ บุคคลไม่ควรอภิวาทและไม่ควรลุกรับ. มีอยู่ บุคคลควรแก่อาสนะ แต่ไม่ควรอภิวาท มีอยู่ บุคคลควรอภิวาท แต่ไม่ควรแก่อาสนะ มีอยู่ บุคคลควรแก่อาสนะและอภิวาท มีอยู่ บุคคลไม่ควรแก่อาสนะและไม่ควรอภิวาทว่าด้วยต้องอาบัติในกาลเป็นต้น [๙๗๔] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกาล ไม่ต้องในเวลาวิกาล มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในเวลาวิกาล ไม่ต้องในกาล มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกาลและในเวลาวิกาล มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ต้องในกาล และไม่ต้องในเวลาวิกาล. มีอยู่ กาลิกที่รับประเคนแล้ว ควรในกาล ไม่ควรในเวลาวิกาล มีอยู่ กาลิกที่รับประเคนแล้ว ควรในเวลาวิกาล ไม่ควรในกาล มีอยู่ กาลิกที่รับประเคนแล้ว ควรในกาลและในเวลาวิกาล มีอยู่ กาลิกที่รับประเคนแล้ว ไม่ควรในกาลและในเวลาวิกาล. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในปัจจันติมชนบท ไม่ต้องในมัชฌิมชนบท มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในมัชฌิมชนบท ไม่ต้องในปัจจันติมชนบท มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในปัจจันติมชนบทและมัชฌิมชนบท มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ต้องในปัจจันติมชนบทและมัชฌิมชนบท. มีอยู่ วัตถุ ย่อมควรในปัจจันติมชนบท ไม่ควรในมัชฌิมชนบท มีอยู่ วัตถุ ย่อมควรในมัชฌิมชนบท ไม่ควรในปัจจันติมชนบท มีอยู่ วัตถุ ย่อมควรในปัจจันติมชนบทและมัชฌิมชนบท มีอยู่ วัตถุ ย่อมไม่ควรในปัจจันติมชนบทและมัชฌิมชนบท. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในภายใน ไม่ต้องในภายนอก มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในภายนอก ไม่ต้องในภายใน มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายในและภายนอก มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ต้องภายในและภายนอก. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายในสีมา ไม่ต้องภายนอกสีมา มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายนอกสีมา ไม่ต้องภายในสีมา มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายในสีมาและภายนอกสีมา มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ต้องภายในสีมาและภายนอกสีมา. มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในบ้าน ไม่ต้องในป่า มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในป่า ไม่ต้องในบ้าน มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในบ้านและในป่า มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ต้องในบ้านและในป่า.ว่าด้วยการโจทเป็นต้น [๙๗๕] การโจทมี ๔ คือ โจทชี้วัตถุ ๑ โจทชี้อาบัติ ๑ โจทห้ามสังวาส ๑ โจทห้ามสามีจิกรรม ๑. กิจเบื้องต้นมี ๔. ความพร้อมพรั่งถึงที่แล้วมี ๔. อาบัติปาจิตตีย์มีเหตุมิใช่อย่างอื่นมี ๔. สมมติภิกษุมี ๔. ถึงอคติมี ๔ คือ ถึงฉันทาคติ ๑ ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึง ภยาคติ ๑. ไม่ถึงอคติมี ๔ คือ ไม่ถึงฉันทาคติ ๑ ไม่ถึงโทสาคติ ๑ ไม่ถึงโมหาคติ ๑ ไม่ถึงภยาคติ ๑. ภิกษุอลัชชีประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อมทำลายสงฆ์ คือ ถึงฉันทาคติ ๑ ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑. ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อมสมานสงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้สามัคคี คือ ไม่ถึงฉันทาคติ ๑ ไม่ถึงโทสาคติ ๑ ไม่ถึงโมหาคติ ๑ ไม่ถึงภยาคติ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๔ อันภิกษุไม่ควรถามวินัย คือ ถึงฉันทาคติ ๑ ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑. อันภิกษุประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่ควรถามวินัย คือ ถึงฉันทาคติ ๑ ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๔ อันภิกษุไม่พึงตอบวินัย คือ ถึงฉันทาคติ ๑ ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑. อันภิกษุประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่พึงตอบวินัย คือ ถึงฉันทาคติ ๑ ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑. ภิกษุประกอบองค์ ๔ ไม่พึงให้คำซักถามคือ ถึงฉันทาคติ ๑ ถึงโทสาคติ ๑ ถึง โมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่พึงสนทนาวินัยด้วย คือ ถึงฉันทาคติ ๑ ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑.ว่าด้วยภิกษุอาพาธต้องอาบัติเป็นต้น [๙๗๖] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาพาธต้อง ไม่อาพาธไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่อาพาธต้อง อาพาธ ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาพาธก็ดี ไม่อาพาธก็ดี ย่อมต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาพาธก็ดี ไม่อาพาธก็ดี ไม่ต้องว่าด้วยงดปาติโมกข์ [๙๗๗] งดปาติโมกข์ ไม่ประกอบด้วยธรรมมี ๔ งดปาติโมกข์ประกอบด้วยธรรมมี ๔.หมวด ๔ จบ ----------------------------------------------------- หัวข้อประจำหมวด [๙๗๘] วาจาของตน ๑ กาย ๑ หลับ ๑ ไม่ตั้งใจ ๑ ต้องอาบัติ ๑ กรรม ๑ โวหาร ๔ อย่าง ๑ ปาราชิกของภิกษุ ๑ ปาราชิกของภิกษุณี ๑ บริขาร ๑ ต่อหน้า ๑ ไม่รู้ ๑ กาย ๑ ท่ามกลาง ๑ ออกจากอาบัติ ๒ อย่าง ๑ ได้เพศใหม่ ๑ โจท ๑ ปริวาส ๑ มานัต ๑ รัตติเฉทของมานัตต- *จาริกภิกษุ ๑ พระบัญญัติที่ทรงยกขึ้นแสดงเอง ๑ กาลิกที่รับประเคน ๑ ยามหาวิกัฏ ๑ กรรม ๑ กรรมอีก ๑ วิบัติ ๑ อธิกรณ์ ๑ ทุศีล ๑ โสภณ ๑ อาคันตุกภิกษุ ๑ คมิกภิกษุ ๑ ความที่ สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน ๑ ความที่สิกขาบทเป็นสภาคกัน ๑ อุปัชฌาย์ ๑ อาจารย์ ๑ ปัจจัย ๑ วจีทุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ ถือเอาทรัพย์ ๑ บุคคลควรอภิวาท ๑ บุคคลควรแก่อาสนะ ๑ กาล ๑ ควร ๑ ปัจจันติมชนบท ๑ ควรในปัจจันติมชนบท ๑ ภายใน ๑ ภายในสีมา ๑ บ้าน ๑ โจท ๑ กิจเบื้องต้น ๑ ความพร้อมพรั่งถึงที่แล้ว ๑ อาบัติปาจิตตีย์มีเหตุมิใช่อื่น ๑ สมมติ ๑ อคติ ๑ ไม่ถึงอคติ ๑ อลัชชี ๑ มีศีลเป็นที่รัก ๑ ควรถาม ๒ อย่าง ๑ ควรตอบ ๒ อย่าง ๑ ซักถาม ๑ สนทนา ๑ อาพาธ ๑ งดปาติโมกข์ ๑หัวข้อประจำหมวด ๔ จบ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๗๘๕๑-๘๐๖๑ หน้าที่ ๒๙๙-๓๐๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=7851&Z=8061&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=79 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=965 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [965-978] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=8&item=965&items=14 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=10270 The Pali Tipitaka in Roman :- [965-978] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=8&item=965&items=14 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=10270 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/brahmali#pli-tv-pvr7:46.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/horner-brahmali#Prv.7.4.1
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]