บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ว่าด้วยไม่ถึงฉันทาคติ [๑๐๙๘] คำว่า ไม่พึงถึงฉันทาคติ นั้น ความว่า เมื่อถึงฉันทาคติ ถึงอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ คิดว่า ท่านผู้นี้เป็นอุปัชฌาย์ของเรา เป็นอาจารย์ของเรา เป็นสัทธิ วิหาริกของเรา เป็นอันเตวาสิกของเรา เป็นผู้ร่วมอุปัชฌาย์ของเรา เป็นผู้ร่วมอาจารย์ของเรา เป็นผู้เคยเห็นกันมากับเรา เป็นผู้เคยร่วมคบกันมากับเรา หรือท่านผู้นี้เป็นญาติสาโลหิตของเรา ดังนี้ เพื่ออนุเคราะผู้นั้น เพื่อตามรักษาท่านผู้นั้น จึงแสดงอธรรมว่าธรรม แสดงธรรมว่าอธรรม แสดงอวินัยว่าวินัย แสดงวินัยว่าอวินัย แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิต ว่าพระตถาคต ตรัสภาษิตแล้ว แสดงสิ่งที่พระตถาคตตรัสภาษิตแล้ว ว่าพระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิต แสดงสิ่ง ที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตทรงประพฤติมาแล้ว แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรง ประพฤติมาแล้ว ว่าพระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมา แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติ ว่าพระตถาคตทรงบัญญัติแล้ว แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติแล้ว ว่าพระตถาคตไม่ได้ทรง บัญญัติ แสดงอนาบัติว่าอาบัติ แสดงอาบัติว่าอนาบัติ แสดงอาบัติเบาว่าอาบัติหนัก แสดงอาบัติ หนักว่าอาบัติเบา แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าอาบัติไม่มีส่วนเหลือ แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า อาบัติมีส่วนเหลือ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติ ชั่วหยาบ ภิกษุถึงฉันทาคติด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติ เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อ ความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงฉันทาคติด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้ถูกขุดถูก กำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงติเตียน และย่อมประสพบาปมิใช่บุญมาก ภิกษุ เมื่อถึงฉันทาคติ ย่อมถึงอย่างนี้.ว่าด้วยไม่ถึงโทสาคติ [๑๐๙๙] คำว่า ไม่พึงถึงโทสาคติ นั้น ความว่า เมื่อถึงโทสาคติ ถึงอย่างไร? ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ก่อความพินาศแก่เราแล้ว ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้ กำลังก่อความพินาศแก่เรา ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้จักก่อความพินาศแก่เรา ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ก่อ ความพินาศแก่เราผู้เป็นที่รักที่พอใจ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้กำลังก่อความพินาศแก่เราผู้เป็นที่รักที่พอใจ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้จักก่อความพินาศแก่เราผู้เป็นที่รักที่พอใจ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ก่อประโยชน์แก่ เราผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้กำลังก่อประโยชน์แก่เราผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ พอใจ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้จักก่อประโยชน์แก่เราผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจ ภิกษุนั้นอาฆาต ปอง- *ร้าย ขุ่นเคือง อันความโกรธครอบงำ เพราะอาฆาตวัตถุ ๙ อย่างนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่าธรรม แสดงธรรมว่าอธรรม ... แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติ ชั่วหยาบ ภิกษุผู้ถึงโทสาคติเพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่ มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อ ทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ภิกษุผู้ถึงโทสาคติเพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้ถูกขุดถูก กำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงติเตียน และย่อมประสพบาปมิใช่บุญมาก ภิกษุ เมื่อถึงโทสาคติ ย่อมถึงอย่างนี้.ว่าด้วยไม่ถึงโมหาคติ [๑๑๐๐] คำว่า ไม่พึงถึงโมหาคติ นั้น ความว่า เมื่อถึงโมหาคติ ถึงอย่างไร? ภิกษุเป็นผู้กำหนัด ย่อมถึงด้วยอำนาจความกำหนัด เป็นผู้ขัดเคืองย่อมถึงด้วยอำนาจความขัดเคือง เป็นผู้หลง ย่อมถึงด้วยอำนาจความหลง เป็นผู้ลูบคลำ ย่อมถึงด้วยอำนาจทิฏฐิ ภิกษุเป็นผู้หลง งมงาย ถูกโมหะครอบงำ ย่อมแสดงอธรรมว่าธรรม แสดงธรรมว่าอธรรม ... แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุผู้ถึงโมหาคติเพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อ ความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ภิกษุผู้ถึงโมหาคติ เพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้ถูกขุดถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชน พึงติเตียน และย่อมประสพบาปมิใช่บุญมาก ภิกษุเมื่อถึงโมหาคติ ย่อมถึงอย่างนี้.ว่าด้วยไม่ถึงภยาคติ [๑๑๐๑] คำว่า ไม่พึงถึงภยาคติ นั้น ความว่า เมื่อถึงภยาคติ ถึงอย่างไร? ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ คิดว่า ผู้นี้อาศัยความประพฤติไม่เรียบร้อย อาศัยความยึดถือ อาศัยพรรคพวกมีกำลัง เป็นผู้ร้ายกาจหยาบคาย จักทำอันตรายแก่ชีวิต หรือทำอันตรายแก่พรหม- *จรรย์ ดังนี้ จึงขลาด เพราะกลัวต่อผู้นั้น ย่อมแสดงอธรรมว่าธรรม แสดงธรรมว่าอธรรม ... แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุผู้ถึงภยา- *คติ เพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุข แก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและ มนุษย์ ภิกษุผู้ถึงภยาคติเพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้ถูกขุดถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบ ด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงติเตียน และย่อมประสพบาปมิใช่บุญมาก ภิกษุเมื่อถึงภยาคติ ย่อมถึง อย่างนี้.นิคมคาถา [๑๑๐๒] ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะชอบ เพราะชัง เพราะกลัว เพราะหลง ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อมเหมือนดวงจันทร์ในวันข้างแรม ฉะนั้นฯเนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๙๘๓๖-๙๘๙๔ หน้าที่ ๓๗๗-๓๗๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=9836&Z=9894&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=100 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1098 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1098-1102] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=8&item=1098&items=5 The Pali Tipitaka in Roman :- [1098-1102] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=8&item=1098&items=5 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr15/en/brahmali#pli-tv-pvr15:12.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr15/en/horner-brahmali#Prv.15.1.4
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]