ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
             [๑๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิด
ก่อน ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวน
ให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ตถาคตย่อมเข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้นอันตนทำ สั่งสม
พอกพูน ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์นั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้
เฉพาะซึ่งมหาปุริสลักษณะ ๒ ประการเหล่านี้ คือ มีพระชิวหาใหญ่ ๑ มีพระ
สุรเสียงดังว่าเสียงพรหม เมื่อตรัสมีกระแสเหมือนเสียงนกการะเวก ๑ พระมหา
บุรุษสมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๒ ประการนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะได้รับผลข้อนี้ คือ มีพระ
วาจาอันพหุชนพึงเชื่อถือ พหุชนที่เชื่อถือคำของพระองค์ เป็นพราหมณ์ เป็นคฤหบดี
เป็นชาวนิคม เป็นชาวชนบท เป็นโหราจารย์ เป็นมหาอำมาตย์ เป็นกองทหาร
เป็นนายประตู เป็นอำมาตย์ เป็นเจ้า เป็นเศรษฐี เป็นราชกุมาร ถ้าพระมหาบุรุษ
นั้นออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มี
หลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็น
พระพุทธเจ้าจะได้รับผลข้อนี้ คือ มีพระวาจาอันพหุชนเชื่อถือ พหุชนที่เชื่อถือพระ
วาจาของพระองค์ เป็นภิกษุ เป็นภิกษุณี เป็นอุบาสก เป็นอุบาสิกา เป็นเทวดา
เป็นมนุษย์ เป็นอสูร เป็นนาค เป็นคนธรรพ์ พระผู้มีพระภาคตรัสเนื้อความนี้ไว้
พระโบราณกเถระทั้งหลายจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ในพระลักษณะเหล่านั้นว่า
             [๑๖๗] 	พระมหาบุรุษ ไม่ได้กล่าวแล้วซึ่งวาจาหยาบอันทำความด่า ความ
                          บาดหมาง ความลำบากใจ ทำความเจ็บใจ เป็นเครื่องย่ำเหยียบ
                          แก่พหุชน เป็นคำชั่วร้าย ได้กล่าวแล้วซึ่งวาจาอ่อนหวาน
                          ไพเราะ อันมีประโยชน์ดี กล่าววาจาเป็นที่รักแห่งใจ อันไปสู่
                          หทัย อันสะดวกแก่โสต เสวยผลแห่งวาจาที่ประพฤติดีและ
                          เสวยผลบุญในสวรรค์ทั้งหลาย ครั้นเสวยผลแห่งกรรมที่ประพฤติ
                          ดีแล้ว มาในโลกนี้ ได้ถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้มีเสียงดังว่าเสียง
                          แห่งพรหม และมีพระชิวหาไพบูลย์กว้างมีคำที่ตรัสอันพหุชน
                          เชื่อถือ ผลนี้ย่อมสำเร็จแก่พระองค์ แม้เป็นคฤหัสถ์ตรัสอยู่
                          ฉันใด ถ้าพระองค์ทรงผนวช เมื่อตรัสคำที่ตรัสดีมากแก่พหุชน
                          คำนั้นพหุชนก็เชื่อถือ ฉันนั้นโดยแท้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๓๘๑๙-๓๘๔๗ หน้าที่ ๑๕๗-๑๕๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=3819&Z=3847&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=166&items=2              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=166&items=2&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=11&item=166&items=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=11&item=166&items=2              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=166              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]