ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
             [๑๐๖] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์สองพวกนั้น สมณ-
*พราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล
การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี
บิดาไม่มี อุปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ที่ไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้า
ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้รู้ทั่ว ไม่มีในโลกดังนี้ เป็นอันหวังข้อนี้ได้ คือ
จักเว้นกุศลธรรม ๓ ประการนี้ คือกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต จักสมาทานอกุศลธรรม
๓ ประการนี้ คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต แล้วประพฤติข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่าน
สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรม ไม่เห็น
อานิสงส์ในเนกขัมมะเป็นคุณฝ่ายขาวแห่งกุศลธรรม. ก็โลกหน้ามีอยู่จริง ความเห็นของผู้นั้นว่า
โลกหน้าไม่มี ความเห็นของเขานั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ. ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขาดำริว่า โลกหน้าไม่มี
ความดำริของเขานั้นเป็นมิจฉาสังกัปปะ. ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขากล่าววาจาว่า โลกหน้าไม่มี
วาจาของเขานั้นเป็นมิจฉาวาจา. ก็โลกหน้ามีอยู่จริง เขากล่าวว่า โลกหน้าไม่มี ผู้นี้ย่อมทำตน
เป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ผู้รู้แจ้งโลกหน้า. ก็โลกหน้ามีอยู่จริง เขายังผู้อื่นให้เข้าใจว่า โลกหน้าไม่มี
การให้ผู้อื่นเข้าใจของเขานั้นเป็นการให้เข้าใจผิดโดยไม่ชอบธรรม และเขายังจะยกตนข่มผู้อื่น
ด้วยการให้ผู้อื่นเข้าใจผิดโดยไม่ชอบธรรมนั้นด้วย. เขาละคุณ คือ เป็นคนมีศีลแล้ว ตั้งไว้เฉพาะ
แต่โทษ คือ ความเป็นคนทุศีลไว้ก่อนเทียว ด้วยประการฉะนี้. อกุศลธรรมอันลามก เป็นอเนก
เหล่านี้ คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา ความเป็นข้าศึกต่อพระอริยะ การให้ผู้อื่น
เข้าใจผิดโดยไม่ชอบธรรม การยกตน การข่มผู้อื่น ย่อมมี เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ด้วยประการ
ฉะนี้.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๑๘๗๖-๑๘๙๔ หน้าที่ ๘๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1876&Z=1894&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=13&item=106&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=13&item=106&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=13&item=106&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=13&item=106&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=106              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]