ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
สิกขาบทวิภังค์
[๑๘๖] ที่ชื่อว่า โอมสวาท ได้แก่คำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ ชาติ ๑ ชื่อ ๑ โคตร ๑ การงาน ๑ ศิลป ๑ โรค ๑ รูปพรรณ ๑ กิเลส ๑ อาบัติ ๑ คำด่า ๑.
บทภาชนีย์
[๑๘๗] ที่ชื่อว่า ชาติ ได้แก่ชาติ ๒ คือ ชาติทราม ๑ ชาติอุกฤษฏ์ ๑. ที่ชื่อว่า ชาติทราม ได้แก่ชาติคนจัณฑาล ชาติคนจักสาน ชาติพราน ชาติคน ช่างหนัง ชาติคนเทดอกไม้ นี้ชื่อว่าชาติทราม. ที่ชื่อว่า ชาติอุกฤษฏ์ ได้แก่ชาติกษัตริย์ ชาติพราหมณ์ นี้ชื่อว่าชาติอุกฤษฏ์. [๑๘๘] ที่ชื่อว่า ชื่อ ได้แก่ชื่อ ๒ คือ ชื่อทราม ๑ ชื่ออุกฤษฏ์ ๑. ที่ชื่อว่า ชื่อทราม ได้แก่ ชื่ออวกัณณกะ ชวกัณณกะ ธนิฏฐกะ สวิฏฐกะ กุลวัฑฒกะ, ก็หรือชื่อที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในชนบท นั้นๆ นี้ชื่อว่าชื่อทราม. ชื่อว่า ชื่ออุกฤษฏ์ ได้แก่ชื่อที่เกี่ยวเนื่องด้วยพุทธะ ธัมมะ สังฆะ, ก็หรือชื่อที่เขา ไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกันในชนบทนั้นๆ นี้ชื่อว่า ชื่ออุกฤษฏ์. [๑๘๙] ที่ชื่อว่า โคตร ได้แก่วงศ์ตระกูล มี ๒ คือ วงศ์ตระกูลทราม ๑ วงศ์ตระกูล อุกฤษฏ์ ๑. ที่ชื่อว่า วงศ์ตระกูลทราม ได้แก่วงศ์ตระกูลภารทวาชะ, ก็หรือวงศ์ตระกูลที่เขา เย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในชนบทนั้นๆ นี้ชื่อว่าวงศ์ตระกูล ทราม. ที่ชื่อว่า วงศ์ตระกูลอุกฤษฏ์ ได้แก่วงศ์ตระกูลโคตมะ วงศ์ตระกูลโมคคัลลานะ วงศ์ตระกูลกัจจายนะ วงศ์ตระกูลวาเสฏฐะ, ก็หรือวงศ์ตระกูลที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกันในชนบทนั้นๆ นี้ชื่อว่า วงศ์ตระกูลอุกฤษฏ์. [๑๙๐] ที่ชื่อว่า การงาน ได้แก่งานที่ทำ มี ๒ คือ งานทราม ๑ งานอุกฤษฏ์ ๑. ที่ชื่อว่า งานทราม ได้แก่งานช่างไม้ งานเทดอกไม้, ก็หรืองานที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกัน ในชนบทนั้นๆ นี้ชื่อว่างานทราม. ที่ชื่อว่า งานอุกฤษฏ์ ได้แก่ งานทำนา งานค้าขาย งานเลี้ยงโค, ก็หรืองานที่เขา ไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกันในชนบทนั้นๆ นี้ชื่อว่า งาน อุกฤษฏ์. [๑๙๑] ที่ชื่อว่า ศิลปะ ได้แก่วิชาการช่าง มี ๒ คือ วิชาการช่างทราม ๑ วิชาการ ช่างอุกฤษฏ์ ๑. ที่ชื่อว่า วิชาการช่างทราม ได้แก่ วิชาการช่างจักสาน, วิชาการช่างหม้อ วิชาการ ช่างหูก วิชาการช่างหนัง วิชาการช่างกัลบก, ก็หรือวิชาการช่างที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในชนบทนั้นๆ นี้ชื่อว่าวิชาการช่างทราม. ที่ชื่อว่า วิชาการช่างอุกฤษฏ์ ได้แก่วิชาการช่างนับ วิชาการช่างคำนวณ วิชาการ ช่างเขียน, ก็หรือวิชาการช่างที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกันในชนบทนั้นๆ นี้ชื่อว่าวิชาการช่างอุกฤษฏ์. [๑๙๒] โรค แม้ทั้งปวง ชื่อว่าทราม, แต่โรคเบาหวาน ชื่อว่าโรคอุกฤษฏ์. [๑๙๓] ที่ชื่อว่า รูปพรรณ ได้แก่รูปพรรณมี ๒ คือ รูปพรรณทราม ๑ รูปพรรณ อุกฤษฏ์ ๑. ที่ชื่อว่า รูปพรรณทราม คือ สูงเกินไป ต่ำเกินไป, ดำเกินไป ขาวเกินไป นี้ชื่อว่ารูปพรรณทราม. ที่ชื่อว่า รูปพรรณอุกฤษฏ์ คือไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก นี้ชื่อว่า รูปพรรณอุกฤษฏ์. [๑๙๔] กิเลส แม้ทั้งปวง ชื่อว่าทราม. [๑๙๕] อาบัติ แม้ทั้งปวง ชื่อว่าทราม, แต่โสดาบัติ สมาบัติ ชื่อว่า อาบัติอุกฤษฏ์ [๑๙๖] ที่ชื่อว่า คำด่า ได้แก่คำด่า มี ๒ คือ คำด่าทราม ๑ คำด่าอุกฤษฏ์ ๑. ที่ชื่อว่า คำด่าทราม ได้แก่คำด่าว่า เป็นอูฐ, เป็นแพะ, เป็นโค, เป็นลา, เป็น สัตว์ดิรัจฉาน, เป็นสัตว์นรก, สุคติของท่านไม่มี, ท่านต้องหวังได้แต่ทุคติ, คำด่าว่าที่เกี่ยวด้วย ยะอักษร ภะอักษร, หรือนิมิตของชายและนิมิตของหญิง นี้ชื่อว่าคำด่าทราม. ที่ชื่อว่า คำด่าอุกฤษฏ์ ได้แก่ คำด่าว่า เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก, ทุคติของท่านไม่มี, ท่านต้องหวังได้แต่สุคติ, นี้ชื่อว่าคำด่าอุกฤษฏ์.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๔๙๖๙-๕๐๒๑ หน้าที่ ๒๐๖-๒๐๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=4969&Z=5021&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=2&item=186&items=11              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=2&item=186&items=11&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=2&item=186&items=11              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=2&item=186&items=11              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=186              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]