ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ปสาทสูตร
[๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งเลิศ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเท้าก็ตาม ๒ เท้าก็ตาม ๔ เท้าก็ตาม มีเท้ามากก็ตาม มีรูปหรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญาหรือไม่มีสัญญา ก็ตาม มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเพียงใด พระ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อันชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น ชน เหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และ วิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชนผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ปัจจัย ปรุงแต่งมีประมาณเท่าใด อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เรากล่าวว่าเลิศกว่า ธรรมเหล่านั้น ชนเหล่าใดเลื่อมใสในอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ชนเหล่า นั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชนผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งหรือไม่ปรุงแต่งมีประมาณเท่าใด วิราคะ คือ ธรรมอันย่ำยีความเมา ธรรมเครื่องกำจัดความกระหาย ความถอนเสียซึ่ง ความอาลัย ความเข้าไปตัดวัฏฏะ ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เรากล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น ชนเหล่าใดเลื่อมใส ในวิราคะ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชน ผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด พระสงฆ์สาวกของตถาคต คือ คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี้ คือ พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของ ทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า เรา กล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์ ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชนผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งเลิศ ๔ ประการนี้แล ฯ บุญที่เลิศ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติคุณ สุข และพละ อันเลิศ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้รู้แจ้งซึ่งธรรมอันเลิศ เลื่อมใส โดยความเป็นของเลิศ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ผู้เป็น ทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยม เลื่อมใสในพระธรรมอันเลิศ ซึ่งเป็นธรรมปราศจากราคะ สงบและเป็นสุข เลื่อมใส ในพระสงฆ์ผู้เลิศ ซึ่งเป็นบุญเขตชั้นเยี่ยม ถวายทานใน ท่านผู้เลิศนั้น ผู้มีปัญญาตั้งมั่นแล้วในธรรมอันเลิศ ให้ทาน แก่ท่านผู้เป็นบุญเขตอันเลิศ จะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ก็ตาม ย่อมถึงความเป็นผู้เลิศ บันเทิงอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๙๑๒-๙๔๔ หน้าที่ ๓๙-๔๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=912&Z=944&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=21&item=34&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=21&item=34&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=21&item=34&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=21&item=34&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=34              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]