ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลผู้เอก
[๘๙๑] คำว่า เป็นบุคคลเอก ทรงบรรลุแล้วซึ่งความยินดี ความว่า พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะส่วนแห่งบรรพชา ทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะเป็นผู้ไม่มีเพื่อน ทรงเป็น บุคคลผู้เอกเพราะความละตัณหา ทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากราคะโดย ส่วนเดียว ทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว ทรงเป็นบุคคล ผู้เอกเพราะอรรถว่าเป็นผู้ปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว ทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะอรรถว่า เป็นผู้ ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว ทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะอรรถว่า เป็นผู้เสด็จไปตามเอกายนมรรค ทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะอรรถว่า เป็นผู้เดียวตรัสรู้ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะส่วนแห่งบรรพชาอย่างไร? พระผู้มีพระภาค ยังทรงหนุ่มฉกรรจ์ มีพระเกศาดำสนิท ยังหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย เมื่อพระมารดาและพระบิดา ไม่ทรงปรารถนาให้ผนวช มีพระพักตร์ชุ่มด้วยน้ำพระเนตรทรงกันแสงรำพันอยู่ ทรงสละหมู่ พระญาติ ทรงตัดความกังวลในยศทั้งหมด ทรงตัดความกังวลในพระโอรสพระชายา ทรงตัด ความกังวลในพระญาติ ทรงตัดความกังวลในมิตรอำมาตย์ ทรงตัดกังวลในการสั่งสม ทรงปลง พระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสายะเสด็จออกผนวช ถึงความเป็นผู้ไม่มีกังวลเสด็จเที่ยว ไป ยับยั้งอยู่ พักผ่อน ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา ลำพังพระองค์เดียว พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะส่วนแห่งบรรพชาอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะไม่มีเพื่อนอย่างไร? พระองค์ทรงผนวชแล้ว อย่างนี้ พระองค์เดียว ซ่องเสพเสนาสนะเป็นป่าและป่าใหญ่น้อยอันสงัด มีเสียงน้อย ไม่มี เสียงกึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่วิเวก พระองค์ ทรงพระดำเนินพระองค์เดียว ประทับยืนพระองค์เดียว ประทับนั่งพระองค์เดียว ทรงบรรทม พระองค์เดียว เสด็จเข้าบ้านเพื่อทรงบิณฑบาตพระองค์เดียว เสด็จออกไปพระองค์เดียว ประทับ อยู่ในที่ลับพระองค์เดียว ทรงอธิษฐานจงกรมพระองค์เดียว ทรงเที่ยวไป ยับยั้งอยู่ พักผ่อน ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา ลำพังพระองค์เดียว พระผู้มีพระภาคทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะ ไม่มีเพื่อนอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะความละตัณหาอย่างไร? พระผู้มีพระภาค นั้นเป็นพระองค์เดียว ไม่มีเพื่อนอย่างนี้ ไม่ทรงประมาท มีความเพียร มีพระทัยเด็ดเดี่ยว ทรงตั้ง พระมหาปธานอยู่ที่ควงโพธิพฤกษ์ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงกำจัดมารทั้งเสนามารที่ไม่ให้มหาชน พ้นไป เป็นเผ่าพันธุ์ผู้ประมาท ทรงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไปซึ่งตัณหาเพียงดังข่ายอันให้แล่นไป ให้เกาะเกี่ยวอารมณ์อยู่. สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน แล่นไปสู่ความเป็นอย่างนี้และความเป็นอย่างอื่น ตลอดกาลนาน ไม่ล่วงพ้นสงสารไปได้ ภิกษุรู้จักโทษนี้ รู้จักตัณหาเป็น แดนเกิดแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่มีความยึดถือ มีสติ พึงเว้นรอบ. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะความละตัณหาอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นบุคคลผู้เอกพระอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากราคะโดยส่วนเดียว อย่างไร? พระผู้มีพระภาคทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า ทรงละราคะเสียแล้ว. ทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากโทสะโดย ส่วนเดียว เพราะทรงละโทสะเสียแล้ว. ทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจาก โมหะโดยส่วนเดียว เพราะทรงละโมหะเสียแล้ว. ทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะอรรถว่า เป็นผู้ ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะทรงละกิเลสทั้งหลายเสียแล้ว. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะอรรถว่า เป็นผู้เสด็จไปตามเอกายนมรรค อย่างไร? สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค มีองค์ ๘ เรียกว่า เอกายนมรรค (ธรรมเป็นหนทางเป็นที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว). สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า พระผู้มีพระภาค ผู้เห็นธรรมเป็นส่วนสุดแห่งความสิ้นชาติ ผู้ทรง อนุเคราะห์ด้วยพระทัยเกื้อกูล ย่อมทรงทราบมรรคเป็นที่ไปแห่งบุคคล ผู้เดียว บัณฑิตทั้งหลายได้ข้ามก่อนแล้ว จักข้าม และย่อมข้ามซึ่งโอฆะ ด้วยมรรคนั้น. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะอรรถว่า เป็นผู้เสด็จไปตามเอกายนมรรคอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะอรรถว่า เป็นผู้เดียวตรัสรู้ซึ่งสัมมาสัมโพธิ- *ญาณอันยอดเยี่ยมอย่างไร? ญาณ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิมังสา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ ในมรรค ๔ เรียกว่า โพธิ. ด้วยโพธิญาณนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ตรัสรู้ว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ตรัสรู้ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ตรัสรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ ตรัสรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและ มรณะ ตรัสรู้ว่า เพราะอวิชชาดับ สังขาร จึงดับ ฯลฯ เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ ตรัสรู้ว่า นี้ทุกข์ ตรัสรู้ว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ตรัสรู้ว่า นี้ความดับทุกข์ ตรัสรู้ว่า นี้ปฏิปทาให้ถึง ความดับทุกข์ ตรัสรู้ว่า เหล่านี้อาสวะ ตรัสรู้ว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ตรัสรู้ว่า นี้ความดับอาสวะ ตรัสรู้ว่า นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับอาสวะ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ ควรกำหนดรู้ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญ ตรัสรู้ว่า ธรรม เหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ตรัสรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตรัสรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตรัสรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งมหาภูตรูป ๔ ตรัสรู้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ ตามตรัสรู้ ตรัสรู้เฉพาะ ตรัสรู้พร้อม ตรัสรู้ชอบ ทรงบรรลุ ทรงได้เฉพาะ ทรงถูกต้อง ทรงทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรตรัสรู้ ควรตรัสรู้เฉพาะ ควรตรัสรู้พร้อม ควรบรรลุ ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้งทั้งปวงด้วยโพธิญาณนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะ อรรถว่า เป็นผู้เดียวตรัสรู้ซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมอย่างนี้. คำว่า ซึ่งความยินดี ในคำว่า บรรลุแล้วซึ่งความยินดี ความว่า พระผู้มีพระภาคทรง บรรลุ ทรงถึงเฉพาะ ทรงถูกต้อง ทรงทำให้แจ้ง ซึ่งความยินดี ในเนกขัมมะ ความยินดีใน ความสงัด ความยินดีในความสงบ ความยินดีในสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นบุคคล ผู้เอก บรรลุแล้วซึ่งความยินดี. เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุ ย่อมปรากฏเด่นชัดแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก พระผู้มีพระภาคนั้นทรงกำจัดมืดทั้งปวง เป็นบุคคลผู้เอก บรรลุแล้วซึ่ง ความยินดี.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๐๓๗๒-๑๐๔๔๖ หน้าที่ ๔๓๕-๔๓๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=10372&Z=10446&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=891&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=891&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=29&item=891&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=29&item=891&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=891              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]