ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
             [๗๒๙] 	บุคคลครอบงำแม้ภัยทั้งปวงแม้นี้ คือ ความหนาว ความร้อน
                          ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบและสัตว์
                          เสือกคลาน แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
             [๗๓๐] ความหนาว ในอุเทศว่า สีตญฺจ อุณฺหญฺจ ขุทฺทํ ปิปาสํ ดังนี้ ย่อมมีด้วย
เหตุ ๒ ประการ คือ ความหนาวย่อมมีด้วยสามารถแห่งธาตุภายในกำเริบ ๑ ความหนาวย่อมมี
ด้วยสามารถแห่งฤดูภายนอก ๑. ความร้อนในคำว่า อุณฺหํ ดังนี้ ย่อมมีด้วยเหตุ ๒ ประการ
คือ ความร้อนย่อมมีด้วยสามารถแห่งธาตุภายในกำเริบ ๑  ความร้อนย่อมมีด้วยสามารถแห่งฤดู
ภายนอก ๑. ความหิว ท่านกล่าวว่า ขุทฺทา. ความอยากน้ำ ท่านกล่าวว่า ปิปาสา. เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย.
             [๗๓๑] ชื่อว่า ลม ในอุเทศว่า วาตาตเป ฑํสสิรึสเป จ ดังนี้ คือ ลมทิศตะวันออก
ลมทิศตะวันตก ลมทิศเหนือ ลมทิศใต้ ลมมีธุลี ลมหนาว ลมร้อน ลมน้อย ลมมาก
ลมบ้าหมู ลมแต่ครุฑ ลมแต่ใบตาล แต่แต่พัด. ความร้อนแต่ดวงอาทิตย์ท่านกล่าวว่าแดด.
แมลงตาเหลืองท่านกล่าวว่าเหลือบ. งูท่านกล่าวว่าสัตว์เสือกคลาน. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ลม
แดด เหลือบและสัตว์เสือกคลาน.
             [๗๓๒] คำว่า ครอบงำแม้ภัยทั้งปวงนั้น ความว่า ครอบงำ ปราบปราม กำจัด ย่ำยีแล้ว
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ครอบงำแม้ภัยทั้งปวงนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
                          บุคคลครอบงำแม้ภัยทั้งปวงแม้นี้ คือ ความหนาว ความร้อน
                          ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบและสัตว์
                          เสือกคลาน แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๗๑๒๖-๗๑๔๕ หน้าที่ ๒๘๙-๒๙๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=7126&Z=7145&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=729&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=729&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=30&item=729&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=30&item=729&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=729              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]