ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
             [๗๘๔] 	พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้วซึ่งเครื่องกั้นจิต ๕ ประการ สลัด
                          เสียแล้วซึ่งกิเลสเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งปวง อันตัณหาและทิฏฐิ
                          ไม่อาศัย ตัดเสียแล้วซึ่งความรักและความชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียว
                          เหมือนนอแรด ฉะนั้น.
             [๗๘๕] คำว่า ละแล้วซึ่งเครื่องกั้นจิต ๕ ประการ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
ละ สละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งกามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธ-
*นิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ละแล้วซึ่งเครื่องกั้นจิต
๕ ประการ.
             [๗๘๖] ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง
(แต่ละอย่าง) ชื่อว่า เครื่องเศร้าหมองของจิต ในอุเทศว่า อุปกฺกิเลเส พฺยปนุชฺช สพฺเพ
ดังนี้.
             คำว่า สลัดเสียแล้วซึ่งกิเลสเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งปวง ความว่า สลัด บรรเทา ละ
กำจัด ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงของจิต เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า สลัดเสียแล้วซึ่งกิเลสเครื่องเศร้าหมองของจิตทั้งปวง.
             [๗๘๗] นิสัย ในคำว่า ผู้อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ในอุเทศว่า อนิสฺสิโต เฉตฺวา
เสนฺหโทสํ ดังนี้ มี ๒ อย่าง คือ ตัณหานิสัย ๑ ทิฏฐินิสัย ๑. ฯลฯ นี้ชื่อว่าตัณหานิสัย. ฯลฯ
นี้ชื่อว่าทิฏฐินิสัย. ชื่อว่า ความรัก ได้แก่ความรัก ๒ อย่าง คือ ความรักด้วยอำนาจตัณหา ๑
ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ๑. ฯลฯ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา. ฯลฯ นี้ชื่อว่าความรักด้วย
อำนาจทิฏฐิ. ชื่อว่า ความชัง คือ ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความโกรธตอบ
ความเคือง ความเคืองทั่วไป ความเคืองเสมอ ความชัง ความชังทั่วไป ความชังเสมอแห่งจิต
ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ
ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท
ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย ความแค้นใจถึงน้ำตาไหล ความไม่พอใจ.
             คำว่า อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ตัดแล้วซึ่งความรักและความชัง ความว่า พระปัจเจก-
*สัมพุทธเจ้านั้น ตัด ตัดขาด ตัดขาดสิ้น บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง
ซึ่งความรักด้วยอำนาจตัณหา ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ และความชัง อันตัณหาทิฏฐิ ไม่อาศัยตา
ไม่อาศัยหู ฯลฯ ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมารมณ์ที่จะพึง
รู้แจ้ง ไม่พัวพัน ไม่เข้าถึง ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจไป ออกไป สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง
มีใจอันทำให้ปราศจากเขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ตัดแล้วซึ่ง
ความรักและความชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
*สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
                          พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ละแล้วซึ่งเครื่องกั้นจิต ๕ ประการ
                          สลัดเสียแล้วซึ่งกิเลสเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งปวง อันตัณหา
                          ทิฏฐิไม่อาศัย ตัดเสียแล้วซึ่งความรักและความชัง พึงเที่ยว
                          ไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๗๘๑๓-๗๘๔๘ หน้าที่ ๓๑๖-๓๑๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=7813&Z=7848&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=784&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=784&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=30&item=784&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=30&item=784&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=784              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]