ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
             [๗๙๕] 	พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่ละวิเวกและฌาน ประพฤติธรรม
                          สมควร ในธรรมทั้งหลายเป็นนิตย์ พิจารณาเห็นโทษในภพ
                          ทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
             [๗๙๖] คำว่า ไม่ละวิเวกและฌาน ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ชอบ
วิเวก ยินดีในวิเวก ประกอบความสงบจิต ณ ภายในเนืองๆ ไม่ห่างจากฌาน ไม่ละฌาน คือ
ประกอบ ประกอบทั่ว ประกอบพร้อม หมั่นประกอบ หมั่นประกอบพร้อม เพื่อความเกิดขึ้น
แห่งปฐมฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
ตติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจตุตถฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงชื่อว่า ไม่ละฌานด้วยอาการอย่างนี้.
             อีกอย่างหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมทำให้มาก ซึ่ง
ปฐมฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ทุติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ตติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว หรือจตุตถฌานที่เกิดขึ้น
แล้ว เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงชื่อว่า ไม่ละฌานแม้ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ไม่ละวิเวกและฌาน.
             [๗๙๗] สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ ท่านกล่าวว่า ธรรมในอุเทศว่า
ธมฺเมสุ นิจฺจํ อนุธมฺมจารี ดังนี้.
             ธรรมอันสมควรเป็นไฉน? ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่เป็น
ข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความเป็นผู้ทำให้
บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ประมาณใน
โภชนะ ความประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า ธรรม
อันสมควร.
             คำว่า ประพฤติธรรมอันสมควรในธรรมทั้งหลายเป็นนิตย์ ความว่า พระปัจเจก-
*สัมพุทธเจ้านั้น ประพฤติ ปฏิบัติ ดำเนิน เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา ในธรรมทั้งหลาย
ตลอดกาลเป็นนิตย์ คือ ติดต่อเนืองๆ ต่อลำดับไม่สับสน เนื่องกันกระทบกัน เหมือนละลอกน้ำ
เป็นคลื่นสืบต่อกระทบเนื่องกันไป ในเวลาก่อนอาหาร ในเวลาหลังอาหาร ในยามต้น ในยาม
กลาง ในยามหลัง ในข้างแรม ในข้างขึ้น ในฤดูฝน ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ในตอนวัยต้น
ในตอนวัยกลาง ในตอนวัยหลัง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ประพฤติธรรมอันสมควรในธรรมทั้งหลาย
ตลอดกาลเป็นนิตย์.
             [๗๙๘] คำว่า พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย ความว่า พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย
ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลายพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระ-
*ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
                          พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ละวิเวกและฌาน ประพฤติธรรม
                          สมควร ในธรรมทั้งหลายเป็นนิตย์ พิจารณาเห็นโทษในภพ
                          ทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๗๙๓๐-๗๙๖๔ หน้าที่ ๓๒๑-๓๒๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=7930&Z=7964&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=795&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=795&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=30&item=795&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=30&item=795&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=795              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]