ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๓๘๖] 	ภิกษุใด เจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ดีแล้ว อบรมแล้ว
                          ตามลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ภิกษุนั้นย่อม
                          ทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก
                          ฉะนั้น ฯ
             ลมอัสสาสะชื่อว่าอานะ ไม่ใช่ลมปัสสาสะ ลมปัสสาสะชื่ออปานะ
ไม่ใช่ลมอัสสาสะ สติเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสามารถลมอัสสาสปัสสาสะ ย่อมปรากฏ
แก่บุคคลผู้หายใจออกและผู้หายใจเข้า ฯ
             คำว่า ปริปุณฺณา ความว่า บริบูรณ์ ด้วยอรรถว่า ถือเอารอบ ด้วย
อรรถว่ารวมไว้ ด้วยอรรถว่าเต็มรอบ ฯ
             ภาวนา ในคำว่า สุภาวิตา มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลาย
มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรม
ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วย
อรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ อรรถแห่งภาวนา ๔ ประการนี้ เป็นอรรถอันภิกษุนั้นทำให้
เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง น้อมไป อบรมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว ฯ
             คำว่า ยานีกตา ความว่า ภิกษุนั้นจำนงหวังในธรรมใดๆ ย่อมเป็นผู้ถึง
ความชำนาญ ถึงกำลัง ถึงความแกล้วกล้า ในธรรมนั้นๆ  ธรรมเหล่านั้นของ
ภิกษุนั้น เป็นธรรมเนื่องด้วยความคำนึง เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วยมนสิการ
เนื่องด้วยจิตตุปบาท เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็นดังยาน ฯ
             คำว่า วตฺถุกตา ความว่า จิตย่อมมั่นคงดีในวัตถุใดๆ สติย่อมปรากฏดี
ในวัตถุนั้นๆ ก็หรือว่าสติย่อมปรากฏดีในวัตถุใดๆ จิตย่อมมั่นคงดีในวัตถุนั้นๆ
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าทำให้เป็นที่ตั้ง ฯ
             คำว่า อนุฏฺฐิตา ความว่า จิตน้อมไปด้วยอาการใดๆ สติก็หมุนไปตาม
(คุมอยู่) ด้วยอาการนั้นๆ ก็หรือว่าสติหมุนไปด้วยอาการใดๆ จิตก็น้อม
ไปด้วยอาการนั้นๆ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า น้อมไป ฯ
             คำว่า ปริจิตา ความว่า อบรม ด้วยอรรถว่าถือเอารอบ ด้วยอรรถว่า
รวมไว้ ด้วยอรรถว่าเต็มรอบ ภิกษุกำหนดถือเอาด้วยสติ ย่อมชำนะอกุศลธรรม
อันลามกได้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อบรม ฯ
             คำว่า สุสมารทฺธา ความว่า ธรรม ๔ อย่างภิกษุปรารภดีแล้ว คือ
ปรารภดีด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วย
อรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑  ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียร
อันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลาย
มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ เพราะเพิกถอนกิเลสทั้งหลายซึ่งเป็นข้าศึกแก่ธรรมนั้น ๑ ฯ
             คำว่า สุสม ความว่า ความเสมอก็มี ความเสมอดีก็มี ความเสมอ
เป็นไฉน กุศลทั้งหลายอันไม่มีโทษ เกิดในธรรมนั้นเป็นฝักใฝ่แห่งความตรัสรู้
นี้เป็นความเสมอ ความเสมอดีเป็นไฉน ความดับอารมณ์แห่งธรรมเหล่านั้น
เป็นนิพพาน นี้เป็นความเสมอดี ก็ความเสมอและความเสมอดีนี้ดังนี้ ภิกษุนั้น
รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ความเพียร
ภิกษุนั้นปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติตั้งมั่น ไม่หลงลืม กายสงบปรารภแล้ว
จิตเป็นสมาธิมีอารมณ์เดียว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปรารภแล้วเสมอดี ฯ
             คำว่า อนปุพฺพํ ปริจิตา ความว่า ภิกษุนั้นอบรมอานาปานสติข้างต้นๆ
ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ ตามลำดับ อบรม
อานาปานสติข้างต้นๆ ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว ก็อบรมอานาปานสติ
ข้างหลังๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้างต้นๆ ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น
ก็อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้างต้นๆ ด้วย
สามารถลมหายใจเข้าสั้น ก็อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ ตามลำดับ ฯลฯ อบรม
อานาปานสติข้างต้นๆ ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก
ก็อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ  ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้างต้นๆ ด้วยสามารถ
ความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ก็อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ
ตามลำดับ อานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ แม้ทั้งปวงอาศัยกันภิกษุนั้นอบรมแล้ว และอบรม
ตามลำดับแล้ว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวอบรมแล้วตามลำดับ ฯ
             คำว่า ยถา ความว่า อรรถแห่งยถาศัพท์มี ๑๐ คือ ความฝึกตน ๑
ความสงบตน ๑ ความยังตนให้ปรินิพพาน ๑ ความรู้ยิ่ง ๑ ความกำหนดรู้ ๑
ความละ ๑ ความเจริญ ๑ ความทำให้แจ้ง ๑ ความตรัสรู้สัจจะ ๑ ความยังตน
ให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ ๑ ฯ
             คำว่า พุทฺโธ ความว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดเป็นสยัมภูไม่มีอาจารย์
ตรัสรู้สัจจะทั้งหลายเองในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้สดับมาแต่กาลก่อน ทรง
บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้นและทรงถึงความเป็นผู้มีความเป็นผู้มีความ
ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย ฯ
             คำว่า พุทฺโธ ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าพุทธะเพราะ
อรรถว่ากระไร ฯ
             พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าพุทธะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย
เพราะอรรถว่า ทรงสอนให้หมู่สัตว์ตรัสรู้ เพราะความเป็นพระสัพพัญญู เพราะ
ความที่พระองค์ทรงเห็นธรรมทั้งปวง เพราะความที่พระองค์มีเนยยบทไม่เป็น
อย่างอื่น เพราะความเป็นผู้มีพระสติไพบูลย์ เพราะนับว่าพระองค์สิ้นอาสวะ เพราะ
นับว่าพระองค์ไม่มีอุปกิเลส เพราะอรรถว่า ทรงปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะ
อรรถว่า ทรงปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า ทรงปราศจากโมหะ
โดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า พระองค์ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า
พระองค์เสด็จไปแล้วสู่หนทางที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว เพราะอรรถว่า ตรัสรู้
อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณพระองค์เดียว เพราะทรงกำจัดเสียซึ่งความไม่มีปัญญา
เพราะทรงได้ซึ่งพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ ฯ
             พระนามว่า พุทฺโธ นี้ พระมารดา พระบิดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิง
น้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณะ พราหมณ์ เทวดา มิได้
แต่งตั้งให้เลย พระนามว่า พุทฺโธ นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม พระนามที่เกิดใน
ที่สุดแห่งอรหัตผล แห่งพระผู้มีพระภาคตรัสรู้แล้ว พระนามว่า พุทฺโธ นี้
เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เกิดขึ้นพร้อมกับการทรงได้สัพพัญญุตญาณ ณ ควงไม้
โพธิพฤกษ์ ฯ
             คำว่า ทรงแสดงแล้ว ความว่า ความฝึกตน มียถาศัพท์เป็นอรรถ
เหมือนบุคคลเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ฝึกตนแล้ว พระพุทธเจ้า
ทรงแสดงแล้ว ฉะนั้น ความสงบตน ... ความยังตนให้ปรินิพพาน ฯลฯ
ความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ มียถาศัพท์เป็นอรรถ เหมือนบุคคลเป็น
คฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธแล้ว
พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงแล้ว ฉะนั้น ฯ
             คำว่า โลโก ได้แก่ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วปัตติภวโลก
วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก โลก ๑ คือ สัตว์ทั้งปวง
ตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร ฯลฯ โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘ ฯ
             คำว่า ย่อมให้สว่างไสว ความว่า ภิกษุนั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว
แจ่มใส เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งความฝึกตน ความสงบตน ความยังตน
ให้ปรินิพพาน ฯลฯ ความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ ซึ่งมียถาศัพท์
เป็นอรรถทุกประการ ฯ
             คำว่า เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ความว่า กิเลสเหมือนหมอก
อริยญาณเหมือนดวงจันทร์ ภิกษุเหมือนจันทเทพบุตร ภิกษุพ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้ว
ย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสวเปล่งปลั่ง และไพโรจน์ เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก
พ้นจากควันและธุลีในแผ่นดิน พ้นจากฝ่ามือราหู ยังโอกาสโลกให้สว่างไสว
เปล่งปลั่ง และไพโรจน์ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เหมือนพระจันทร์
พ้นแล้วจากหมอก ญาณในโวทาน ๑๓ ประการนี้ ฯ
จบภาณวาร

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๓๖๑-๔๔๕๗ หน้าที่ ๑๗๘-๑๘๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=4361&Z=4457&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=386&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=386&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=31&item=386&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=31&item=386&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=386              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]