ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๔๖๗] พระตถาคต ทรงทราบ สภาพแห่งทุกข์เป็นสิ่งที่ทนได้ยากตลอด
หมด ที่ไม่ทรงทราบมิได้มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงพระนามว่า สมันต-
*จักษุ สมันตจักษุเป็นปัญญินทรีย์ สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์
ด้วยอรรถว่าประคองไว้ สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่
ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ สภาพแห่งทุกข์เป็นสิ่งที่ทนได้ยาก
พระตถาคตทรงเห็นแล้ว ทรงทราบแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้ว
ตลอดหมดด้วยพระปัญญา ที่ไม่ทรงถูกต้องแล้วมิได้มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคต
จึงทรงพระนามว่า สมันตจักษุ สมันตจักษุเป็นปัญญินทรีย์ สัทธินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าน้อมใจเชื่อ ... สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์
ฯลฯ สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุให้เกิด ฯลฯ สภาพแห่งนิโรธเป็นเหตุดับโดยไม่
เหลือ ฯลฯ สภาพแห่งมรรคเป็นทางให้ถึง ฯลฯ สภาพแห่งอรรถปฏิสัมภิทา
เป็นปัญญาเครื่องแตกฉานดีโดยอรรถ ฯลฯ สภาพแห่งธรรมปฏิสัมภิทา เป็น
ปัญญาแตกฉานดีโดยธรรม ฯลฯ สภาพแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นปัญญาแตก
ฉานดีโดยภาษา สภาพแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นปัญญาแตกฉานดีโดยปฏิภาณ
ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ญาณในฉันทะอันมานอนและกิเลส
อันนอนตามของสัตว์ทั้งหลาย ญาณในยมกปฏิหาริย์ ญาณในมหากรุณาสมาบัติ
ฯลฯ อารมณ์ที่ได้เห็น ที่ได้สดับ ที่ได้ทราบ ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่เที่ยว
ตามหาด้วยใจ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแจ้งแล้ว ทรงรู้
แล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาที่ไม่ทรงถูกต้องด้วยปัญญาไม่มี
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงพระนามว่า สมันตจักษุ สมันตจักษุเป็นปัญญินทรีย์
สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ  ... สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย
สามารถแห่งปัญญินทรีย์ บุคคลเมื่อเชื่อย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมเชื่อ
เมื่อเชื่อ ย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น
ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมเชื่อ เมื่อประคองไว้ย่อมตั้งสติมั่น
เมื่อตั้งสติมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อม
ประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมประคองไว้ เมื่อประคอง
ไว้ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมประคองไว้ เมื่อตั้งสติมั่นย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจ
มั่นย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้ง
สติมั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อ
ประคองไว้ย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งใจมั่น เมื่อ
ตั้งใจมั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อ
ประคองไว้ย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมตั้งใจ
มั่น เมื่อรู้ชัดย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมประคองไว้ เมื่อ
ประคองไว้ย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัด
ย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมรู้ชัด เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้ เพราะ
ความเป็นผู้ประคองไว้จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความ
เป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจ
มั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ เพราะ
ความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงประคองไว้
เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงประคองไว้
เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงประคองไว้ เพราะ
ความเป็นผู้ประคองไว้จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้ เพราะความ
เป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงตั้งสติมั่น เพราะความ
เป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้
ตั้งสติมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติ
มั่นจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็น
ผู้ตั้งใจมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจ
มั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึง
ประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึง
ตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ
เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงประคองไว้ เพราะความ
เป็นผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติ
มั่นจึงรู้ชัด เพราะความรู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงรู้ชัด
พระพุทธจักษุเป็นพระพุทธญาณ พระพุทธญาณเป็นพุทธจักษุ อันเป็นเครื่องให้
พระตถาคตทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุก็มี มีกิเลสธุลีมากใน
ปัญญาจักษุก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการ
ชั่วก็มี ที่จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่ายก็มี ที่จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยยากก็มี บางพวก
เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความ
เป็นภัย ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๖๐๘๙-๖๑๔๘ หน้าที่ ๒๔๙-๒๕๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=6089&Z=6148&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=467&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=467&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=31&item=467&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=31&item=467&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=467              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]