ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
สิกขาบทวิภังค์
[๓๙๘] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระ ก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถ ว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญาชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบท ให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียง กันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุถกรรมอันไม่กำเริบควรแก่ฐานะนี้ พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้ ที่ชื่อว่า กำหนัดแล้ว คือมีความยินดี มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์ บทว่า แปรปรวนแล้ว ความว่า จิตแม้อันราคะย้อมแล้ว ก็แปรปรวน แม้อันโทสะ ประทุษร้ายแล้ว ก็แปรปรวน แม้อันโมหะให้ลุ่มหลงแล้วก็แปรปรวนแต่ที่ว่า แปรปรวนแล้ว ในอรรถนี้ ทรงประสงค์จิตอันราคะย้อมแล้ว ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถทราบถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต ทุพภาษิต วาจาชั่วหยาบ และสุภาพ วาจาที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ วาจาที่พาดพิงวัจจมรรค ปัสสาวมรรค และเมถุนธรรม บทว่า พูดเคาะ คือที่เรียกกันว่า ประพฤติล่วงเกิน คำว่า เหมือนชายหนุ่มหญิงสาว ได้แก่เด็กชายรุ่นกับเด็กหญิงรุ่น คือหนุ่มกับสาว ชายบริโภคกามกับหญิงบริโภคกาม บทว่า ด้วยวาจาพาดพิงเมถุน ได้แก่ถ้อยคำที่เกี่ยวด้วยเมถุนธรรม บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้นจึงตรัสเรียก ว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๓๗๗๑-๑๓๗๙๙ หน้าที่ ๕๒๙-๕๓๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=13771&Z=13799&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=1&item=398&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=1&item=398&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=1&item=400&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=1&item=400&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=398              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_1 https://84000.org/tipitaka/english/?index_1

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]