ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
             [๒๒๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๒ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล
พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่
พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ
ความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๒ เป็นไฉน นามและรูป ๑
อวิชชาและภวตัณหา ๑ ภวทิฐิและวิภวทิฐิ ๑ ความไม่ละอายและความไม่เกรง
กลัว ๑ ความละอายและความเกรงกลัว ๑ ความเป็นผู้ว่ายากและความเป็นผู้มี
มิตรชั่ว ๑ ความเป็นผู้ว่าง่ายและความเป็นผู้มีมิตรดี ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ
และความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติและ
ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุและความเป็น
ผู้ฉลาดในมนสิการ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะและความเป็นผู้ฉลาดใน
ปฏิจจสมุปบาท ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ [คือเหตุที่เป็นได้] และความเป็นผู้ฉลาด
ในอัฏฐานะ [คือเหตุที่เป็นไปไม่ได้] ๑ การกล่าววาจาอ่อนหวานและการต้อนรับ ๑
ความไม่เบียดเบียนและความสะอาด ๑ ความเป็นผู้มีสติหลงลืมและความเป็นผู้ไม่
มีสัมปชัญญะ ๑ สติและสัมปชัญญะ ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์
ทั้งหลาย และความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ ความเป็นผู้คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย และความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ กำลังที่เกิดแต่การ
พิจารณาและกำลังที่เกิดแต่การอบรม ๑ กำลังคือสติและกำลังคือสมาธิ ๑ สมถะ
และวิปัสสนา ๑ นิมิตที่เกิดเพราะสมถะและนิมิตที่เกิดเพราะความเพียร ๑ ความ
เพียรและความไม่ฟุ้งซ่าน ๑ ความวิบัติแห่งศีล และความวิบัติแห่งทิฐิ ๑ ความ
ถึงพร้อมแห่งศีล และความถึงพร้อมแห่งทิฐิ ๑ ความหมดจดแห่งศีลและความหมด
จดแห่งทิฐิ ๑ ความหมดจดแห่งทิฐิและความเพียรของผู้มีทิฐิ ๑ ความสลดใจและ
ความเพียรโดยแยบคายของผู้สลดใจแล้วในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ ๑
ความเป็นผู้ไม่สันโดษในธรรมอันเป็นกุศลและความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในการตั้งความ
เพียร ๑ วิชชาและวิมุตติ ๑ ญาณในความสิ้นไปและญาณในความไม่เกิด ๑ ดูกรผู้มี
อายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๒ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรง
เห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้ง
หมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้
จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชน
มาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบ หมวด ๒
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๔๖๑๓-๔๖๔๖ หน้าที่ ๑๙๐-๑๙๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=4613&Z=4646&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=227&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=227&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=11&item=227&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=11&item=227&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=227              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]