บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
[๓๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นิโครธปริพาชกได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำ ข้าพระองค์ซึ่งเป็น คนเขลา คนหลง ไม่ฉลาด จึงได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงรับทราบความผิดของข้าพระองค์นั้น โดยเป็นความผิด เพื่อสำรวมต่อไป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จริง จริง นิโครธะ ความผิดได้ครอบงำท่าน ซึ่งเป็น คนเขลา คนหลง ไม่ฉลาด จึงได้กล่าวกะเราอย่างนี้ เราขอรับทราบความผิดของ ท่าน เพราะท่านได้เห็นความผิดโดยเป็นความผิดแล้วสารภาพตามเป็นจริง ก็การ ที่บุคคลเห็นความผิดโดยเป็นความผิดจริง แล้วสารภาพตามเป็นจริง รับสังวรต่อ ไปนี้ เป็นความเจริญในพระวินัยของพระอริยเจ้าแล ดูกรนิโครธะ ก็เรากล่าว อย่างนี้ว่า บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา มีชาติตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม เขาปฏิบัติอยู่ตามคำสั่งสอน จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอด เยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ อัน อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ตลอด เจ็ดปี ดูกรนิโครธะ เจ็ดปีจงยกไว้ บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา มีชาติตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม เขาปฏิบัติอยู่ตามคำสั่งสอน จักทำ ให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตโดยชอบต้องการ อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ตลอดหกปี ... ห้าปี ... สี่ปี ... สามปี ... สองปี ... ปีหนึ่ง ดูกรนิโครธะ ปีหนึ่ง จงยกไว้ บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา มีชาติตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม เขาปฏิบัติอยู่อย่างนั้นตามคำสั่งสอน จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตโดยชอบต้องการ อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ตลอดเจ็ดเดือน ดูกรนิโครธะ เจ็ดเดือนจงยกไว้ บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา มีชาติตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม เขาปฏิบัติอยู่อย่างนั้นตามคำสั่งสอน จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม ที่ กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ อันเป็นที่สุด แห่งพรหมจรรย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ตลอดหกเดือน ... ห้าเดือน ... สี่เดือน ... สามเดือน ... สองเดือน ... เดือนหนึ่ง ... กึ่งเดือน ดูกรนิโครธะ กึ่งเดือนจงยกไว้ บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา มีชาติตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม เขาปฏิบัติอยู่ตามคำสั่งสอน จักทำให้แจ้งประโยชน์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ด้วยปัญญา อันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ตลอดเจ็ดวัน ดูกรนิโครธะ แต่บางที ท่านจะพึงดำริอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ เพราะใคร่ได้อันเตวาสิก ข้อนั้นท่านไม่พึงเห็นอย่างนี้ ผู้ใดเป็นอาจารย์ของท่านได้อย่างนี้ ผู้นั้นแหละจงเป็น อาจารย์ของท่าน ดูกรนิโครธะ แต่บางทีท่านจะพึงดำริอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ปรารถนาจะให้เราเคลื่อนจากอุเทศ [เสื่อมจากการเล่าเรียน] จึงตรัสอย่างนี้ ข้อนั้น ท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น อุเทศใดของท่านได้อย่างนี้ อุเทศนั้นแหละ จงเป็นอุเทศของท่าน ดูกรนิโครธะ แต่บางทีท่านจะพึงดำริอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ปรารถนาจะให้เราเคลื่อนจากอาชีวะ จึงตรัสอย่างนี้ ข้อนั้นท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น ก็อาชีวะของท่านนั้นแหละ จงเป็นอาชีวะของท่าน ดูกรนิโครธะ แต่บางทีท่าน จะพึงดำริอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมปรารถนาจะให้เรากับอาจารย์ตั้งอยู่ในอกุศลธรรม ซึ่งเป็นส่วนอกุศล จึงตรัสอย่างนี้ ข้อนั้น ท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น อกุศลธรรม เหล่านั้นแหละ จงเป็นส่วนอกุศลของท่านกับอาจารย์ ดูกรนิโครธะ แต่บางที ท่านจะพึงดำริอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมปรารถนาจะให้เรากับอาจารย์ห่างจากกุศล ธรรม ซึ่งเป็นส่วนกุศล จึงตรัสอย่างนี้ ข้อนั้นท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น กุศลธรรม เหล่านั้นแหละ จงเป็นส่วนกุศลของท่านกับอาจารย์ ดูกรนิโครธะ ด้วยประการ ดังนี้แล เรากล่าวอย่างนี้ เพราะใคร่ได้อันเตวาสิก หามิได้ เราปรารถนาจะให้ ท่านเคลื่อนจากอุเทศ จึงกล่าวอย่างนี้ ก็ไม่ใช่ ปรารถนาจะให้เคลื่อนจากอาชีวะ จึงกล่าวอย่างนี้ ก็ไม่ใช่ ปรารถนาจะให้ท่านกับอาจารย์ตั้งอยู่ในอกุศลธรรม ซึ่ง เป็นส่วนอกุศล จึงกล่าวอย่างนี้ ก็ไม่ใช่ ปรารถนาจะให้ท่านกับอาจารย์ห่างจาก กุศลธรรม ซึ่งเป็นส่วนกุศล จึงกล่าวอย่างนี้ ก็ไม่ใช่ ดูกรนิโครธะ ก็อกุศลธรรม อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง มีปรกติทำภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นผล เป็นปัจจัยแห่งชาติชรามรณะต่อไป ซึ่งท่านยังละไม่ได้ มีอยู่ ที่เราจะแสดงธรรม เพื่อละเสีย ธรรมเป็นเครื่องเศร้าหมอง อันท่านปฏิบัติแล้วอย่างไร จักละได้ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความผ่องแผ้ว จักเจริญยิ่ง ท่านจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ แห่งมรรคปัญญาและความไพบูลย์แห่งผลปัญญา ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พวกปริพาชกเหล่านั้น เป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่มีปฏิภาณ เหมือนถูกมารดลใจ ฉะนั้น ฯเนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๑๑๒๑-๑๑๘๐ หน้าที่ ๔๖-๔๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=1121&Z=1180&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=31&items=1&mode=bracket อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=31&items=1 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=11&item=31&items=1&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=11&item=31&items=1&mode=bracket ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=31 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]