ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
             [๓๖๑] อริยวาส ๑๐ อย่าง
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
                          ๑. เป็นผู้มีองค์ห้าอันละขาดแล้ว
                          ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก
                          ๓. เป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง
                          ๔. เป็นผู้มีที่พิงสี่
                          ๕. เป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว
                          ๖. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละแล้วโดยชอบ
                          ๗. เป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว
                          ๘. เป็นผู้มีกายสังขารสงบระงับ
                          ๙. เป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว
                          ๑๐. เป็นผู้มีปัญญาพ้นวิเศษดีแล้ว ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีองค์ห้าอัน
ละขาดแล้ว ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีกามฉันทะอันละได้
ขาดแล้ว มีความพยาบาทอันละได้ขาดแล้ว มีถีนมิทธะอันละได้ขาดแล้ว มิ
อุทธัจจกุกกุจจะอันละได้ขาดแล้ว มีวิจิกิจฉาอันละได้ขาดแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีองค์ห้าอันละได้ขาดแล้ว ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วย
องค์หก ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยนัยน์ตาแล้ว
เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว
เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ดมกลิ่นด้วยจมูก
แล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ลิ้มรสด้วยลิ้น
แล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะ
อยู่ รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติ
สัมปชัญญะอยู่ ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วย
องค์หก ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมประกอบด้วยใจอันมี
สติเป็นเครื่องอารักขา ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีอารักขา
อย่างหนึ่ง ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีที่พิงสี่ ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของ
อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง
พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็น
ผู้มีที่พิงสี่ ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่าง
อันบรรเทาเสียแล้ว ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัจจะเฉพาะอย่างเป็นอันมากของสมณะและ
พราหมณ์เป็นอันมาก ย่อมเป็นของอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้เบาบรรเทา
เสียแล้ว สละ คลาย ปล่อย ละ สละคืนเสียหมดสิ้นแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีการแสวงหาอัน
สละแล้วโดยชอบ ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีการแสวงหากาม
อันละได้ขาดแล้ว มีการแสวงหาภพอันละได้ขาดแล้ว มีการแสวงหาพรหมจรรย์
อันสละคืนแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีการแสวงหาอัน
สละแล้วโดยชอบ ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีความดำริไม่
ขุ่นมัว ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละความดำริใน
ทางกามได้ขาดแล้ว เป็นผู้ละความดำริในทางพยาบาทได้ขาดแล้ว เป็นผู้ละความ
ดำริในทางเบียดเบียนได้ขาดแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มี
ความดำริไม่ขุ่นมัว ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีกายสังขารสงบ
ระงับ ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานอันไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มี
อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มี
กายสังขารสงบระงับ ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษ
ดีแล้ว ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตพ้นแล้วจากราคะ
มีจิตพ้นแล้วจากโทสะ มีจิตพ้นแล้วจากโมหะ ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาพ้นวิเศษ
ดีแล้ว ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดว่า ราคะอันเรา
ละได้แล้ว ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจต้นตาลอันไม่มีที่ตั้งแล้ว ๑-
ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โทสะอันเราละได้แล้ว
@๑. เช่นตาลยอดด้วน ไม่งอกขึ้นต่อไป
ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจต้นตาลอันไม่มีที่ตั้งแล้ว ทำให้เป็นของ
ไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โมหะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้น
เสียได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจต้นตาลอันไม่มีที่ตั้งแล้ว ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว
มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มี
ปัญญาพ้นวิเศษดีแล้ว ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๖๙๑๒-๖๙๘๙ หน้าที่ ๒๘๔-๒๘๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=6912&Z=6989&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=361&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=361&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=11&item=361&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=11&item=361&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=361              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]