ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
กุศลสังกัปปะ
[๓๖๕] ดูกรนายช่างไม้ ก็ความดำริเป็นกุศลเป็นไฉน? ดูกรนายช่างไม้ ความดำริ ในเนกขัมมะ ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียนเหล่านี้เราก็กล่าวว่า ความดำริเป็นกุศล. ก็ความดำริเป็นกุศลนี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน? แม้สมุฏฐานแห่งความดำริ เป็นกุศลนั้น เรากล่าวแล้ว. ก็ต้องกล่าวว่า มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน. สัญญาเป็นไฉน? แม้สัญญา ก็มีมาก หลายอย่าง มีประการต่างๆ สัญญาใดเป็นสัญญาในเนกขัมมะ เป็นสัญญาในความ ไม่พยาบาท เป็นสัญญาในอันไม่เบียดเบียน ความดำริเป็นกุศลมีสัญญานี้เป็นสมุฏฐาน. ก็ความดำริเป็นกุศลเหล่านี้ดับลงหมดสิ้นในที่ไหน? แม้ความดับแห่งความดำริที่เป็นกุศลนั้น เราก็กล่าวแล้ว. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ซึ่งเป็นที่ดับลงหมดสิ้นแห่งความดำริเป็นกุศลเหล่านี้. ก็ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติ เพื่อความดับแห่งความดำริเป็นกุศล. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ ความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ... เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ... เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ... เพื่อความ ตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว. ดูกรนายช่างไม้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ ความดับแห่งความดำริเป็นกุศล.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๖๑๔๔-๖๑๖๐ หน้าที่ ๒๖๘-๒๖๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6144&Z=6160&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=13&item=365&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=13&item=365&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=13&item=365&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=13&item=365&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=365              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]