ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๑๐. ปุคคลสูตร
[๔๔๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขต- *พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฯ [๔๔๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนด ที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ เมื่อบุคคลหนึ่งท่องเที่ยวไปมาอยู่ตลอดกัปหนึ่ง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๐๗.

พึงมีโครงกระดูก ร่างกระดูก กองกระดูก ใหญ่เท่าภูเขาเวปุลละนี้ ถ้ากอง กระดูกนั้นพึงเป็นของที่จะขนมารวมกันได้ และกระดูกที่ได้สั่งสมไว้แล้ว ก็ไม่พึง หมดไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย ไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ [๔๔๒] พระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงตรัสพระคาถาประพันธ์ต่อไปว่า เราผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า กระดูกของ บุคคลคนหนึ่งที่สะสมไว้กัปหนึ่ง พึงเป็นกองเท่าภูเขา ก็ภูเขาที่ เรากล่าวนั้น คือ ภูเขาใหญ่ชื่อเวปุลละ อยู่ทิศเหนือของ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้เมืองราชคฤห์ อันมีภูเขาล้อมรอบ เมื่อใดบุคคลเห็นอริยสัจ คือทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความ ล่วงพ้นทุกข์ และอริยมรรคมีองค์ ๘ อันยังสัตว์ให้ถึงความ สงบทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ เมื่อนั้น เขาท่องเที่ยว ๗ ครั้งเป็นอย่างมาก ก็เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสิ้นสัญโญชน์ ทั้งปวง ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบปฐมวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ติณกัฏฐสูตร ๒. ปฐวีสูตร ๓. อัสสุสูตร ๔. ขีรสูตร ๕. ปัพพตสูตร ๖. สาสปสูตร ๗. สาวก- สูตร ๘. คงคาสูตร ๙. ทัณฑสูตร ๑๐. ปุคคลสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๔๙๑๐-๔๙๓๘ หน้าที่ ๒๐๖-๒๐๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=4910&Z=4938&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=16&item=440&items=3&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=16&item=440&items=3&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=16&item=440&items=3&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=16&item=440&items=3&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=440              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_16 https://84000.org/tipitaka/english/?index_16

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]