ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
             [๒๓๔] ท่านพระอานนท์กล่าวว่า แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ผมก็ดีใจด้วยท่านพระฉันนะ ทั้ง
ได้รำพึงกันมาแต่แรก ท่านพระฉันนะได้กระทำข้อนั้นให้แจ่มแจ้งแล้ว ทำลายความดื้อดึงได้แล้ว
ท่านพระฉันนะ ท่านจงเงี่ยโสตลงฟัง ท่านเป็นผู้สมควรจะรู้ธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง. ลำดับนั้น
ความปีติและความปราโมทย์อย่างโอฬาร ก็บังเกิดมีแก่ท่านพระฉันนะ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้นว่า
เราเป็นผู้สมควรจะรู้ธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง.
             อา. ท่านพระฉันนะ ผมได้สดับคำนี้มาเฉพาะพระพักตร์ รับมาแล้วเฉพาะพระพักตร์
พระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสสั่งสอนภิกษุกัจจานโคตรอยู่ว่า ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน
๒ อย่าง คือ ความมี ๑ ความไม่มี ๑. ก็เมื่อบุคคลเห็นเหตุเกิดแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตาม
เป็นจริงอยู่ ความไม่มีในโลกย่อมไม่มี. เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอยู่ ความมีในโลกย่อมไม่มี   โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายเป็นเหตุถือมั่นและ
ความยึดมั่น แต่อริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ ซึ่งอุบายเป็นเหตุถือมั่น มีความ
ยึดมั่นด้วยความตั้งจิตไว้เป็นอนุสัยว่า อัตตาของเรา ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละ
เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่
ต้องเชื่อผู้อื่นเลย. ดูกรกัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ.   ดูกรกัจจานะ
ส่วนสุดที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี. ตถาคตแสดงธรรมโดย
สายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. เพราะ
อวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
             ฉ. ดูกรท่านอานนท์ ท่านเหล่าใด มีการกล่าวสอนอย่างนี้ ท่านเหล่านั้น เป็นผู้อนุเคราะห์
มุ่งประโยชน์ กล่าวสอนและพร่ำสอนเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ก็แลผมเองได้ฟังธรรมเทศนานี้
ของท่านอานนท์แล้ว เข้าใจธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง.
จบ สูตรที่ ๘.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๓๐๐๖-๓๐๒๘ หน้าที่ ๑๒๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=3006&Z=3028&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=17&item=234&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=17&item=234&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=17&item=234&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=17&item=234&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=234              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_17 https://84000.org/tipitaka/english/?index_17

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]