ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
             [๖๐๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ แต่ไม่กระทำ
ความเคารพในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเคารพในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปใน
สมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ และไม่กระทำความเคารพในสมาธิ ๑.
บางคนฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ และกระทำความเคารพในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น
ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ และกระทำความเคารพในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ
ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสด
เกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
             [๖๑๐] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำความเคารพในสมาธิ แต่ไม่กระทำความเพียร
เป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ แต่ไม่กระทำความ
เคารพในสมาธิ ๑. บางคนไม่กระทำความเคารพในสมาธิ และไม่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อ
ในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเคารพในสมาธิ และกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑.
ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่กระทำความเคารพในสมาธิ และกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อใน
สมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวก
นั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
             [๖๑๑] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ แต่ไม่
กระทำความสบายในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความสบายในสมาธิ แต่ไม่กระทำความเพียรเป็นไป
ติดต่อในสมาธิ ๑. บางคนไม่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ และไม่กระทำความสบาย
ในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ และกระทำความสบายในสมาธิ ๑.
ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ และกระทำความสบายใน
สมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวก
นั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใส
เกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส  หัวเนยใสเขากล่าวว่าเป็นเลิศ ฉันใด ผู้ได้ฌานที่
กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ และกระทำความสบายในสมาธิ. ก็นับว่าเป็นผู้เลิศ
ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นดีใจชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
(สูตรอีก ๕๐ สูตร พึงให้พิสดารโดยนัยนี้)
จบ สูตรที่ ๑๐.
จบ สมาธิสังยุต.
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ
๑. สมาธิสมาปัตติสูตร ๖. โคจรสูตร ๒. ฐิติสูตร ๗. อภินีหารสูตร ๓. วุฏฐานสูตร ๘. สักกัจจการีสูตร ๔. กัลลิตสูตร ๙. สาตัจจการีสูตร ๕. อารัมมณสูตร ๑๐. สัปปายการีสูตร.
จบ ขันธวารวรรคสังยุต.
-----------------------------------------------------
รวมวรรคที่มีในขันธวารวัคคสังยุต นี้ คือ
๑. นกุลปิตวรรค ๒. อนิจจวรรค ๓. ภารวรรค ๔. นตุมหากวรรค ๕. อัตตทีปวรรค
รวม ๕ วรรคนี้ ท่านเรียกว่า ปฐมปัณณาสก์.
๖. อุปายวรรค ๗. อรหันตวรรค ๘. ขัชชนียวรรค ๙. เถรวรรค ๑๐. ปุปผวรรค
รวม ๕ วรรคนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ฉลาดทรงประกาศว่า เป็นมัชฌิมปัณณาสก์.
๑๑. อันตวรรค ๑๒. ธัมมกถิกวรรค ๑๓. อวิชชาวรรค ๑๔. กุกกุฬวรรค ๑๕. ทิฏฐิวรรค
รวม ๕ วรรคนี้ ท่านเรียกว่า ปัจฉิมปัณณาสก์ และเรียกว่าเป็นนิบาต.
ในขันธวารวรรคมี ๑๓ สังยุต คือ
๑. ขันธสังยุต ๘. นาคสังยุต ๒. ราธสังยุต ๙. สุปัณณสังยุต ๓. ทิฏฐิสังยุต ๑๐. คันธัพพกายสังยุต ๔. โอกกันตสังยุต ๑๑. วลาหกสังยุต ๕. อุปปาทสังยุต ๑๒. วัจฉโคตตสังยุต ๖. กิเลสสังยุต ๑๓. สมาธิสังยุต ฉะนี้แล ฯลฯ ๗. สาริปุตตสังยุต
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๖๙๔๖-๗๐๐๘ หน้าที่ ๓๐๙-๓๑๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=6946&Z=7008&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=17&item=609&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=17&item=609&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=17&item=609&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=17&item=609&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=609              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_17 https://84000.org/tipitaka/english/?index_17

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]