ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
กุมมสูตร
[๓๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีเต่าตัวหนึ่ง เที่ยวหากิน อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งก็ได้เที่ยวหากินอยู่ ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น เต่าได้แลเห็นสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากินอยู่ แต่ไกลแล้ว ก็หดอวัยวะ ๕ ทั้งหัว (หดขาทั้ง ๔ มีคอเป็นที่ ๕) เข้าอยู่ในกระดอง ของตนเสีย มีความขวนขวายน้อย นิ่งอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายสุนัขจิ้งจอก ก็ได้แลเห็นเต่าซึ่งเที่ยวหากินอยู่แต่ไกลแล้ว เข้าไปหาเต่าถึงที่แล้ว ได้ยืนอยู่ใกล้ เต่าด้วยคิดว่า เวลาใดเต่าตัวนี้จักเหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เวลานั้น เราจักงับมันฟาดแล้วกัดกินเสีย เวลาใด เต่าไม่เหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง ออกมา เวลานั้น สุนัขจิ้งจอกก็หมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส จึงหลีกไปจากเต่า ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารผู้ใจบาปอันท่านทั้งหลายเข้าใกล้อยู่เสมอๆ แล้ว ก็คิดว่า บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางจักษุ หู จมูก ลิ้น กายหรือใจ ของภิกษุ เหล่านี้บ้าง เพราะฉันนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๑๒.

อยู่ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวม จักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู... ดมกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อ สำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมใน มนินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวลาใด ท่านทั้งหลายจักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลายอยู่ เวลานั้นมารผู้ใจบาปก็จักหมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส หลีกจากท่าน ทั้งหลายไป ดุจสุนัขจิ้งจอกหมดความอาลัยหลีกจากเต่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ [๓๒๑] ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นในมโนวิตก อันตัณหามานะและทิฐิไม่ อิงอาศัย ไม่เบียดเบียนผู้อื่นดับกิเลสได้แล้ว ไม่ติเตียนผู้ใด ผู้หนึ่ง เหมือนเต่าหดคอและขาอยู่ในกระดองของตน ฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๔๘๘๑-๔๙๐๗ หน้าที่ ๒๑๑-๒๑๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=4881&Z=4907&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=18&item=320&items=2&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=18&item=320&items=2&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=18&item=320&items=2&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=18&item=320&items=2&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=320              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18 https://84000.org/tipitaka/english/?index_18

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]