บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
พระอนุบัญญัติ เรื่องภิกษุอาพาธ [๘๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธอยู่ในพระนครโกสัมพี. พวกญาติส่งทูต ไปในสำนักภิกษุรูปนั้นว่า นิมนต์ท่านมา พวกผมจักพยาบาล. แม้ภิกษุทั้งหลายก็ได้กล่าวอย่างนี้ ว่า ไปเถิดอาวุโส พวกญาติจักได้พยาบาลท่าน. ภิกษุนั้นได้ตอบอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝน, ก็ผมกำลังอาพาธ ไม่สามารถจะนำสันถัตไป ด้วยได้ และผมเว้นสันถัตแล้ว ไม่สบาย ผมจักไม่ไปละ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.ทรงอนุญาตให้สมมติสันถัต ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติ สันถัตแก่ภิกษุผู้อาพาธ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สมมติสันถัตนั้น อย่างนี้:-วิธีสมมติสันถัต ภิกษุผู้อาพาธรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา กว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่สามารถจะนำสันถัตไปด้วยได้, ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น ขอสมมติสันถัตต่อสงฆ์ พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓, ภิกษุ ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถจะนำ สันถัตไปด้วยได้ เธอขอสมมติสันถัตต่อสงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถจะนำ สันถัตไปด้วยได้ เธอขอสมมติสันถัตต่อสงฆ์. สงฆ์ให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุมีชื่อนี้; การ ให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง. ไม่ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. การสมมติสันถัตอันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์, เหตุนั้นจึงนิ่ง. ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระอนุบัญญัติ ๓๓.๔. ก. อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝน. ถ้ายัง หย่อนกว่า ๖ ฝน เธอสละเสียแล้วก็ดี ยังไม่สละแล้วก็ดี ซึ่งสันถัตนั้น ให้ทำสันถัต อื่นใหม่ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.ฯเรื่องภิกษุอาพาธ จบ. เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๐๒๗-๒๐๖๐ หน้าที่ ๘๕-๘๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=2027&Z=2060&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=2&item=87&items=1 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=2&item=87&items=1&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=2&item=87&items=1 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=2&item=87&items=1 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=87 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]