ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
จักกวัตติสูตร
[๔๕๓] ๑๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรม ราชา ทรงยังจักรมิใช่ของพระราชาอื่นให้เป็นไป เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อะไรเล่า เป็น ราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ธรรมเป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชาดั่งนี้ แล้ว ได้ตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุ พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชาในโลกนี้ ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกันและคุ้มครองที่ ประกอบด้วยธรรมไว้ในอันโตชน ฯ ดูกรภิกษุ อีกประการหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองที่ ประกอบด้วยธรรมไว้ในพวกกษัตริย์ ผู้ที่ตามเสด็จ ในหมู่พล ในพราหมณ์และ คฤหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท ในสมณะและพราหมณ์ ในเนื้อและนก ดูกรภิกษุ พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา พระองค์นั้นแล ซึ่งอาศัย ธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรม เป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ครั้นทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองที่ประกอบ ด้วยธรรมไว้ในอันโตชน ในพวกกษัตริย์ผู้ตามเสด็จ ในหมู่พล ในพราหมณ์และ คฤหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท ในสมณะและพราหมณ์ ในเนื้อและนก แล้ว ย่อมทรงใช้จักรให้เป็นไปโดยธรรมเท่านั้น จักเป็นอันมนุษย์ ข้าศึกหรือ สัตว์ไรๆ ให้เป็นไปไม่ได้ ฉันใด ฯ ดูกรภิกษุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงธรรม เป็นธรรม ราชาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรง ธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองที่ประกอบด้วยธรรมไว้ในกายกรรม ว่ากายกรรมเช่นนี้ ควรเสพ กายกรรมเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯ ดูกรภิกษุ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรง ธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรง ธรรม ทรงมีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองที่ประกอบด้วยธรรมไว้ในวจีกรรมว่า วจีกรรมเช่นนี้ควรเสพ วจีกรรมเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯ ดูกรภิกษุ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรง ธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองที่ประกอบด้วยธรรมไว้ในมโนกรรมว่า มโนกรรมเช่นนี้ควร เสพ มโนกรรมเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯ ดูกรภิกษุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ครั้นทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองที่ประกอบด้วยธรรมไว้ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมแล้ว ทรง ยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยมให้เป็นไปโดยธรรมเท่านั้น จักรนั้น อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ให้เป็นไปด้วยไม่ได้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๒๘๗๖-๒๙๑๘ หน้าที่ ๑๒๕-๑๒๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=2876&Z=2918&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=20&item=453&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=20&item=453&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=20&item=453&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=20&item=453&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=453              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]