บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
อปัณณกสูตร [๔๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด และชื่อว่าเธอปรารภปัญญาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คุ้ม ครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ เป็นผู้ประกอบ ความเพียร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลายอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๐.
ด้วยหูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ถือเอาโดย นิมิต โดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อม รักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุ ชื่อว่าเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ฉันอาหารไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อจะมัวเมา ไม่ใช่เพื่อ จะประดับ ไม่ใช่เพื่อจะประเทืองผิว เพียงเพื่อกายนี้ตั้งอยู่ เพื่อจะให้กายนี้เป็นไป เพื่อจะกำจัดความเบียดเบียนลำบาก เพื่อจะอนุเคราะห์พรหมจรรย์ด้วยคิดเห็นว่า เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความที่กายจักเป็นไป ได้นาน ความเป็นผู้ไม่มีโทษและความอยู่สำราญจักเกิดมีแก่เรา ดังนี้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย นี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการ นั่งตลอดวัน ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดยามต้นแห่งราตรี ตลอดยามกลางแห่งราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยา โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำความหมายในอัน จะลุกขึ้นไว้ในใจ ย่อมลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดิน จงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิมยาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบ ความเพียรอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลย่อมชื่อว่าเป็น ผู้ปฏิบัติไม่ผิด และชื่อว่าเธอปรารภปัญญาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ฯเนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๒๙๘๒-๓๐๑๔ หน้าที่ ๑๒๙-๑๓๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=2982&Z=3014&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=20&item=455&items=1&pagebreak=1 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=20&item=455&items=1&pagebreak=1&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=20&item=455&items=1&pagebreak=1 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=20&item=455&items=1&pagebreak=1 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=455 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]