ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
ภยสูตร
[๕๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมกล่าวภัย ๓ อย่างนี้ว่า เป็นอมาตาปุตติกภัย ภัย ๓ อย่างเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัย ที่มีการเกิดไฟไหม้ใหญ่ เมื่อเกิดไฟไหม้ใหญ่แล้ว แม้บ้านก็ถูกไฟเผา แม้นิคม ก็ถูกไฟเผา แม้นครก็ถูกไฟเผา เมื่อบ้านก็ดี นิคมก็ดี นครก็ดีถูกไฟเผาอยู่ ในที่ นั้นๆ แม้มารดาก็ไม่พบบุตร แม้บุตรก็ไม่พบมารดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ ไม่ได้สดับ ย่อมกล่าวภัยข้อที่ ๑ นี้ว่า เป็นอมาตาปุตติกภัย ฯ อีกประการหนึ่ง สมัยที่มหาเมฆตั้งขึ้น มีอยู่ ก็เมื่อมหาเมฆตั้งขึ้นแล้ว ย่อมเกิดห้วงน้ำใหญ่ เมื่อเกิดห้วงน้ำใหญ่แล้ว แม้บ้านก็ถูกน้ำพัดไป แม้นิคมก็ ถูกน้ำพัดไป แม้นครก็ถูกน้ำพัดไป เมื่อบ้านก็ดี นิคมก็ดี นครก็ดี ถูกน้ำพัดไป อยู่ ในที่นั้นๆ แม้มารดาก็ไม่พบบุตร แม้บุตรก็ไม่พบมารดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมกล่าวภัยข้อที่ ๒ นี้ว่า เป็นอมาตาปุตติกภัย ฯ อีกประการหนึ่ง สมัยที่มีภัยคือโจรป่ากำเริบ พวกชาวชนบทต่างพากัน ขึ้นยานหนีไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อสมัยที่มีภัยคือโจรป่ากำเริบ เมื่อชาว ชนบทต่างพากันขึ้นยานหนีไป ในที่นั้นๆ แม้มารดาก็ไม่พบบุตร แม้บุตรก็ไม่ พบมารดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมกล่าวภัยข้อที่ ๓ นี้ว่า เป็น อมาตาปุตติกภัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมกล่าวภัย ๓ อย่างนี้ แลว่า เป็นอมาตาปุตติกภัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมกล่าว สมาตาปุตติกภัยแท้ๆ ๓ อย่างนี้นั้นแลว่า เป็นอมาตาปุตติกภัย ภัย ๓ อย่างนั้น เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยที่มีการเกิดไฟไหม้ใหญ่ เมื่อเกิดไฟไหม้ใหญ่ แล้ว แม้บ้านก็ถูกไฟเผา แม้นิคมก็ถูกไฟเผา แม้นครก็ถูกไฟเผา แม้บ้านก็ดี นิคมก็ดี นครก็ดี ถูกไฟเผาอยู่ สมัยที่มารดาก็พบบุตร แม้บุตรก็พบมารดา เป็น บางครั้งบางแห่ง มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมกล่าวสมาตา- *ปุตติกภัยแท้ๆ ข้อที่ ๑ นี้ว่า เป็นอมาตาปุตติกภัย ฯ อีกประการหนึ่ง สมัยที่มหาเมฆตั้งขึ้นมีอยู่ ก็เมื่อมหาเมฆตั้งขึ้นแล้ว ย่อมเกิดห้วงน้ำใหญ่ เมื่อเกิดห้วงน้ำใหญ่แล้ว แม้บ้านก็ถูกน้ำพัดไป แม้นิคม ก็ถูกน้ำพัดไป แม้นครก็ถูกน้ำพัดไป เมื่อบ้านก็ดี นิคมก็ดี นครก็ดี ถูกน้ำพัด ไปอยู่ สมัยที่มารดาก็พบบุตร แม้บุตรก็พบมารดา เป็นบางครั้งบางแห่ง มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมกล่าวสมาตาปุตติกภัยแท้ๆ ข้อที่ ๒ นี้ว่า เป็นอมาตาปุตติกภัย ฯ อีกประการหนึ่ง สมัยที่มีภัยคือโจรป่ากำเริบ พวกชาวชนบทต่างพากัน ขึ้นยานหนีไป ก็เมื่อภัยคือโจรป่ากำเริบ เมื่อพวกชาวชนบทต่างพากันขึ้นยานหนี ไป สมัยที่มารดาก็พบบุตร แม้บุตรก็พบมารดา เป็นบางครั้งบางแห่งมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมกล่าวสมาตาปุตติกภัยแท้ๆ ข้อที่ ๓ นี้ว่า เป็นอมาตาปุตติกภัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมกล่าวภัย ๓ อย่างนี้แลซึ่งเป็นสมาตาปุตติกภัยแท้ๆ ว่า เป็นอมาตาปุตติกภัย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัย ๓ อย่างนี้ เป็นอมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนั้นเป็น ไฉน คือ ภัยคือความแก่ ๑ ภัยคือความเจ็บ ๑ ภัยคือความตาย ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อบุตรแก่ มารดาย่อมไม่ได้ตามใจหวังดังนี้ว่า เราจงแก่ บุตรของเรา อย่าได้แก่ ก็หรือว่า เมื่อมารดาแก่ บุตรย่อมไม่ได้ตามใจหวังดังนี้ว่า เราจงแก่ มารดาของเราอย่าได้แก่ เมื่อบุตรเจ็บไข้ มารดาย่อมไม่ได้ตามใจหวังดังนี้ว่า เรา จงเจ็บไข้ บุตรของเราอย่าเจ็บไข้ ก็หรือว่า เมื่อมารดาเจ็บไข้ บุตรย่อมไม่ได้ ตามใจหวังดังนี้ว่า เราจงเจ็บไข้ มารดาของเราอย่าเจ็บไข้ เมื่อบุตรกำลังจะตาย มารดาย่อมไม่ได้ตามใจหวังดังนี้ว่า เราจงตาย บุตรของเราอย่าได้ตาย ก็หรือว่า เมื่อมารดากำลังจะตาย บุตรย่อมไม่ได้ตามใจหวังดังนี้ว่า เราจงตาย มารดาของเรา อย่าได้ตาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัย ๓ อย่างนี้แล เป็นอมาตาปุตติกภัย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรรคาปฏิปทาซึ่งเป็นไปเพื่อละ เพื่อก้าวล่วงสมาตา- *ปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ และอมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มรรคาปฏิปทาซึ่งเป็นไปเพื่อละ เพื่อก้าวล่วงสมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ และ อมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้เป็นไฉน คืออริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ... สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรรคาปฏิปทาซึ่งเป็นไปเพื่อละ เพื่อก้าวล่วงสมาตาปุตติกภัย ๓ อย่าง และอมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้แล ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๔๖๘๗-๔๗๓๘ หน้าที่ ๒๐๑-๒๐๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=4687&Z=4738&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=20&item=502&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=20&item=502&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=20&item=502&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=20&item=502&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=502              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]