[๕๑๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ยังที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ท่าน
ทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนใดและคนเหล่าใดเป็นมิตร อำมาตย์ ญาติ หรือสาโลหิต
พึงสำคัญว่าเป็นคำที่ควรฟัง คนเหล่านั้น อันท่านทั้งหลายพึงชักชวน พึงให้ตั้ง
อยู่เสมอ พึงให้ดำรงอยู่ ในฐานะ ๓ ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือ
๑. พึงชักชวน พึงให้ตั้งอยู่เสมอ พึงให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอย่าง
ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ... ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ฯ
๒. พึงชักชวน พึงให้ตั้งอยู่เสมอ พึงให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอย่าง
ไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ... อันวิญญู-
*ชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ
๓. พึงชักชวน พึงให้ตั้งอยู่เสมอ เพื่อให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใส
อย่างไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติ
ดีแล้ว ... เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นจะยิ่งกว่า ฯ
ดูกรอานนท์ มหาภูต ๔ คือ ปฐวีธาตุ ๑ อาโปธาตุ ๑ เตโชธาตุ ๑ วาโย-
*ธาตุ ๑ พึงเป็นอย่างอื่นได้ แต่พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่
หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ไม่พึงเป็นอย่างอื่นไปได้เลย นี้ความเป็นอื่นในข้อนั้น
ข้อที่พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น
จักเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือเปรตวิสัย นี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกร
อานนท์ มหาภูต ๔ คือ ปฐวีธาตุ ๑ อาโปธาตุ ๑ เตโชธาตุ ๑ วาโยธาตุ ๑ พึงเป็น
อย่างอื่นได้ แต่พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวใน
พระธรรม ไม่พึงเป็นอย่างอื่นไปได้เลย ฯลฯ แต่พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วย
ความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ไม่พึงเป็นอย่างอื่นไปได้เลย นี้ความ
เป็นอย่างอื่นในข้อนั้น ข้อที่พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่น
ไหว ในพระสงฆ์นั้น จักเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือเปรตวิสัย นี้ไม่
เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรอานนท์ ท่านทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนใด และคนเหล่า
ใด เป็นมิตร อำมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต พึงสำคัญว่าเป็นคำที่ควรฟัง คนเหล่า
นั้น อันท่านทั้งหลายพึงชักชวน พึงให้ตั้งอยู่เสมอ พึงให้ดำรงอยู่ในฐานะ
๓ ประการนี้แล ฯ
นวสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๕๘๕๕-๕๘๘๕ หน้าที่ ๒๕๐-๒๕๒.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=5855&Z=5885&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=20&item=515&items=1&mode=bracket
อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :-
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=20&item=515&items=1
อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=20&item=515&items=1&mode=bracket
อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :-
http://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=20&item=515&items=1&mode=bracket
ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=515
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
http://84000.org/tipitaka/read/?index_20
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com