ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
นิทานสูตรที่ ๒
[๕๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้ เป็นเหตุให้ เกิดกรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็น ที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ๑ ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้ง แห่งฉันทราคะในอนาคต ๑ ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในปัจจุบัน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีตอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลปรารภ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรองตามด้วยใจ เมื่อเขาปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรองตามอยู่ด้วยใจ ย่อมเกิดความพอใจ ผู้ที่ เกิดความพอใจแล้ว ย่อมประกอบด้วยธรรมเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว ความกำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิด เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีตอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคตอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลปรารภธรรมอันที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต ตรึกตรอง ตามด้วยใจ เมื่อเขาปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต ตรึกตรองตาม อยู่ด้วยใจ ย่อมเกิดความพอใจ ผู้ที่เกิดความพอใจแล้ว ย่อมประกอบด้วยธรรม เหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความกำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะ ในอนาคตอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบันอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลปรารภ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรองตามด้วยใจ เมื่อเขาปรารภ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรองตามอยู่ด้วยใจ ย่อมเกิดความ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๙๗.

พอใจ ผู้ที่เกิดความพอใจแล้ว ย่อมประกอบด้วยธรรมเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความกำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบันอย่างนี้แล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ความพอใจย่อม ไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ๑ ความพอใจย่อมไม่ เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต ๑ ความพอใจย่อมไม่ เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีตอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากต่อไปของธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะ ในอดีต ครั้นแล้วละเว้นวิบากนั้นเสีย ครั้นแล้วฟอกด้วยใจ เห็นตลอดด้วย ปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้ง แห่งฉันทราคะในอดีตอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมไม่เกิด เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคตอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากต่อไปของธรรมอันเป็นที่ตั้งฉันทราคะในอนาคต ครั้นแล้ว ละเว้นวิบากนั้นเสีย ครั้นแล้วฟอกด้วยใจ เห็นตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิด เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะ ในอนาคตอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบันอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล รู้ชัดซึ่งวิบากต่อไปของธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ครั้นแล้วละเว้น วิบากนั้นเสีย ครั้นแล้วฟอกด้วยใจ เห็นตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ พอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม ฯ
จบสัมโพธิวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๙๘.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปุพพสูตร ๒. มนุสสสูตร ๓. อัสสาทสูตร ๔. สมณสูตร ๕. โรณสูตร ๖. อติตตสูตร ๗. กูฏสูตรที่ ๑ ๘. กูฏสูตรที่ ๒ ๙. นิทานสูตรที่ ๑ ๑๐. นิทานสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๖๙๒๗-๖๙๗๘ หน้าที่ ๒๙๖-๒๙๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=6927&Z=6978&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=20&item=552&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=20&item=552&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=20&item=552&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=20&item=552&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=552              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]